มะแพร้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มะแพร้ว (อังกฤษ: Spitapa) คือมะพร้าวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้ไม่มีระแง้และดอกตัวเมีย จะเกิดบนแกนกลางหรืองวง เราจะสังเกตจาการที่ผลมะพร้าวติดกับแกนกลางของทะลาย แต่มะแพร้วกลับติดผลน้อยกว่ามะพร้าวปกติ คือ 4-5 ผลต่อทะลาย อาจจะเป็นเพราะมีดอกตัวผู้น้อยกว่าปกติหรือมีดอกตัวเมียมากเกินไปจนเลี้ยงอาหารไม่ไหว

ชื่อพื้นเมืองอื่น : หมากอูนดุง (จันทบุรี) โพล (กาญจนบุรี) ย่อ (ภาคใต้) โดง (สุรินทร์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

มะพร้าวเป็นตระกูลเดียวกับหมาก ลำต้นกลม ฐานลำต้นกว้าง มีข้อปล้องตามลำต้น ใบเป็นใบประกอบเรียงขนานกันอยู่บนก้านใหญ่ ใบมะพร้าวมีสีเขียวลักษณะยาวเรียว มีก้านหรือทางมะพร้าวเป็นแกนกลาง นิยมนำมาทำไม้กวาด มะพร้าวออกดอกเป็นช่อ ดอกมีสีเหลืองอ่อน โดยดอกอ่อนจะมีกาบหุ้มช่อเหมือนปลีกล้วย เรียกช่อดอกอ่อนว่างวงมะพร้าวส่วนช่อดอกที่บานแล้วกาบหลุดออกเรียกว่า จั่นมะพร้าว มะพร้าวออกผลเป็นทะลาย คือมีหลาย ๆ ผลในช่อเดียวกัน ผลมะพร้าวเป็นทรงกลม ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียวอ่อน ผลมะพร้าวจะประกอบด้วยเปลือกแข็งที่เป็นเส้นใยเรียกว่า กาบมะพร้าว และมีกะลามะพร้าวที่หุ้มเนื้อและน้ำมะพร้าวไว้ มะพร้าวอ่อนจะมีเนื้อบางสีขาว ผลมะพร้าวที่แก่แต่ไม่แก่จัด เรียกว่า มะพร้าวทึนทึก ซึ่งจะมีเปลือกสีเขียวอมน้ำตาล เนื้อในหนาแข็ง กะลามีสีน้ำตาลแก่ ส่วนมะพร้าวที่แก่จัดจะเรียกว่ามะพร้าวห้าว กะลาจะมีสีน้ำตาลออกดำ เนื้อในหนาแข็ง

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]