มุนตะซ็อร อัซซัยดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มุนตาเซอร์ อัล-ไซดี)
มุนตะซ็อร อัซซัยดี
มุนตะซ็อร อัซซัยดีในช่อง Al Taghier TV, 6 ตุลาคม ค.ศ. 2020
เกิด (1979-01-15) 15 มกราคม ค.ศ. 1979 (45 ปี)
แบกแดด ประเทศอิรัก
การศึกษามหาวิทยาลัยแบกแดด
การสื่อสาร
อาชีพนักข่าวถ่ายทอดสด
มีชื่อเสียงจากเหตุการณ์ขว้างรองเท้าใส่จอร์จ ดับเบิลยู. บุช
Notable creditช่องอัลบัฆดาดียะฮ์
พรรคการเมืองซาอิรูน

มุนตะซ็อร อัซซัยดี (อาหรับ: منتظر الزيدي; เกิดวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1979) เป็นนักข่าวถ่ายทอดสดชาวอิรักที่ทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวให้กับช่องอัลบัฆดาดียะฮ์ จากข้อมูลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 อัซซัยดีทำงานให้กับช่องโทรทัศน์เลบานอน[1]

ในวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 อัซซัยดีถูกลักพาตัวโดยผู้โจมตีไม่ทราบนามในแบกแดด[2] เขาเคยถูกกองทัพสหรัฐจับกุมถึงสองครั้ง[3] ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 อัซซัยดีขว้างรองเท้าของตนใส่จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐในขณะนั้น ขณะอยู่ในห้องแถลงข่าวที่แบกแดด พร้อมตะโกนว่า "นี่คือรอยจูบร่ำลาจากชาวอิรัก ไอ้หมา" อัซซัยดีได้รับบาดเจ็บขณะถูกนำพาตัวไปที่คุมขัง และบางแหล่งข่าวระบุว่าเขาถูกทรมานระหว่างที่คุมตัวครั้งแรก[4][5] มีเสียงเรียกร้องทั่วตะวันออกกลางให้จัดแสดงรองเท้าในพิพิธภัณฑ์อิรัก[6] แต่ภายหลังกองกำลังรักษาความปลอดภัยสหรัฐและอิรักทำลายรองเท้านั้น[7][8] การขว้างรองเท้าของอัซซัยดีเป็นแรงบันดาลใจในเหตุการณ์การประท้วงทางการเมืองที่คล้ายคลึงกันมากมายทั่วโลก[9]

หลังวันเกิดเหตุ อัซซัยดีเป็นตัวแทนของหัวหน้าสมาคมเนติบัณฑิตยสภาอิรักในการพิจารณาคดี[10] ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 อัซซัยดีได้รับการไต่สวนเป็นเวลา 90 นาทีที่ศาลอาญากลางแห่งอิรัก[11] ต่อมา ในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 2009 เขาถูกจำคุกเป็นเวลา 3 ปี ในข้อหาโจมตีประมุขแห่งรัฐต่างชาติระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการ จากนั้นในวันที่ 7 เมษายน จึงลดโทษจากสามปีเป็นหนึ่งปี[12] เขาถูกปล่อยตัวในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2009 สำหรับความประพฤติดีหลังอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา 9 เดือน[13][14] หลังได้รับการปล่อยตัว อัซซัยดีได้รับการรักษาอาการบาดเจ็บในเรือนจำและภายหลังเขาวางแผน "สร้างสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า โรงพยาบาลเด็ก และศูนย์การแพทย์และศัลยกรรมกระดูกที่ให้การรักษาฟรีและดูแลโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ชาวอิรัก"[15]

ประวัติ[แก้]

มุนตะซ็อร อัซซัยดีเติบโตในนครอัศศ็อดร์ ชานเมืองแบกแดด[16] เขาเริ่มทำงานเป็นผู้สื่อข่าวประจำช่องอัลบัฆดาดียะฮ์ใน ค.ศ. 2005 ตอนแรก เขากลายเป็นที่รู้จักในฐานะเหยื่อของการลักพาตัวโดยผู้จู่โจมที่ไม่ทราบนามในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 อัซซัยดีถูกกองทัพสหรัฐจับกุมตัวถึงสองครั้ง[2][3] เขาอาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนตร์สองห้องในใจกลางแบกแดด[17][18] เขานับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์

เหตุการณ์ขว้างรองเท้าใส่จอร์จ ดับเบิลยู. บุช[แก้]

วิดีโอช่วงเกิดเหตุ

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ในห้องแถลงข่าวที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรีในแบกแดด ประเทศอิรัก อัซซัยดีขว้างรองเท้าสองข้างใส่จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐในขณะนั้น[19] พร้อมตะโกนด่าเป็นภาษาอาหรับ ขณะโยนรองเท้าข้างแรกว่า "นี่คือรอยจูบร่ำลาจากชาวอิรัก ไอ้หมา"[20] และตะโกนขณะโยนรองเท้าข้างที่สองว่า "นี่สำหรับหญิงหม้าย เด็กกำพร้า และผู้ที่เสียชีวิตในประเทศอิรัก"[20] บุชหลบได้สองครั้ง ส่วนนายกรัฐมนตรี นูรี อัลมาลิกี พยายามจับรองเท้าข้างหนึ่งเพื่อปกป้องบุช อัซซัยดีถูกลากลงไปกับพื้น[21] ก่อนที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของนายกรัฐมนตรีจับเขาออกไปนอกห้อง

ตอนแรกอัซซัยดีถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคุมตัวและภายหลังส่งไปให้ฝ่ายบังคับบัญชาแบกแดดของกองทัพอิรัก ฝ่ายบัญชาการส่งตัวเขาไปที่ฝ่ายตุลาการอิรัก มีผู้คนร้อยกว่าคนบนถนนเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขา[22] อัซซัยดีอาจเจอข้อหาโจมตีผู้นำต่างประเทศและนายกรัฐมนตรีอิรัก ตามรายงานจากผู้สังเกตการณ์ในตะวันออกกลาง มีความเชื่อมั่นว่าข้อหาเหล่านี้อาจมีโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือจ่ายค่าปรับเล็กน้อย แม้ว่าไม่น่าจะได้รับโทษสูงสุด เนื่องจากได้รับ "สถานะลัทธิ" ใหม่ในโลกอาหรับ[23] ทนายความชาวอิรักกล่าวว่า ถ้าถูกดำเนินคดี อัซซัยดีน่าจะถูกจำคุกสองปี[3] อัซซัยดีถูกนำตัวไปขึ้นศาลในวันที่ 17 ธันวาคม เขาปฏิเสธที่จะให้เคาะลีล อัดดุลัยมีเป็นตัวแทน เนื่องจากเขาเคยปกป้องซัดดัม ฮุสเซน อดีตประธานาธิบดีอิรัก และตนต้องการทนายความชาวอิรัก[24] เขาถูกปล่อยตัวในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2009 หลังอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา 9 เดือน เขาถูกทรมานขณะอยู่ในนั้น เขาสาบานว่าจะเปิดเผยรายชื่อผู้ที่เขาบอกว่าทรมานตน ซึ่งรวมเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลและกองทัพด้วย[13][14]

สิ่งตีพิมพ์[แก้]

  • The Last Salute to President Bush, 2010[25]

อ้างอิง[แก้]

  1. Banerjee, Debesh (9 February 2011). "Bush shoe-thrower may get Delhi invite to watch himself on stage". Indian Express. สืบค้นเมื่อ 30 December 2011.
  2. 2.0 2.1 "Kidnapped Iraqi reporter freed, says no ransom paid". Reuters. 19 November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2008. สืบค้นเมื่อ 21 December 2008."Iraqi TV journalist kidnapped – press group". Reuters. 16 November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-09. สืบค้นเมื่อ 15 December 2008."Iraqi TV station says kidnapped reporter freed in Baghdad". International Herald Tribune. Associated Press. 19 November 2007. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
  3. 3.0 3.1 3.2 Faraj, Salam (15 December 2008). "Arabs hail shoe attack as Bush's farewell gift". International News. France 24. Agence France-Presse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2008. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
  4. "Bush shoe-thrower 'tortured'". Al Jazeera. 17 December 2008. สืบค้นเมื่อ 30 December 2011.
  5. Weaver, Matthew (19 January 2008). "Bush shoe protester has been beaten, Iraqi judge says". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 19 December 2008.
  6. Khaled, Abu Toameh (15 December 2008). "Iraqi who threw shoes at Bush hailed as Arab hero". Middle East. Jerusalem Post.
  7. "Iraqi journalist's shoes destroyed, says judge". Dawn.com. 19 December 2008. สืบค้นเมื่อ 27 February 2017.
  8. "Iraqi journalist's shoes destroyed after Bush attack". ABC News Australia. 18 December 2008. สืบค้นเมื่อ 27 February 2017.
  9. "A shoe-throwing president?". Folha Online. 12 January 2009. สืบค้นเมื่อ 20 December 2008.
  10. "Shoe-throwing reporter headed to court". Top News. United Press International. 16 December 2008. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
  11. Arraf, Jane (20 February 2009). "Hero or villain? Iraq's shoe thrower faces judgment". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 12 March 2009. Zeidi … stood throughout the 90-minute trial in the court building …
  12. Londoño, Ernesto; Mizher, Qais (7 April 2009). "Court reduces sentence for Iraqi shoe thrower". Associated Press via Washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 13 May 2010.
  13. 13.0 13.1 Nada Bakri (September 16, 2009). "Iraqi Shoe Thrower Is Released, Says He Was Tortured in Jail". Washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 13 December 2018.
  14. 14.0 14.1 Naughton, Philippe; Kerbaj, Richard (September 15, 2009). "Iraqi shoe thrower Muntazer al Zaidi freed from jail". The Times. สืบค้นเมื่อ January 27, 2020.
  15. Bradley, Simon (19 October 2009). "Iraqi shoe-thrower launches Geneva-based agency". Swissinfo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2012. สืบค้นเมื่อ 19 October 2009.
  16. Karadsheh, Jomana (15 December 2008). "TV station urges release of shoe-throwing journalist". Asia. CNN. สืบค้นเมื่อ 18 December 2008.
  17. Karadsheh, Jomana (15 December 2008). "Shoe-thrower's brother: He wanted to humiliate 'tyrant'". World. CNN. สืบค้นเมื่อ 15 December 2008.
  18. "Shoe thrower 'beaten in custody'". Middle East. BBC News. 16 December 2008. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
  19. Myers, Steven Lee; Alissa J. Rubin (14 December 2008). "Iraqi Journalist Hurls Shoes at Bush and Denounces Him on TV as a 'Dog'". Middle East. The New York Times. สืบค้นเมื่อ 15 December 2008.
  20. 20.0 20.1 "Shoes thrown at Bush on Iraq trip". Middle East. BBC News. 14 December 2008. สืบค้นเมื่อ 15 December 2008.
  21. "Raw Video: Iraqi Journalist Throws Shoe at Bush". Associated Press. 14 December 2008. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
  22. Abdul-Zahra, Qassim (16 December 2008). "Shoe-thrower expected to appear before Iraqi judge". World news. Houston Chronicle. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2008. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
  23. Rashad, Muhieddin; Yahya Barzanji (15 December 2008). "Family: Shoe thrower hates both US, Iran role". Africa & Middle East. International Herald Tribune. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
  24. "Shoe-thrower rejects Saddam defender, many other offers". Trend News Agency. 17 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2008. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
  25. Karam, Zeina (14 December 2010). "Iraqi shoe thrower signs his first book in Beirut". The San Diego Union-Tribune. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Muntadhar al-Zaidi