มุกห์ตารัน บีบี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุคตาร์ มัยน์ (มุกห์ตารัน บีบี)
เกิดมุกห์ตารัน บีบี
1972
มีร์วาลา ปากีสถาน
สัญชาติปากีสถาน
พลเมืองปากีสถาน
อาชีพนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน
มีชื่อเสียงจากผู้ถูกรุมโทรม หนึ่งในนักเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของปากีสถาน
คู่สมรสNasir Abbas Gabol (2552)

มุกห์ตารัน บีบี (ปัญจาบ: อูรดู: مختاراں بی بی) หรือที่ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ มุคตาร มัยน์ (ปัญจาบ: อูรดู: مختار مائی) เกิดเมื่อราวปี พ.ศ. 2515[1] เป็นหญิงชาวปากีสถานจากหมู่บ้านมีร์วาลา ในแถบชนบทของเคาน์ตีเทห์สีล อำเภอมูซัฟฟาร์กัรฮ์ในปากีสถาน มุคตาร มัยน์เป็นเหยื่อของการรุมโทรมตามคำสั่งของปัญจญัติราช (สภาชนเผ่า) ของเผ่ามาสโตยบาลูจญซึ่งร่ำรวยกว่าและมีอำนาจมากกว่าเมื่อเทียบกับเผ่าตาตลาในพื้นที่นั้น[2][3] โดยธรรมเนียมแล้ว หญิงชนบทจะถูกคาดหวังว่าจะทำอัตวินิบาตกรรมหลังจากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น[4][5][6] แต่เธอกลับลุกขึ้นสู้และติดตามคดี ซึ่งได้รับการหยิบยกขึ้นมาโดยสื่อต่างประเทศหลายสำนัก อันเป็นการสร้างแรงกดดันแก่รัฐบาลปากีสถานและตำรวจให้ติดตามคดีข่มขืนดังกล่าว ท้ายที่สุดแล้วคดีถูกนำขึ้นพิจารณาในศาล และผู้ลงมือถูกจับกุม แจ้งข้อหาและพิสูจน์ว่ามีความผิด แต่ศาลอุทธรณ์กลับคำตัดสินดังกล่าว ศาลสูงสุดปากีสถานในภายหลังประกาศว่าผู้ถูกกล่าวหาเกือบทุกคนไม่มีความผิดยกเว้นเพียงคนเดียวเท่านั้น มุคตารที่กำลังต่อสู้ทางกฎหมายในปากีสถานและทำให้เธอเสี่ยงต่ออันตรายอย่างต่อเนื่อง แต่ถึงกระนั้น เธอได้ริเริ่มองค์การสวัสดิการสตรีมุคตาร์ มัยน์ เพื่อช่วยสนับสนุนและให้การศึกษาแก่สตรีและเด็กหญิงชาวปากีสถาน และเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านสิทธิสตรีอย่างเปิดเผย

ตามข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ มุคตาร มัยน์ พร้อมด้วยเพื่อน เพื่อนร่วมงานและครอบครัวของเธออยู่ในความเสี่ยงใหญ่หลวงจากความรุนแรงโดยเจ้าศักดินาท้องถิ่น และรัฐบาลปากีสถาน[7] ด้านพลเอกเปอร์เวซ มูชาร์ราฟ อดีตประธานาธิบดีปากีสถาน ได้ยอมรับในบล็อกส่วนตัวของเขาว่า เขาสั่งจำกัดการเคลื่อนไหวของเธอในปี พ.ศ. 2548 เนื่องจากเขาเกรงว่าผลงานของเธอและชื่อเสียงของมันอาจทำลายภาพลักษณ์ในเวทีนานาชาติของปากีสถาน[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kristof, N & Wudunn, S, (2009), "Half The Sky", Virago
  2. Journey into Islam: the crisis of globalization, Akbar S. Ahmed, Brookings Institution Press, 2007, pp.99
  3. "A Marriage of Convenience?". Inter Press Service. 2009-04-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-13. สืบค้นเมื่อ 2010-06-07.
  4. Sentenced to Be Raped
  5. Pakistani Woman Who Shattered Stigma of Rape Is Married
  6. Pakistani rape survivor turned education crusader honoured at UN
  7. Feudals vs. Mukhtar
  8. "General Pervez Musharraf - Write to the President: The President Responds". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-19. สืบค้นเมื่อ 2011-06-26.