มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม
University of Birmingham
ตราอาร์มอย่างย่อของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม
คติพจน์ลาติน: Per Ardua Ad Alta[1]
แปลเป็นไทยได้ว่า จงพยายามไปสู่ที่สูงส่ง
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล
สถาปนาพ.ศ. 2443 ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2441 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์เมสัน[2][3]
พ.ศ. 2386 โรงเรียนแพทย์ในพระบรมราชินูปถัมภ์แห่งเบอร์มิงแฮม
ที่ตั้ง, ,
สหราชอาณาจักร

52°27′2″N 1°55′50″W / 52.45056°N 1.93056°W / 52.45056; -1.93056พิกัดภูมิศาสตร์: 52°27′2″N 1°55′50″W / 52.45056°N 1.93056°W / 52.45056; -1.93056
วิทยาเขตในเมืองและชานเมือง
สีน้ำเงิน แดง เหลืองทอง และฟ้า
                    
สีประจำคณะ
  • คณะอักษรศาสตร์และนิติศาสตร์
                   
    คณะสังคมศาสตร์
                    
    คณะวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
                 
    คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ
              
    คณะแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์
                     
เว็บไซต์birmingham.ac.uk

มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม เป็นสถาบันอุดมศึกษาเน้นวิจัยขนาดใหญ่ ตั้งที่เมืองเบอร์มิงแฮม อันมีสถานะเป็นอำเภอในจังหวัดเวสต์มิดแลนด์ มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยอิฐแดง (Red Brick Universities) และเป็นมหาวิทยาลัยอิฐแดงแห่งแรก ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2443 โดยรวมโรงเรียนแพทย์ในพระราชินูปถัมภ์แห่งเบอร์มิงแฮมเข้ากับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เมสัน[4] มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมมีชื่อเสียงในด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์และพาณิชยศาสตร์ โดยได้เป็นสมาชิกกลุ่มรัสเซล และกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยยูนิเวอร์ซิตัส (หรือ อูนิแวร์ซิตัส) 21 ซึ่งมีที่ทำการที่มหาวิทยาลัยเอง

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ก่อตั้งตามพระราชบัญญัติเมื่อ พ.ศ. 2443 จากการควบรวมโรงเรียนแพทย์ในพระราชินูปถัมภ์แห่งเบอร์มิงแฮม (Queen's College Birmingham) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2371[5]กับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เมสัน (Mason Science College) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2413[3] ใช้เวลา 5 ปี การก่อตั้งจึงสำเร็จ[2] ตามชื่อของโจเซีย เมสัน (Josiah Mason) นักอุตสาหกรรมชาวอังกฤษ ก่อนหน้าที่มหาวิทยาลัยจะก่อตั้งนั้นเอง ได้มีการโอนภาควิชาเคมีและภาควิชากายวิภาคเปรียบเทียบจากโรงเรียนแพทย์ จนทำให้มีการยกฐานะวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เมสันเป็นวิทยาลัยอุดมศึกษาเมสัน เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2341 มีโจเซฟ เชมเบอร์เลน (Joseph Chamberlain) เป็นนายกสภาสถาบัน

ไม่นานนักหลังจากการโอนย้ายส่วนงาน สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียมีพระบรมราชโองการให้ควบรวมทั้งสองสถาบันเข้าด้วยกัน เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2443[6] ตระกูลกอฟ-คาลทอร์ป (Gough-Calthorpe Family) ได้บริจาคที่ดินส่วนหนึ่งของตนซึ่งตั้ง ณ ตำบลบอร์นบรุก (Bournbrook) ซึ่งมีขนาดราว ๆ 10 เฮกแตร์ (ุ62 ไร่ 2 งาน) ให้แก่มหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นที่ตั้ง อาคารต่าง ๆ ถูกสร้างขึ้นโดยมากใช้อิฐสีแดง หนึ่งในอาคารเหล่านั้น คือ อาคารแอสตันเว็บ ได้ถูกใช้เป็นสถานที่พยาบาลทหารบาดเจ็บจากการสู้รบ[7]

ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยต้องขยายตัว ฮิวก์ คาสซัน (Hugh Casson) และเนวิล คอนเดอร์ (Neville Conder) สถาปนิก ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้ทำแผนสร้างอาคารใหญ่ขึ้นเสริมอาคารที่มีอยู่เดิม ต่อจากนั้นมหาวิทยาลัยก็ได้เริ่มสร้างอาคารใหม่ ๆ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา[8] ขณะเดียวกันนั้นเองมหาวิทยาลัยได้ช่วยเหลือมหาวิทยาลัยซิมบับเวจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ รวมทั้งช่วยเหลือการดำเนินงานวิทยาลัยอุดมศึกษานอร์ทสแตฟฟอร์ดเชอร์ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยคีล) รวมไปถึงการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวอร์ริก[9] ซึ่งเดิมทีมหาวิทยาลัยวอริกจะมีสถานะเป็นเพียงวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ณ เมืองโคเวนทรี แต่อธิการบดีขณะนั้น (โรเบิร์ต เอตเกน (Robert Aitken)) ได้ทัดทานขอให้เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัย[10]

อาคารแอสตันเว็บ

การเติบโตของมหาวิทยาลัย นอกจากวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของผู้บริหารแล้ว ยังได้อิทธิพลจากการค้นคว้าวิจัยของบุคลากรอีกด้วย อาทิ ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2468 - 2491 นอร์มัน ฮาเวิร์ท (์Norman Harworth) หัวหน้าภาควิชาเคมี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และรองอธิการบดี (พ.ศ. 2490 - 2491) เป็นนักวิจัยด้านเคมีของคาร์โบไฮเดรต โดยเขาได้ค้นพบโครงสร้างของน้ำตาลที่สามารถหมุนแกนแสงโพลาไรซ์ได้ รวมถึงค้นพบโครงสร้างที่แน่นอนของน้ำตาลมอลโทส เซลโลไบโอส แลกโทส เจนโชไบโอส เมลลิไบโอส เจนเชียโนส ราฟฟิโนส และโครงสร้างของน้ำตาลอัลโดสที่เป็นวงกลม งานของเขาทำให้มีการค้นพบโครงสร้างของสารที่ซับซ้อนกว่าขึ้นมาเช่น แป้งแท้ (starch) เซลลูโลส ไกลโคเจน อินูลิน และไซแลน จนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2483[11]

มาร์ก โอลิฟันต์ (Mark Oliphant) อาจารย์ เสนอให้สร้างซิงโครตรอน (เครื่องเร่งอนุภาค) ที่ประกอบด้วยโปรตอนในปี พ.ศ. 2486 แต่เขากลับปฏิเสธว่าไม่มีความเป็นไปได้ในเวลาต่อมา กระนั้นสองปีให้หลังได้มีการค้นพบสถานะสมดุล ทำให้สามารถสร้างเครื่องเร่งอนุภาคขนาด 1 กิกะอิเล็กตรอนโวลต์ที่มหาวิทยาลัย ซึ่งเริ่มเดินในอีก 7 ปีต่อมา ด้วยเหตุผลด้านค่าพลังงานที่ต้องใช้ อย่างไรก็ตามเครื่องเร่งอนุภาคที่ห้องปฏิบัติการบรูกแฮเวนได้ถูกสร้างสำเร็จก่อนหน้าที่เครื่องของมหาวิทยาลัยจะสามารถเดินเครื่องได้[12]

อาคารฟิสิกส์ (อาคารพอยติง)

ในปี พ.ศ. 2490 ปีเตอร์ เมเดวาร์ (Peter Medewar) ศาสตราจารย์ด้านสัตววิทยา ได้ศึกษาผลของภูมิคุ้มกันที่มีต่อการปลูกถ่ายอวัยวะ ในงานของเขา ได้ศึกษาการปลูกถ่ายผิวหนังวัวและการสร้างเม็ดสีในผิวหนังที่ปลูกใหม่ จนได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทยศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2503[13]

ส่วนงาน[แก้]

คณะและภาควิชา[แก้]

มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมแบ่งออกเป็น 6 คณะ แต่ละคณะมีภาควิชาต่าง ๆ ซึ่งดำเนินการสอนและวิจัยในศาสตร์สาขาต่าง ๆ อาทิ[14]

  • คณะอักษรศาสตร์และนิติศาสตร์
    • ภาควิชาภาษาอังกฤษ
    • ภาควิชาอเมริกันศึกษา
    • ภาควิชาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
    • ภาควิชาภาษาศาสตร์
    • ภาควิชาวัฒนธรรม
    • ภาควิชาประวัติศาสตร์และดุริยศาสตร์
    • ภาควิชานิติศาสตร์
    • ภาควิชาเทววิทยาและศาสนศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ
    • ภาควิชาเคมี
    • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
    • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
    • ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    • ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์
    • ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
    • ภาควิชาคณิตศาสตร์
    • ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    • ภาควิชาโลหวิทยาและวัสดุศาสตร์
    • ภาควิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
    • ภาควิชาชีวศาสตร์
    • ภาควิชาภูมิศาสตร์
    • ภาควิชาโลกศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
    • ภาควิชาจิตวิทยา
    • ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
  • คณะแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์
    • ภาควิชามะเร็ง
    • ภาควิชาแพทยศาสตร์คลินิกและทดลอง
    • ภาควิชาทันตแพทยศาสตร์
    • ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์และประชากรศาสตร์
    • ภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน
  • คณะสังคมศาสตร์
    • ภาควิชาบริหารธุรกิจ
    • ภาควิชาครุศาสตร์
    • ภาควิชารัฐศาสตร์
    • ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์

นอกจากนี้ยังมีศูนย์วิจัยต่าง ๆ ได้แก่ แผนกพัฒนานานาชาติ สถาบันการปกครองท้องถิ่น ศูนย์ศึกษาแอฟริกันตะวันตก ศูนย์รัสเซียและยุโรปตะวันออก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านปัญญาประดิษฐ์ และสถาบันเชคสเปียร์

ศูนย์พัฒนานานาชาติ[แก้]

ศูนย์พัฒนานานาชาติ (International Development Department) ของมหาวิทยาลัยถูกก่อตั้งเพื่อศึกษาวิจัยด้านการลดความยากจนในประเทศด้อยพัฒนา โดยอาศัยการบริหารจัดการที่เป็นธรรม ศูนย์ฯ เป็นสถาบันศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาด้านการพัฒนาและการลดความยากจนที่มีชื่อเสียงของโลกแห่งหนึ่ง[15][16]

ส่วนงานนอกพื้นที่หลักของมหาวิทยาลัย[แก้]

สถาบันเชคสเปียร์ ที่สแตรตฟอร์ดอะพอนเอวอน

นอกเหนือจากวิทยาเขตเอดจ์บาสตันและแซลลีโอ๊คแล้ว มหาวิทยาลัยมีส่วนงานที่ตั้งที่อื่นได้แก่

  • สถาบันเชคสเปียร์ (Shakespear Institute) ตั้งที่เมืองสแตรตฟอร์ดอะพอนเอวอน จังหวัดวอริกเชอร์ เพื่อเป็นสถาบันบัณฑิตศึกษาด้านกวีนิพนธ์ของวิลเลียม เชคสเปียร์ รวมทั้งบทกวียุคฟื้นฟูศิลปวิทยา
  • สถาบันไอร์เอิร์นบริดจ์ (Ironbridge Institute) ตั้งที่เมืองไอร์เอิร์นบริดจ์ จังหวัดชรอปเชอร์ เพื่อเป็นสถาบันบัณฑิตศึกษาด้านมรดกทางวัฒนธรรม
  • คณะทันตแพทยศาสตร์ ตั้งที่ใจกลางเมืองเบอร์มิงแฮม ถือเป็นคณะทันตแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดของอังกฤษ
  • ศูนย์สันทนาการเรย์มอนด์ พรีสลีย์ (Raymond Priestley Centre) ตั้งที่ตำบลโคนิสตัน จังหวัดคัมเบรีย ใช้เป็นศูนย์สันทนาการของมหาวิทยาลัยและสถานที่ฝึกเดินสำรวจ[17]
  • หอดูดาวมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ตั้งใกล้ ๆ กับสนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัย ห่างจากวิทยาเขตเอดจ์บาสตันไป 5 กิโลเมตรทางใต้ ด้วยเหตุผลด้านความมืดและแสงไฟรบกวนในเมืองอันอาจกระทบต่อการสังเกตการณ์ เปิดทำการครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2525 และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2527 โดยฟรานซิส แกรห์ม-สมิท (Francis Graham-Smith) นักดาราศาสตร์หลวงในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี[18][19]หอดูดาวของมหาวิทยาลัยประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบแคสซิเกรนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว (เลขเอฟ f/19) กล้องโทรทรรศน์ยี่ห้อมีด (Meade) รุ่น LX200R (เลขเอฟ f/6.35) และกล้องขนาดเล็กสำหรับใช้ในงานสังเกตการณ์ทั่วไป[20]

ตราสัญลักษณ์[แก้]

ตราอาร์มของมหาวิทยาลัยออกแบบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2443 โดยสำนักมุรธาธรแห่งสหราชอาณาจักร (College of Arms) ตัวตราประกอบด้วยสิงห์สองเศียรด้านซ้าย ส่วนด้านขวาเป็นนางเงือกถือกระจกและหวี

ที่ตั้ง[แก้]

วิทยาเขตเอดจ์บาสตัน[แก้]

อาคารแอสตันเว็บ

มหาวิทยาลัยมีที่ตั้งห่างจากใจกลางเมืองเบอร์มิงแฮมราว ๆ 3 km ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ในท้องที่ตำบลเอดจ์บาสตัน (Edgbaston) ซึ่งได้รับบริจาคจากตระกูลคาลทอร์ป ซึ่งเป็นตระกูลขุนนางสืบทอดหลายชั่วคน เงินทุนประเดิมส่วนหนึ่งได้จากการอุทิศของแอนดรูว์ คาร์เนอกี (Andrew Carnegie) เพื่อให้เป็น "โรงเรียนวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ชั้นนำ"[21]ตามอย่างมหาวิทยาลัยคอร์เนล ซึ่งตั้งที่เมืองอีทากา เทศมณฑลทอมป์กิน รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา[22] นอกจากนี้ชาร์ลส์ โฮลครอฟต์ (Charles Holcroft) ยังได้ช่วยสมทบทุนร่วมกับผู้มีจิตศรัทธาอื่นอีกด้วย[23]

ภายในวิทยาเขตประกอบด้วยหอนาฬิกาขนาดใหญ่ชื่อโอลด์โจ (Old Joe) ตามชื่อของนายกสภาคนแรกซึ่งมีบทบาทอย่างสูงต่อการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ออกแบบโดยอาศัยต้นแบบที่หอนาฬิกาตอร์เดลมังเจีย (Torre del Mangia) เมืองซีเอนา (Siena) ประเทศอิตาลี [24] ครั้นสร้างเสร็จหอนาฬิกาดังกล่าวได้กลายเป็นอาคารที่สูงที่สุดในเมืองเบอร์มิงแฮม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2512 จึงถูกทำลายสถิติไป ถึงกระนั้นหอนาฬิกาดังกล่าวก็ยังคงเป็นอาคารสูงอันดับที่สามในเมือง และเป็นหนึ่งในห้าสิบอันดับอาคารสูงในสหราชอาณาจักรอีกด้วย[25]

นอกจากหอนาฬิกาแล้ว ยังมีอาคารแอสตัน เว็บ (Aston Webb) อันเป็นหอประชุมของมหาวิทยาลัย ใช้ชื่อตามสถาปนิกคนหลัก (คนรองชื่ออินเกรส เบลล์ (Ingress Bell)) ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐแอคคริงตัน (Accrington red brick) ซึ่งเป็นอิฐสีแดงคุณภาพดี แข็งแรง มีชื่อตามสถานที่ผลิตคือ ตำบลแอคคริงตัน จังหวัดแลงคาเชอร์ ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยจึงได้ฉายาว่ามหาวิทยาลัยอิฐแดง (Red Brick universities) ร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นอีกหลายแห่งที่ก่อตั้งในยุคเดียวกัน มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมได้รับคำชื่นชมว่า "เป็นมหาวิทยาลัยที่ประกอบด้วยอาคารหลากหลายรูปแบบยิ่ง"[26]

ในบริเวณมหาวิทยาลัยมีพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่หนึ่ง ซึ่งชะลอมาจากกรุงดับลินเมื่อ พ.ศ. 2480 มาไว้ที่หน้าสถาบันศิลปกรรมศาสตร์บาร์เบอร์ (Barber Institute of Fine Arts) แต่ตัวอนุสาวรีย์หล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2265[27]

หลังจากที่มหาวิทยาลัยดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยได้จัดหาที่ดินเพิ่มเติมจากนิคมคาลทอร์ปเพื่อใช้สร้างหอพักนักศึกษา[28] โดยชั้นแรกสร้างหอพักหญิงพร้อมสระน้ำ มีชื่อได้แก่ ตึกริดจ์ ตึกวิดดริงตัน และตึกเลค เมื่อปี พ.ศ. 2505 ส่วนตึ่กไฮ (ปัจจุบันคือตึกเชมเบอร์เลน) ใช้เป็นหอพักชาย[29] รวมทั้งได้จัดให้มีการสร้างบ้านพักอาจารย์ โรงอาหาร และอาคารคณะพาณิชยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อาคารแอชลีย์) โดยทั้งหมดเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2508[8] ในส่วนของอาคารแอชลีย์ซึ่งปัจจุบันเป็นอาคารอนุรักษ์แล้ว[30] มีลุกษณะเป็นตึกรูปทรงกระบอกสถาปัตยกรรมบรูทัลลิสต์ ภายนอกประกอบด้วยคอนกรีตหล่อ[8]

นอกเหนือจากนี้ มหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงซ่อมสร้างอาคารต่าง ๆ อาทิ

อาคารที่สร้างในยุคต่อมา ได้แก่ อาคารพลศึกษา อาคารภาควิชาเหมืองแร่ ซึ่งออกแบบโดยฟิลิป ดาวสัน (Philip Dowson) สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2510 และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์เมื่อ พ.ศ. 2519 นอกเหนือจากนี้ มหาวิทยาลัยได้สร้างหอพักลูคัส (Lucas House) ขึ้นเพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่มากขึ้น หอพักดังกล่าวสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2510 เช่นกัน

  • พ.ศ. 2510 สร้างอาคารพลศึกษา อาคารภาควิชาเหมืองแร่ อาคารคณะแพทยศาสตร์ หอพักลูคัส (Lucas House)[30] อนึ่ง อาคารภาควิชาเหมือนแร่ได้รับสถานะอาคารอนุรักษ์เมื่อ พ.ศ. 2519
  • พ.ศ. 2511 สร้างอาคารภาควิชาครุศาสตร์เสร็จสิ้น เป็นอาคารแปดชั้นมีห้องบรรยาย ห้องปฏิบัติการและห้องพักอาจารย์ หลังคาของตึกทำจากทองแดง[8]
  • พ.ศ. 2512 สร้างอาคารมัวร์เฮด (Muirhead Tower) ตั้งตามชื่อของจอห์น มัวร์เฮด (John Muirhead) ศาสตราจารย์สาขาปรัชญาคนแรกของมหาวิทยาลัย[31][32]) ความสูง 16 ชั้น[8] ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการคณะสังคมศาสตร์และห้องสมุดแคดเบอรี (Cadbury Library)
  • พ.ศ. 2552 สร้างหอแสดงดนตรีบรามอลล์ ติดกับอาคารแอสตันเว็บ[33]
  • พ.ศ. 2555 สร้างศูนย์กีฬาในร่มมูลค่า 175 ล้านปอนด์[34]
อาคารอักษรศาสตร์

นอกเหนือจากอาคารเรียนแล้ว ยังมีสวนพฤกษศาสตร์วินเทอร์บอร์น ซึ่งมีพื้นที่ขนาด 24,000 ตารางเมตร และป้ายหยุดรถไฟให้บริการภายในมหาวิทยาลัย

วิทยาเขตเซลลีโอ๊ค[แก้]

วิทยาเขตเซลลีโอ๊คตั้งห่างจากวิทยาเขตเอดจ์บาสตันลงไปทางใต้เล็กน้อย ใช้เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนด้านเทววิทยา สังคมสงเคราะห์ และครุศาสตร์[35] แต่เดิมเป็นที่ตั้งของคณะอาศัย (Colleges) จำนวนหนึ่งซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงสองแห่งที่เปิดดำเนินการอยู่ คือ วูดบรุกคอลเลจ (Woodbrook College) และเฟอร์ครอฟต์คอลเลจ (Fircroft College) คณะอาศัยทั้งสองปัจจุบันมีสถานะเป็นธรรมสถาน และสถานศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่[36]

ภายในวิทยาเขต มีศูนย์วิทยทรัพยากรออร์ชาร์ด ซึ่งเป็นห้องสมุดหนึ่งในหลายห้องของมหาวิทยาลัย[37] นอกจากนี้ยังมีหอแสดงศิลปะขนาด 200 ที่นั่ง[38] และโรงเรียนสาธิตอีกด้วย[39]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Ives et al. 2000, p. 238
  2. 2.0 2.1 "Mason College". Birmingham University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 9 October 2014. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Mason" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. 3.0 3.1 Ives et al. 2000, p. 12 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "The First Civic University" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  4. University guide 2014: University of Birmingham, The Guardian, 8 June 2008. Retrieved 11 June 2010
  5. "History of Medicine Unit – University of Birmingham". Medicine.bham.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-01. สืบค้นเมื่อ 2015-01-29.
  6. Gosden, Peter. "From County College To Civic University, Leeds, 1904." Northern History 42.2 (2005) : 317-328. Academic Search Premier. Web. 12 Nov. 2014.
  7. http://www.birmingham.ac.uk/Documents/university/our-impact.pdf
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Hickman, Douglas (1970). Birmingham. Studio Vista Limited.
  9. Ives et al. 2000, p. 342.
  10. Ives et al. 2000, p. 343.
  11. "Norman Haworth - Biographical". Nobelprize.org. The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 15 August 2014.
  12. Brown, Laurie M.; Dresden, Max; Hoddeson, Lillian (1989). Pions to Quarks: Particle Physics in the 1950s: Based on a Fermilab Symposium. Cambridge University Press. pp. 167–9. ISBN 0-521-30984-0.
  13. "Peter Medawar - Biographical". Nobelprize.org. The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
  14. "Our college structure". birmingham.ac.uk. 2015. สืบค้นเมื่อ 29 January 2015.
  15. "Department profile: University of Birmingham, School of Government & Society". Prospects. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ 25 August 2010.
  16. "Birmingham University, School of Public Policy". The Independent. 21 December 2008. สืบค้นเมื่อ 25 August 2010.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-21. สืบค้นเมื่อ 2015-01-29.
  18. "Archive History Section: The History of the University Observatory". sr.bham.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-23. สืบค้นเมื่อ 10 March 2012.
  19. "Astrophysics & Space Research Group :: The University of Birmingham Observatory :: History". สืบค้นเมื่อ 10 March 2012.
  20. "Astrophysics & Space Research Group :: The University of Birmingham Observatory". sr.bham.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 29 April 2010.
  21. Burke, Edmund (1900). The Annual Register. Rivingtons. p. 27. ISBN 1-60030-829-5.
  22. The Carnegie Committee, Cornell Alumni News, II (10), 29 November 1899, p. 6
  23. Ray Smallman, A hundred years of distinction เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, BUMS centenary lecture, p. 5
  24. Stephens, W.B. (1964). "A History of the County of Warwick: Volume 7". London: Oxford University Press. pp. 43–57. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-10. สืบค้นเมื่อ 2015-01-29.
  25. "Britain's tallest 100 buildings by height". Skyscraper News. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09.
  26. Foster, 2005, p.242-3.
  27. Ives et al. 2000, p. 230; Rupert Gunnis, Dictionary of British Sculptors 1660–1851 (1968 revised edition), p.281 identifies it as a 1717 work for Essex Bridge, Dublin.
  28. Ives et al. 2000, p. 304
  29. Ives et al. 2000, p. 338
  30. 30.0 30.1 "Signalling the Sixties: 1960s Architecture in Birmingham". West Midlands: Birmingham.gov.uk. 13 June 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-21. สืบค้นเมื่อ 2010-04-29.
  31. Reisz, Matthew (24 September 2009). "Original features". Times Higher Education. สืบค้นเมื่อ 2009-11-08.
  32. Takagi, Dr R. "Muirhead Tower of the University of Birmingham". Takagi-ryo.ac. สืบค้นเมื่อ 2010-04-29.
  33. "New Concert Hall for Birmingham to Open in 2012 on University Campus". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 2010-05-19.
  34. "University proposes £175m transformation of historic Edgbaston campus". Birmingham.ac.uk. 9 August 2011.
  35. http://hellogoodbyesellyoak.blogspot.co.uk/p/history.html
  36. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-21. สืบค้นเมื่อ 2015-01-29.
  37. https://intranet.birmingham.ac.uk/as/libraryservices/library/about/libraries/olrc.aspx
  38. http://www.birmingham.ac.uk/Documents/university/selly-oak-campus-map.pdf
  39. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-21. สืบค้นเมื่อ 2015-01-29.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Foster, A. (2005). Birmingham (Pevsner Architectural Guides). London: Yale University Press. ISBN 0-300-10731-5.
  • Ives, Eric William; Schwarz, L. D.; Drummond, Diane K. (2000). The First Civic University: Birmingham 1880-1980 An Introductory History. Birmingham, UK: University of Birmingham Press. ISBN 1-902459-07-5.
  • The University of Birmingham Yearbook 2002–2003.
  • Cheesewright, M. (1975). Mirror to a Mermaid. Birmingham: The University of Birmingham Press. ISBN 0-7044-0130-4.
  • Braithwaite, L. (1987). University of Birmingham Architectural Trail. Birmingham: The University of Birmingham Press. ISBN 0-7044-0890-2.
  • Hughes, A. (1950). The University of Birmingham : A Short History. Birmingham: The University of Birmingham Press.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]