มองโกเลียนเจอร์บิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มองโกเลียนเจอร์บิล
เจอร์บิลป่าในมองโกเลีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
อันดับ: อันดับสัตว์ฟันแทะ
วงศ์: วงศ์หนู
วงศ์ย่อย: Gerbillinae
สกุล: Meriones
สกุลย่อย: Pallasiomys
สปีชีส์: M.  unguiculatus
ชื่อทวินาม
Meriones unguiculatus
(Milne-Edwards, 1867)

มองโกเลียนเจอร์บิล (อังกฤษ: Mongolian Gerbil) เป็นสายพันธุ์หนึ่งของหนูเจอร์บิลหรือหนูทะเลทราย เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่มีความทนทานและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่แห้งแล้งได้ดีมาก มีอนุวงศ์รวมแล้วประมาณ 110 ชนิด จะพบมากในทะเลทรายของแถบ แอฟริกัน , อินเดีย และ เอเชีย ด้วยความที่เป็นสัตว์อ่อนโยนและทนทาน จึงกลายเป็นที่นิยมในเวลาไม่นาน

ขนาดของหนูเจอร์บิล[แก้]

หนูเจอร์บิลจะมีความยาวจนถึงหาง ที่ระหว่าง 15 ถึง 30 เซนติเมตร หรืออาจจะมากกว่านี้นิดหน่อย และหนูเจอร์บิลขนาดโต จะสามารถมีน้ำหนักเฉลี่ยได้ถึง 70 ถึง 100 กรัม อยู่ที่การเลี้ยงของผู้เลี้ยงที่จะสามารถเอาใจใส่ในเรื่องของอาหารการกินของหนูเจอร์บิลได้ดีแค่ไหนด้วย

พฤติกรรมและนิสัยของหนูเจอร์บิล[แก้]

หนูเจอร์บิลเป็นสัตว์สังคมสูงและอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่ม จะคอยพึ่งพากันและกัน รักครอบครัว และจะรับรู้ได้จากความรู้สึกของกลิ่นจากต่อมที่ผลิตมาจากส่วนใต้ท้อง เพื่อไว้คอยบ่งชี้ถึงสถานะของสมาชิกในครอบครัว ดังนั้น ถ้ามีตัวแปลกกลิ่นหรือแปลกถิ่นเข้ามา ก็จะถูกหนูเจอร์บิลในถิ่นเดิมเข้าโจมตี เพราะจากกลิ่นที่ไม่คุ้นเคยนั่นเอง

วิธีการเลือกหนูเจอร์บิล[แก้]

หนูเจอร์บิลที่ดีจะต้องมีดวงตาที่กลมโตดูสดใส มีเส้นขนที่เงางามและราบรื่น จมูกไม่เป็นสะเก็ด มีความชัดเจน บริเวณก้นไม่เปียก และที่สำคัญ หนูเจอร์บิลนั้นจะต้องจะต้องดูคึกและแข็งแรง อยากรู้อยากเห็น ยิ่งกระโดด ดีดไปมาเลยยิ่งดี ตามบุคลิกภาพโดยธรรมชาติของมัน

หนูเจอร์บิลสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน[แก้]

หนูเจอร์บิลมีต้นกำเนิดพื้นเพมาจากประเทศมองโกเลีย และได้ถูกนำมาจากประเทศจีนครั้งแรกเข้าสู่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 19 และต่อมาก็ถูกนำไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1954 โดย ดร.Victor Schwentker เพื่อสำหรับไปใช้ในการทดลองและวิจัย และต่อมาหนูเจอร์บิลก็ได้เป็นที่รู้จักเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงในปี 1964 และเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความชื่นชอบในเวลาอันรวดเร็ว และจะสามารถพบได้ในร้านค้าสัตว์เลี้ยงทั่วไปในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา

ครอบครัวหนูเจอร์บิล

ที่อยู่อาศัยของหนูเจอร์บิล[แก้]

ควรจะเป็นที่ที่มีอากาศถ่ายเทและไม่โดนแสงโดยตรง ลมไม่โกรกอยู่ตลอดเวลา แสงสว่างของไฟต้องเป็นเวลา อุณหภูมิต้องปกติให้คงที่เท่าที่จะทำได้ หนูเจอร์บิลมีประสาทการรับฟังที่ดีมากจึงไม่ควรเป็นที่ที่มีเสียงดังจนเกินไปเพราะอาจจะเป็นปัญหาสืบเนื่องไปถึงการผสมพันธุ์ หนูเจอร์บิลนั้นจะชอบขุดมากและจะชอบแทะทุกสิ่ง โดยเฉพาะพลาสติกควรละเว้นเป็นอันขาด เพราะอาจจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงมากได้ในอนาคตจากที่เข้าไปแทะพลาสติกนั่นเอง ส่วนล้อหมุนหรือล้อที่ใช้สำหรับวิ่ง ก็คงจะไม่จำเป็นเพราะเค้าอาจจะกัดจนไม่เหลือชิ้นดี และที่ใส่อาหารก้อไม่ควรทำจากไม้หรือพลาสติกเช่นกัน สรุปคือ ทุกอย่างที่อยู่ในบ้าน ควรจะเป็นสิ่งของที่ำทำมาจากเซรามิคหรือดินเผาจะดีกว่า

การผสมพันธุ์ของหนูเจอร์บิล[แก้]

หนูเจอร์บิลนั้น จะใช้เวลากันหลายชั่วโมงในการผสมพันธุ์ จะเสร็จในระยะเวลาสั้นๆ แต่บ่อย โดยการไล่ตามของตัวผู้ ที่ตัวเมียนั้นจะคอยวิ่งหนี

ของเล่นสำหรับหนูเจอร์บิล[แก้]

  • แท่งไม้ เพื่อช่วยให้หนูได้แทะเล่นและลับฟัน
  • ล้อวิ่ง แต่ก็ต้องทำใจเรื่องที่จะต้องถูกแทะจนไม่เหลือชิ้นดีในเวลาไม่นานด้วย
  • แกนกระดาษ เอาไว้ใช้เป็นอุโมงค์และแทะเคี้ยวเล่น
  • บ้านลูกมะพร้าว เอาไว้ใช้เป็นถ้ำและแทะเล่นก็ได้
  • บันไดไม้และสะพานไม้ เอาไว้ใช้ปีนป่ายและแทะเล่นได้อีกด้วย
  • ทรายอาบน้ำ ไม่ใช่ทรายที่ใช้ก่อสร้างนะ จะเป็นทรายละเอียดชนิดพิเศษ หาซื้อได้ตามร้านขายสัตว์เลี้ยงทั่วไป เอาไว้ให้หนูเจอร์บิลของเราทำความสะอาดขนให้เงางามอยู่เสมอ

อาหารของหนูเจอร์บิล[แก้]

จะแบ่งออกได้เป็นสามประเภทคือ ผักสดและผลไม้ ที่ไม่อุ้งน้ำมากจนเกินไปหรือว่ามีรสเปรี้ยว เพราะอาจจะทำให้หนูท้องเสียได้ ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายมากสำหรับหนูประเภทนี้ ต่อไปคือ ธัญพืชแบบแห้งต่างๆ จะเป็นอาหารบัดดี้หรือเมล็ดพืชต่างๆ ที่มีขายอยู่ตามร้านอาหารสัตว์ทั่วไป สุดท้ายก็คือแมลง จะแบบเป็นๆ หรือแบบอบแห้งก็ได้ อาหารทุกชนิดสำหรับหนูเจอร์บิลนั้น จะต้องระวังเรื่องสารพิษตกค้างไว้ด้วยอย่างยิ่ง และควรจะเปลี่ยนอาหารให้กินบ้างเพื่อที่หนูเจอร์บิลของเราจะได้รับสารอาหารได้อย่างครบถ้วน เพราะการบำรุงนั้นเป็นสิ่งที่ดีเสมอ และให้ในปริมาณที่พอเหมาะไม่มากจนเกินไป และที่สำคัญที่สุด "น้ำอย่าให้ขาด"

หนูเจอร์บิลกับการลับฟัน[แก้]

มีอยู่หลายๆ กรณีที่มักจะพูดถึงเสมอว่า ถ้าไม่มีอะไรให้หนูเจอร์บิลแทะ จะทำให้หนูเจอร์บิลของเราฟันยาวหรือเปล่า และพอฟันยาวขึ้นมาก็จะทำให้กินอาหารไม่ได้ เป็นเหตุให้หนูเจอร์บิลต้องเสียชีวิตไป ถ้าอ้างถึงบุคคลทั่วไปที่เลี้ยงกัน ก็ไม่เคยนำแท่งไม้หรืออะไรให้แทะเลย แต่อย่าลืมว่า เราไม่ได้ไปคอยสังเกตการณ์อยู่ตลอดเวลาว่าหนูเจอร์บิลของเรานั้น ใช้วิธีการลับฟันแบบไหน อาจจะจากการแทะไม้ เซรามิคหรือดินเผาต่างๆ ที่อยู่ภายในที่เลี้ยงของเราก็เป็นได้ แต่ทางที่ดีที่สุดก็คือ ให้เราใส่ท่อนไม้เล็กๆ หรืออะไรก็ได้ที่เป็นไม้ ไว้ในที่เลี้ยงของเราไว้ซักชิ้นก็น่าจะดี กันไว้ดีกว่าแก้

หนูเจอร์บิลขณะกำลังกินอาหาร

ความนิยมหนูเจอร์บิลในประเทศไทย[แก้]

หนูเจอร์บิลได้ถูกนำมาเพาะเลี้ยงในประเทศไทยเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่มีจำนวนผู้เพาะเลี้ยงน้อยมากในขณะนั้น รวมถึงจำนวนผลผลิตของหนูเจอร์บิลก็ไม่ได้มีเยอะเหมือนกับหนูชนิดอื่นๆ และต่อมา ก็เพิ่งจะมาได้รับความนิยมมากในช่วงกลางปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างช้าๆ ไม่ว่าจะนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน หรือ นำไปเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อชนิดอื่นๆ

โทนสีของหนูเจอร์บิล[แก้]

  • สีกระรอก
  • สีทอง
  • สีเทา
  • สีน้ำตาล
  • สีขาว
  • สีวิเชียรมาศ
  • สีครีม
  • สีดำ
  • สีด่าง

อ้างอิง[แก้]

  1. "Meriones unguiculatus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. 2008. สืบค้นเมื่อ January 26, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]