มังเคร่ช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มังเคร่ช้าง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช (Plantae)
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Melastomataceae
สกุล: Melastoma
สปีชีส์: M.  villosum
ชื่อทวินาม
Melastoma villosum
Lodd.
ชื่อพ้อง
  • โคลงเคลงขน
  • เอ็นอ้า (อุบลราชธานี)
  • มังเครช้าง (กระบี่)
  • ม่ายะ (ตราด)
  • เหร

ชื่อสามัญ โคลงเคลงขน ชื่อท้องถิ่น เหมรฺช้าง หรือ มังเครช้าง(กระบี่)

ลำต้น เป็นไม้พุ่ม (S) สูง 1-5 เมตร สีน้ำตาลอมม่วง แตกกิ่งก้านในระดับต่ำและแตกเป็นจำนวนมาก ทรงพุ่มกว้างครึ่งทรงกลม ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตรงข้าม รูปร่างเป็นใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ส่วนฐานใบโค้งมน ขอบใบเรียบ ตวใบสากมีขนปกคลุม ขนาดของใบ กว้าง3-5 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกช่อ กระจกที่ปลายกิ่ง ประกอบด้วยดอก 3-6ดอก กลีบดอกมี 5กลีบ เป็นสีชมพู ม่วง เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกประมาณ 5-6 เซนติเมตร ผล เป็นผลเดี่ยวเกิดแต่ฐานรองดอกมีรูปร่างคล้ายคนโท มีขนจำนวนมาก ผลสีน้ำตาลอมเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีม่วง เนื้อในแบบเปียกสีน้ำเงินเข้ม ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ผลแตกออกตามขวาง

ที่อยู่ บริเวณป่าชายเลน ดินค่อนข้างแข็ง สูงกว่าระดับน้ำทะเล 5-10 เมตร ประโยชน์น้ำต้มใบหรือน้ำคั้นจากใบใช้แก้โรคท้องร่วง โรคบิด และระดูขาว ราก ช่วยบำรุงธาตุเ เจริญอาหาร บำรุงกำลัง บำรุงตับ แก้อ่อนเพลีย และ เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค

อ้างอิง[แก้]

  • อนุวัตร ไทรทอง, มัณฑนา นวลเจริญ. ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ 2549,42-43