มาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 2
ตานูมาฟีลีในวันเอกราชซามัว
1 มกราคม ค.ศ. 1962
โอเลอาโอโอเลมาโลแห่งซามัว
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม ค.ศ. 1962 – 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2007
ดำรงตำแหน่งร่วมกับตูปูอา ตามาเซเซ เมอาโอเลจนถึงวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1963
นายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้าก่อตั้งตำแหน่ง
(จอห์น เบิร์ด ไรต์ ดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่)
ถัดไปตูฟูกา เอฟี
มาลีเอโตอา
ดำรงตำแหน่ง
7 มกราคม ค.ศ. 1940 – 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2007
ก่อนหน้ามาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 1
ถัดไปมาลีเอโตอา โมลี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 มกราคม ค.ศ. 1913(1913-01-04)
ซามัว
เสียชีวิต11 พฤษภาคม ค.ศ. 2007(2007-05-11) (94 ปี)
อาปีอา ประเทศซามัว
ที่ไว้ศพมูลีนูอู
คู่สมรสเล อาฟีโอกา อี เล มาซีโอโฟ, ลีลี ตูนู
บุตร11
บุพการีมาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 1กับโมโมเอ ลูเปอูลูอีวา เมเลอีเซอา

มาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 2 (ซามัว: Malietoa Tanumafili II; 4 มกราคม ค.ศ. 1913 – 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2007) มีพระยศว่า ซูซูกา มาลีเอโตอา ตานูาฟีลีที่ 2 เป็นมาลีเอโตอา ซึ่งเป็นตำแหน่งหนึ่งในสี่หัวหน้าใหญ่ของประเทศ[1] และเป็นประมุขแห่งรัฐ หรือโอเลอาโอโอเลมาโลแห่งซามัวตั้งแต่ ค.ศ. 1962 ถึง 2007 พระองค์เป็นผู้ร่วมปกครองใน ค.ศ. 1962 กับ ตามา-อา-ไอกา ตูปูอา ตามาเซเซ เมอาโอเลและกลายเป็นประมุขแห่งรัฐองค์เดียวในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1963 หลังผู้ร่วมปกครองเสียชีวิต[2]

พระราชประวัติช่วงต้นและชีวิตส่วนตัว[แก้]

พระองค์เสด็จพระราชสมภพใน ค.ศ. 1913 โดยเป็นพระราชโอรสและเป็นพระราชโอรสธิดาองค์ที่ 3 แด่มาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 1 กับโมโมเอ ลูเปอูลูอีวา เมเลอีเซอา[3] หลังพระราชบิดาสวรรคตในวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1939 พระองค์จึงถูกเลือกเป็นมาลีเอโตอาใน ค.ศ. 1940

ลีลี ตูนู พระมเหสีของพระองค์ สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1986.[4] ตานูมาฟีลีมีพระราชโอรสธิดา 11 องค์ ตัวอย่างในนี้ ได้แก่: ซูอา ไวนูอูโป, อาฟีโอกา มาลีเอโตอา ปาปาลีอีเตเล ฟาอามาอูซีลี โมลี (ผู้ดำรงตำแหน่งมาลีเอโตอาในปัจจุบัน), ปาปาลีอีเตเล ตีตีอูอาโตอา, ปาปาลีอีเตเล อีโออาเน, ปาปาลีอีเตเล ดักลัส (พระราชโอรส) กับเซอีอูลี ตูไต, โลลา โตซี และโมโมเอ (พระราชธิดา) มีหนึ่งองค์สิ้นพระชนม์ในวัยเด็ก ส่วนปาปาลีอี ลาอูเปปากับปาปาลีอีเตเล เอตี พระราชโอรสสององค์ สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1985 และ 2005 ตามลำดับ ในช่วงที่พระองค์สวรรคต พระองค์ยังมีพระราชโอรสธิดา 4 องค์ - พระราชโอรส 2 องค์ และพระราชธิดา 2 องค์[5][6][7]

สวรรคต[แก้]

มาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 2 เสด็จสวรรคตในเวลา 18:45 ในวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 ที่โรงพยาบาลแห่งชาติตูปูอา ตามาเซเซ เมอาโอเลที่โมโตโอตูอา อาปีอา ประเทศซามัว พระองค์ทรงประชวรด้วยโรคปอดบวมที่โรงพยาบาลเป็นเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์[8] สาเหตุการสวรรคตมาจากพระหฤทัยวาย

มาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 2 ทรงเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐนานที่สุดเป็นอันดับ 3 ในช่วงที่สวรรคตในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 โดยเป็นรองแค่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรแห่งประเทศไทย ผู้ครองราชย์ตั้งแต่ ค.ศ. 1946 จนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 2016 กับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2แห่งสหราชอาณาจักร ผู้ครองราชย์ตั้งแต่ ค.ศ. 1952 จนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 2022[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Malietoa Tanumafili II (Obituary)". The Economist. The Economist print edition. 24 May 2007. สืบค้นเมื่อ 12 June 2007.
  2. Western Samoa Products and English, Samoan Languages เก็บถาวร 23 เมษายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "Genealogy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2017. สืบค้นเมื่อ 5 February 2017.
  4. King Malietoa Tanumafili II of Samoa dead at 94 – The Honolulu Advertiser – Hawaii's Newspaper
  5. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2007. สืบค้นเมื่อ 14 May 2007.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) Profile
  6. "Samoan king dies at the age of 94". The Sydney Morning Herald. 13 May 2007. สืบค้นเมื่อ 13 May 2007.
  7. Tautua-Fanene, Deidre (2018-08-17). "Malietoa title bestowed at Malie". Samoa Observer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-14. สืบค้นเมื่อ 2019-08-14.
  8. Sagapolutele, Fili (12 May 2007). "Samoan Head of State Passes Away". Pacific Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2007. สืบค้นเมื่อ 12 May 2007.
  9. "Samoa's king, one of world's longest reigning monarchs, dies". International Herald Tribune. Associated Press. 12 May 2007. สืบค้นเมื่อ 13 May 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า มาลีเอโตอา ตานูมาฟีลีที่ 2 ถัดไป
ชาร์เลส ลิทเทลตัน ประมุขแห่งรัฐซามัว
(พ.ศ. 2505 - 2550)
ตูปูอาตามาเซเซตูปูโอลา ตูฟูงา เอฟิ
มาลีเอตัว ตานุมาฟิลิที่ 1 มาลีเอตัว
(พ.ศ. 2482 - 2550)
ไม่มี