มินนา ฟอน บาร์นเฮลม์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มินนา ฟอน บาร์นเฮลม์ (Minna von Barnhelm) เป็นละครตลกจาก กอตโธลด์อีเฟรมเลสซิง (Gotthold Ephraim Lessing) แบ่งเป็นห้าฉาก ละครนี้เกิดในช่วงสงครามเจ็ดปีและได้นำมาแสดงครั้งแรกในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1767 ผลงานของ แลสซิ้งชิ้นนี้เป็นหนึ่งในละครตลกที่มีความสำคัญในวรรณกรรมเยอรมัน

เนื้อเรื่อง[แก้]

ละครเรื่องนี้เริ่มหลังสงครามเจ็ดปี นายพลฟอน เทลฮายม์ (von Tellheim) ถูกปลดออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีข้อสงสัยว่านายพลทุจริตรับสินบนจากข้าศึกมา จึงมารอที่เบอร์ลินกับเด็กรับใช้ยูทส์ (Just) เพื่อรอรับการพิพากษา การถูกกล่าวหาว่า ในสงครามได้รับสินบนจากข้าศึก เพื่อที่ให้ข้าศึกที่แพ้ เสียค่าเสียหายน้อยที่สุดนั้น กินใจและทำให้เทลฮายม์เสียใจมาก เนืองจากเทลฮายม์เป็นคนที่สุจริต มีคุณธรรม และรักศักดิ์ศรีมาก การทำที่ทำให้ถูกกล่าวนี้เกิดขึ้น เพราะฟอนเทลฮายม์เห็นใจผู้พ่ายศึกและเรียกค่าเสียหายที่ต่ำที่สุด แม้ว่าเทลฮายม์เลือกอัตราต่ำที่สุด แต่ซัคเซน (Sachsen) ก็ไม่สามารถจ่ายได้ในขณะนั้น เทลฮายม์จึงออกเงินให้ก่อน หลังจากสงครามจบแล้วและเทลฮายม์ต้องการเอาพันธบัตรไปแลกกับกระทรวง ก็ถูกกล่าวหาทุจริต กระทรวงจึงยึดเงินและฟ้องเทลฮายม์ ด้วยเหตุนี้เทลฮายม์จึงขาดเงิน

มินนา ฟอน บาร์นเฮลม์ คู่หมั้นของเทลฮาย์ ซึ่งรู้จักกันในสงคราม ตามหาคู่หมั่นตัวเอง เนื่องจากว่าเทลฮายม์ไม่ได้กลับไปหาและไม่ทราบว่าเทลฮายม์ถูกข้อกล่าวหา เธอจึงเดินทางมาเบอร์ลิน เพื่อถามหาที่อยู่เทลฮายม์ที่กระทรวงกับลุงของเธอ แต่เกิดอุบัติเหตุกับรถม้า ลุงจึงให้มินนาเดินทางมาก่อน ซึ่งทำให้มินนากับเด็กรับใช้(เป็นเพื่อนตั้งแต่เด็ก)มาถึงเบอร์ลินก่อน พอมาถึงเบอร์ลินแล้ว ก็หาที่พัก แต่โรงแรมเต็มไปหมดทุกที่ มีเพียงโรงเตี๊ยมที่เดียวที่ว่าง แต่ห้องที่ใหญ่ๆและสวยๆหมดแล้ว แต่เถ้าแก่ย้ายผู้พักให้ จึงได้ห้องใหญ่

ภายหลังนี้เป็นการสรุปฉากเท่านั้น

ฉากที่ 1[แก้]

ในขณะเดียวกัน เทลฮายม์ได้กลับมาโรงแรมที่พักและเนืองจากยังไม่ได้จ่ายค่าห้อง เถ้าแก่จึงย้ายให้ไปอยู่ห้องเล็กๆ ยูทส์เคืองเถ้าแก่มาก หาว่าเถ้าแก่หน้าเงินและว่าเถ้าแก่อย่างรุนแรง เถ้าแก่พยายามแก้ตัว โดยบอกว่าจะปล่อยให้ผู้เช่าใหม่อยู่ในห้องเล็กๆได้อย่างไร แต่เทลฮายม์กลับไม่ติดใจเท่าไหร่ สาเหตุที่เถ้าแก่ไม่ไล่เทลฮายม์ออกจากโรงแรมก็คือ ในขณะที่เก็บห้องได้พบเงินในจำนวนมาก ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นเงินที่ลูกน้องฝากเทลฮายม์ไว้ ซึงเทลฮายม์ไม่ยอมใช้ ไม่นานต่อมาแม่ม่ายซึ่งมีลูกติดของผู้รับใช้เก่ามาหาเทลฮายม์ เพื่อมาชำระหนี้ตามคำสั่งเสียของสามีเธอ แม้ว่าเทลฮายม์มีปัญหาเรื่องเงิน แต่ก็ปฏิเสธที่จะรับเงิน โดยบอกว่าเทลฮายม์ต่างหากที่ติดหนี้สามีเธอและยังบอกเธอว่ากระทรวงยังต้องจ่ายเงินให้สามีเธออีก ให้เธอไปเรียกร้องได้

หลังจากที่แม่ม่ายไป ก็มีลูกน้องแวร์เนอร์ (Paul Werner)มาอีก ลูกน้องคนนี้ขายทรัพย์สินตัวเองหมด เพื่อไปทำสงคราม เนื่องจากเบื่อชีวิตธรรมดา เมื่อแวร์เนอร์ได้ยินปัญหาเรื่องเงินจากยูทส์ ก็ไปหาเทลฮายม์ เพื่อต้องการจะเอาเงินให้ยืม แต่เทลฮายม์ไม่ต้องการให้ช่วย แวร์เนอร์จึงโกหกเทลฮายม์ โดยบอกว่ายังติดหนี้สามีแม่ม่ายอยู่ ซึ่งคุยกับแม่ม่ายว่าให้เอามาจ่ายที่เทลฮายม์แทน ฉะนั้นให้รับเงินไปได้ แต่แวร์เนอร์ไม่รู้ว่าแม่ม่ายมาหาเทลฮายม์แล้ว จึงโดนจับโกหกได้ ซึ่งทำให้แทลฮายม์โกรธมาก

ฉากที่ 2[แก้]

ในขณะเดียวกันมินนาก็ส่งเด็กรับใช้มาขอโทษและขอบคุณผู้เช่าของห้องก่อน เนื่องจากอุตสาห์สละห้องให้ เด็กร้บใช้ ฟรันซิสกา (Franziska) มาหาเถ้าแก่ เพื่อถามหาที่อยู่ ซึ่งเถ้าแก่ได้ชี้ไปยังยูทส์และบอกว่าเขาเป็นเด็กรับใช้ของเจ้าของห้อง ซึ่งในขณะนั้นนั่งอยู่ตรงนั้น ตอนนี้ผู้ชมถึงรู้ว่าคนที่ถูกเชิญย้ายห้องก็คือเทลฮายม์นั้นเอง ฟรันซิสกาถามยุทส์ แต่ยูทส์ไม่ยอมบอก ฟรันซิสกาจึงให้ฝากบอกคำขอบคุณ

หลังจากฟรันซิสกากลับมาที่ห้องแล้ว เถ้าแก่ก็ได้มาสอบถามข้อมูล ซึ่งเป็นระเบียบจากตำรวจในสมัยนั้น ภายหลังการสอบถามเถ้าแก่โชว์แหวนวงหนึ่งให้เห็น ซึ่งคล้ายกับแหวนของมินนามากที่เธอใส่อยู่ ซึ่งมีเทลฮายม์จำนำกับเถ้าแก่ไว้ก่อนหน้านั้น เพื่อชำระค่าห้อง มินนาเห็นว่าเป็นแหวนของคู่หมั้น จึงได้เก็บไว้และให้เถ้าแก่ไปตามคู่หมั้นเธอมา แต่ยูทส์ไม่ยอมไปตาม แต่จะบอกให้แทลฮายม์ให้ทราบว่ามีคนอยากพบ

เทลฮายม์มาหาผู้ที่ขอบคุณตามมารยาท โดยไม่รู้ว่าผู้ที่ขอบคุณนั้นเป็นคู่หมั้นของตัวเอง เมื่อเจอแล้วก็กระโดดเข้าหา แต่สักพักก็ปฏิเสธ โดยอ้างว่าขาดความเหมาะสม เนื่องจากเขาเป็นคนจน คนพิการ(มือข้างขวาเป็นอัมพาตเพราะสงคราม)และออกไปจากห้อง

ฉากที่ 3[แก้]

หลังจากแทลฮายม์ไป ซึ่งมินนาเองก็งง จึงเรียกเถ้าแก่มาสอบถามว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งทราบเรื่องการโดนกล่าวหาแล้ว ยูทส์ก็เข้ามาในห้องเพื่อเอาจดหมายจากเจ้านายมาให้ ซึ่งแทลฮายม์อธิบายในจดหมายว่าทำไมขาดความเหมาะสม การสนทนาระหว่างยูทส์ทำให้ผู้ชมเห็นว่า แทลฮายม์เป็นคนที่ดี ต่อมาฟรันซิสกาก็เจอแวร์เนอร์ ซึ่งกำลังไปหาแทลฮายม์เพื่ออำลา ฟรันซิสกากับแวร์เนอร์คุยถูกคอกันมาก หลังจากคุยเสร็จแวร์เนอร์ปรับความใจกับแทลฮายม์และอำลา โดยแทลฮายม์สัญญาว่าถ้าหากขาดเงินอีก จะต้องเอ่ยปากยืมเงินแวร์เนอร์เป็นคนแรก ต่อมาฟรันซิสกาเอาจดหมาย ซึ่งมินนาเปิดอ่านแล้ว มาให้แทลฮายม์ โดยบอกแทลฮายม์ว่า มินนาไม่ได้อ่านจดหมายและสิ่งที่ต้องการพูดก็ให้บอกเธอโดยตรงและนัดเจอหน้าบ้านเวลาสามโมง

ฉากที่ 4[แก้]

ระหว่างการนัดเจอกับแทลฮายม์ มีคนมาหาแทลฮายม์ ซึงนำข่าวมาบอกแทลฮายม์ว่ามีการพิจารณาว่าเข้าใจผิด แทลฮายม์พ้นโทษหมดทุกประการ ส่วนเงินที่เรียกร้องจะได้เต็มจำนวน เมื่อมินนาได้รับข่าวนี้ ก็ต้องการเอาคืนบ้าง โดยบอกแทลฮายม์ว่า เนื่องจากเธอไม่ยอมแต่งงานกับคนที่ลุงเธอเสนอและเธอรักแทลฮายม์คนเดียว แล้วนี้แทลฮายม์ก็ไม่รักเธออีก เธอจึงถูกตัดออกจากมรดก เธอจึงคืนแหวนมั้นที่เธอให้แทลฮายม์คืนให้แทลฮายม์ โดยที่แทลฮายม์ไม่รู้ว่าเป็นแหวนของตัวเอง

ฉากที่ 5[แก้]

แทลฮายม์รู้สึกผิด จึงไม่สนใจเรื่องศักดิ์ศรีตัวเอง รีบไปยืมเงินจากแวร์เนอร์ เพื่อจะแต่งงานและใช้ชีวิตกับมินนา แวร์เนอร์ซึงทราบข่าวว่าแทลฮายม์จะได้เงินจากกระทรวงคืน บอกให้แทลฮายม์รู้ แทลฮายม์ไม่ต้องการรอจึงให้เอาเงินไปให้ยูทส์ เพื่อไปไถ่แหวนหมั้นที่เคยจำนำไว้ออกมา ไม่นานฟรันซิสกาก็ได้เจอแทลฮายม์ ซึ่งฟรันซิสกาหาว่าแทลฮายม์ใจร้าย แม้แต่แหวนหมั้นก็ยังไม่ใส่เลย ซึงแทลฮายม์อ้างว่าลืมใส่ แทลฮายม์มาพบมินนา เพื่อจะบอกว่าพ้นโทษแล้วและขอเธอแต่งงาน ขอให้เธอรับแหวนหมั้นนั้นคืน แต่มินนาไม่ยอมรับแหวนคืน จึงกลับไปเอาแหวนหมั้น ซึงได้เจอยุทส์ ซึ่งรายงานว่าแหวนหมั้นที่เคยจำนำไว้ถูกมินนาไถ่ไปแล้ว ซึ่งทำให้แทลฮายม์คิดว่าที่มินนามานั้น มาเพื่อที่จะถอนหมั้นเฉยๆเลยโกรธ

ในขณะเดียวกันแวร์เนอร์มาหาแทลฮายม์ เพื่อเอาเงินมาให้ ซึ่งแทลฮายม์โกรธมินนา จึงปฏิเสธไม่รับเงินอีกคัร้ง ต่อมาแทลฮามย์ไปหามินนา เพื่อที่จะว่าเธอเรื่องที่จะถอนหมั้น ในขณะนั้นลุงของมินนาก็ได้เข้ามา ซึ่งแทลฮายม์คิดว่าลุงคนนั้นแย่มากที่รังแกมินนา จึงพยายามปกป้องมินนา แต่หลังจากลุงกล่าวว่าไม่รู้เรื่องตัดออกจากกองมรดกและมินนาเปิดโปรงเรื่องทั้งหมด ซึ่งบอกให้ดูแหวนของตนว่าเป็นแหวนของใคร แทลฮายม์ก็เข้าใจทุกอย่างและทั้งสองคนก็ได้กลับมาเป็นคู่เหมือนเดิม [1]

การยกย่อง[แก้]

หลังจากที่เริ่มแรกมีปัญหาในการนำแสดง เนื่องจากปัญหากับกรมเซ็นเซอร์ ละครชิ้นนี้ก็ได้แสดงไปทั่วประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมัน เกอเธอได้ชมโดยกล่าวว่า " ein glänzendes Meteor. Es machte uns aufmerksam, daß noch etwas Höheres existierte, als wovon die damalige schwache literarische Epoche einen Begriff hatte.“ เหมือนดาวตกที่ประกาย ซึ่งทำให้เราเห็นว่า ยังมีอะไรที่สูงกว่ายุควรรณกรรมที่แย่ที่ผ่านมา(ความหมายโดยประมาณ) [2]

การนำแสดง[แก้]

ถึงทุกวันนี้ (ปี 2010) มินนา ฟอน บาร์นเฮลม์เป็นละครที่แสดงมากที่สุดในเยอรมัน ตั้งแต่เดือนมกราคม ปีค.ศ. 2005 สามารถชมได้ที่เบอร์ลิน นำแสดงโดยมาทิน่า เกแด็ก ( Martina Gedeck) ในบทมินนา อูลริค มาดเท็ส (Ulrich Matthes)ในบทแทลฮายม์

นอกจากนั้นยังมีการทำมิวสิคเคล (musical) ประพันธ์โดยมิคคาเอล วิลเด้นฮายน์ (Michael Wildenhain) วางแผนโดย คลาวส์ วากเนอร์ (Klaus Wagner)ดนตรีโดยคอนสตันทิน เวคเคอร์ (Konstantin Wecker) และ นิโคลัส เคมเมอร์(Nicolas Kemmer)นำแสดงครั้งแรกวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2000 ถึงวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 2001 ทั้งหมด 22 ครั้ง [3]

ภาพยนตร์[แก้]

  • 1976 Minna von Barnhelm โดย Franz Peter Wirth นำแสดงโดย Reinhild Solf, Frank Hoffmann
  • 1962 Minna von Barnhelm โดย Martin Hellberg
  • 1957 Minna von Barnhelm of soldatengeluk โดย Max Douwes ประเทศฮอนแลดน์
  • 1940 Das Fräulein von Barnhelm โดย Hans Schweikart

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ตีพิมพ์[แก้]

  • Gotthold Ephraim Lessing: Minna von Barnhelm oder das Soldatenglück. Ein Lustspiel in fünf Aufzügen. Berlin 1767. DTV Deutscher Taschenbuch Verlag 1997. ISBN 3-423-02610-3
  • Gotthold Ephraim Lessing: Minna von Barnhelm. Stuttgart (Reclam) 1996. ISBN 3-15-000010-6
  • Gotthold Ephraim Lessing: Minna von Barnhelm. Husum (Hamburger Lesehefte) 2007. ISBN 978-3-87291-018-9

อ้างอิง[แก้]

  1. Minna von Barnhelm,Lessing, Reclam
  2. Minna von Barnhelm. Erläuterungen und Dokumente. Reclam Universal-Bibliothek, Band 16037
  3. Minna von Barnhelm. Erläuterungen und Dokumente. Reclam Universal-Bibliothek, Band 16037