มะเร็งผิวหนังในม้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มะเร็งผิวหนัง หรือ เนื้องอก เป็นชนิดของมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในการตรวจม้า ที่ประมาณร้อยละ 45 [1] ถึง 80[2] ของโรคมะเร็งที่ได้รับการตรวจทั้งหมด ซาร์คอยด์เป็นชนิดของโรคผิวหนังที่พบมากที่สุดและเป็นชนิดที่พบมากที่สุดของโรคมะเร็งโดยรวมในม้า ส่วนมะเร็งผิวหนังสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมา เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดที่สองที่พบโดยส่วนใหญ่ และตามด้วยชนิดเมลาโนมา[3] ซึ่งมะเร็งผิวหนังสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมาและเมลาโนมามักจะเกิดขึ้นในม้าที่มีอายุมากกว่า 9 ปี[3] ในขณะที่ชนิดซาร์คอยด์โดยทั่วไปจะมีในม้าอายุ 3 ถึง 9 ปี การตัดเนื้อออกตรวจเป็นทางเลือกที่ใช้มากที่สุดในการตรวจมะเร็งผิวหนังในม้า[1] แต่มีข้อห้ามสำหรับกรณีของชนิดซาร์คอยด์[4] ทั้งนี้การวินิจฉัยและการรักษาโรคจะมีประสิทธิภาพแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคมะเร็ง, ระดับของการทำลายเนื้อเยื่อเฉพาะที่, หลักฐานของการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น (การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง) และตำแหน่งของเนื้องอก ซึ่งไม่ใช่การแพร่กระจายของโรคมะเร็งทั้งหมด และบางส่วนสามารถรักษาให้หายหรือลดลงโดยการผ่าตัดเนื้อเยื่อมะเร็ง หรือผ่านการใช้ยาเคมีบำบัด

ซาร์คอยด์[แก้]

ส่วนแอบแฝง (บริเวณที่ไม่มีขนด้านซ้าย) และเป็นก้อนกลม (ก้อนกลมขนาดใหญ่ด้านขวา) ซึ่งเป็นรูปแบบซาร์คอยด์ที่เกิดขึ้นกับม้า

ซาร์คอยด์ถือเป็นร้อยละ 39.9 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบมากที่สุดสำหรับการวินิจฉัยม้า[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Beuchner-Maxwell, Skin tumors., pg. 692.
  2. Knottenbelt, Derek C. (2 กุมภาพันธ์ 2003). Basic principles of diagnosis and management of neoplasia in horses (PDF). Proceedings of the Annual Meeting of the Italian Association of Equine Veterinarians, Pisa, Italy, 2003 (XIV Congress ed.).
  3. 3.0 3.1 3.2 Valentine, Neoplasia, pg. 147.
  4. Knottenbelt and McGarry, Sarcoids., pg. 400.

บรรณานุกรม[แก้]