มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ศูนย์เทคนิคกรุงเทพฯ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ศูนย์เทคนิคกรุงเทพฯ
ประเภทศูนย์การศึกษา
ที่ตั้ง
เลขที่ 2 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
เว็บไซต์www.rmutk.ac.th

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ศูนย์เทคนิคกรุงเทพฯ เป็นศูนย์การศึกษาในสังกัดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ในอดีตเคยมีสถานะเป็นวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ และวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯตามลำดับ เป็นวิทยาลัยเทคนิคเปิดสอนการเรียนการสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เป็นแห่งแรกในประเทศไทย สังกัดกองวิทยาลัยเทคนิค กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารและ การจัดการศึกษาภายในกรมอาชีวศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการหลายครั้ง กระทั่งในปี พ.ศ. 2518 จึงได้โอนมาสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และเป็นชื่อเป็น วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่งทั่วประเทศไทย ส่งผลให้วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ ได้รับรวมเข้ากับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ และวิทยาเขตพระนครใต้ จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ปัจจุบันไม่มีสถานะเป็นวิทยาเขต

ประวัติ[แก้]

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ทำความตกลงกับ องค์การส่งเสริมความมั่นคงร่วมกันของสหรัฐอเมริกา (Mutual Security Agency; M.S.A.) ส่งเสริมการอาชีวศึกษาของชาติให้ดียิ่งขึ้น จึงเห็นว่าควรจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดพระนคร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เยาวชนของชาติ ได้มีโอกาสฝึกฝนอบรมวิชาชีพอย่างกว้างขวางและ ยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้สูงกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนั้น

รัฐสภาได้อนุมัติงบประมาณ 3,961,450 บาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2495 จัดตั้งวิทยาลัยเทคนิค ในจังหวัดพระนคร กระทรวงการคลังได้อนุมัติให้ใช้ที่ดินราชพัสดุ ตำบลทุ่งมหาเมฆ เนื้อที่ 108 ไร่ เพื่อใช้ในการจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิค ที่ดินดังกล่าวมีคลองใหญ่ยาว ขนาดคลองใหญ่พอที่เรือสำปั้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาจะเข้ามาได้ ปลายคลองด้านหนึ่งออกแม่น้ำเจ้าพระยาตรงช่องนนทรีในปัจจุบัน ปลายคลองอีกด้านต่อเชื่อมกับคลองสาทร พื้นที่สองฝั่งคลองนี้เป็นเรือสวนฝั่งหนึ่ง อีกฝั่งหนึ่งเป็นทุ่งนา ฝั่งทุ่งนามีผืนนากว้างไกลยืนริมคลอง มองมุม 180 องศา จะเห็นผืนฟ้าจรดผืนนา ท้องฟ้าสีสีครามเต็มไปด้วยหมู่เมฆ บางวันมีเมฆขนนกเกลื่อนเต็มท้องฟ้า บางวันเป็นเมฆก้อนใหญ่ ลอยไล่มาเป็นระยะ บางครั้งเมฆทมึนแปรปรวนเคลื่อนเข้าหาอย่างรวดเร็ว ความหลากหลายนี้เหมาะกับนาม ทุ่งมหาเมฆ ฝั่งที่เป็นสวนนั้น เต็มไปด้วยสวนกล้วย สวนมะยม ชาวบ้านปลูกกระต๊อบกระจายห่างๆ เลี้ยงไก่ ปั่นด้าย มีบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ดมีการปลูกต้นพลูจำนวนมากจนเป็นชื่อของ ซอยสวนพลู

เปิดสอนปีแรกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2495 ระหว่างที่ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน โรงฝึกงาน ได้ฝากนักศึกษาเรียนที่สถาบันอื่น ดังนี้

  • แผนกวิทยุ มีนักศึกษา 27 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนช่างกลปทุมวัน
  • แผนกฝึกหัดครูมัธยมอาชีวศึกษา มีนักศึกษา 13 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
  • แผนกช่างก่อสร้าง มีนักศึกษา 30 คน ฝากเรียนที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
  • แผนกพาณิชยการ มีนักศึกษา 21 คน ฝากเรียนที่ โรงเรียนพณิชยการพระนคร (พระตำหนักนางเลิ้ง)

พ.ศ. 2496 วิทยาลัยมีผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันมาปฏิบัติงาน 4 ท่านใน 3 สาขาวิชา ได้แก่สาขาช่างโลหะ สาขาศึกษาอุตสาหกรรม สาขาช่างพิมพ์ นับเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้วิทยาลัยดำเนินการมาได้ด้วยดี และสามารถขยายการรับนักเรียนเข้าศึกษาอบรมในสาขาวิชาต่างๆได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างอาคารของวิทยาลัย 9 หลัง ด้วยงบประมาณของกรมอาชีวศึษา ในปี พ.ศ. 2496 นี้เองวิทยาลัยสามารถรับนักเรียนเข้าเรียนในแผนกสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่ แผนกช่างวิทยุ แผนกช่างก่อสร้าง แผนกพณิชยการส่วนวิชาเลขาณุการ แผนกช่างเครื่องยนต์ แผนกช่างโลหะ แผนกช่างไฟฟ้า แผนกช่างถ่ายรูป แผนกช่างพิมพ์ แผนกช่างไม้ แผนกฝีกหัดครู นอกจากนี้ยังมีข้าราชการของทางวิทยาลัยไปศึกษาเพิ่มเติมอยู่ในอเมริกาด้วยทุนขององค์การส่งเสริมความมั่นคง 7 สาขา ได้แก่ ช่างก่อสร้าง ช่างเคหศาสตร์ ช่างออกแบบและต่อเรือเล็ก ช่างพิมพ์ ช่างเครื่องยนตร์ ช่างไฟฟ้า และการบัญชี

พ.ศ. 2497 วิทยาลัยเปิดสอนแผนกผ้าและอาหาร และแผนกช่างตัดเสื้อ ปีนี้มีข้าราชการไปศึกษาเพิ่มเติม 3 สาขา คือ เลขาณุการ ก่องสร้างและโลหะ

พ.ศ. 2498 เปิดสอนแผนกวิชาช่างสำรวจ

พ.ศ. 2499 มหาวิทยาลัยเวนสเตท(Wayne State University) ร่วมกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลไทยได้เซ็นสัญญาช่วยเหลือวิทยาลัยเทคนิค โดยส่งผู้เฃี่ยวชาญด้านเทคนิคมาช่วยจำนวน 27 คน ระยะเวลาคนละ 1 ปี และรัฐบาลอเมริกาจะฝึกผู้ร่วมงานฝ่ายไทยจากวิทยาลัยเทคนิค 10 คนต่อปีรวม 30 คน ส่งไปฝึกที่สหรัฐอเมริกา จากการช่วยเหลือนี้เอง ครูอาจารย์ของวิทยาลัยได้รับทุนไปศึกษาต่อทีมหาวิทยาลัเวนสเตท สหรัฐอเมริกา ในสาขาวิชาต่าง ในระยะนี้เองวิทยาลัยเทคนิคได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทลัยเทคนิคกรุงเทพฯหลังจากที่กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคภาคใต้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

พ.ศ. 2501เปิดสอนแผนกอุตสาหกรรมศิลป์(ปัจจุบันคือ แผนกวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม)

พ.ศ. 2503เปิดสอนแผนกการขาย(ปัจจุบันคือ แผนกวิชาการตลาด)

พ.ศ. 2506เปิดสอนแผนกวิชาฝึกหัดครูคหกรรมศาสตร์(ปัจจุบันคือ แผนกวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป

พ.ศ. 2518วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ปีแรกของการจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษานั้น วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯได้เปิดสอน คณะวิศวกรรมเทคโนโลยี ที่แผนกวิชาช่างยนต์ ต่อมาได้ย้ายไปสอนที่วิทยาเขตเทเวศร์

พ.ศ. 2523 รัฐบาลไทยมีข้อตกลงเวินกู้ระหว่างรัฐบาลไทยและธนาคารพัฒนาเอเซียเพื่อปรับปรุงวิทยาเขตต่างๆ รวม 10 วิทยาเขต โดยเพิ่มสาขาใหม่ 4 สาขาคือ สาขาวิชาการถ่ายภาพและภาพยนตร์ สาขาวิชาการพิมพ์ สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม สาขาวิชาออกแบบอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชา ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่แก่วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ว่า "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล" ชื่อเต็มของวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ จึงเปลี่ยนเป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ"และกำหนดให้ทุกวันที่ 15 กันยายนชองทุกๆปีเป็นวันราชมงคล อย่างไรก็ตามวันที่การเปลี่ยนแปลงชื่อมีผลตามกำหมายอย่างแท้จริงคือวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2532 ตามความในมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2532 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ หน้า 9 เล่ม 106 ตอนที่ 132 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2532[1]

รัฐบาลฯ ได้เล็งเห็นคุณค่าของการจัดตั้ง วิทยาลัยเทคนิค ที่ กรุงเทพฯ จึงได้ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้ง วิทยาลัยเทคนิคในส่วนภูมิภาค ที่ ภาคใต้ (สงขลา) วิทยาลัยเทคนิค ที่ กรุงเทพฯ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ จากนั้นมีการจัดตั้ง โคราช (นครราชสีมา) , ภาคพายัพ (เชียงใหม่) , ธนบุรี (ธนบุรี) และได้จัดตั้งกองวิทยาลัยเทคนิค เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นประธานในพิธีเปิดวิทยาลัยเทคนิค วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ดร.ไอแมน ผู้เชี่ยวชาญ และ ฮัตจินสัน หัวหน้าฝ่ายการศึกษาของ M.S.A. ที่มาช่วยงานเดินทางกลับ สหรัฐอเมริกา

ในปี พ.ศ. 2518 วิทยาลัยเทคนิค กรุงเทพฯ เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ[2] สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ส่งผลให้วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ (ดูคำอธิบายเกี่ยวกับวันที่ที่มีผลตามกฎหมายของการเปลี่ยนแปลงชื่อข้างบนนี้ประกอบด้วย) กระทั่งในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง และวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

รายนามผู้อำนวยการ[แก้]

  • หลวงปราโมทย์จรรยาวิภาช (ปราโมทย์ จันทวิมล) ผู้อำนวยการคนแรกของวิทยาลัยเทคนิค (พ.ศ. 2495 - 2496)
  • อาจารย์ สนั่น สุมิตร ผู้อำนวยการคนที่ 2 (พ.ศ. 2496 - 2499)
  • อาจารย์ สุต เหราบัตย์ ผู้อำนวนการคนที่ 3 (พ.ศ. 2499 - 2511)
  • อาจารย์ พงศ์พัน วรสุนทรโรสถ ผู้อำนวยการคนที่ 4 (พ.ศ. 2511 - 2516)
  • อาจารย์ ปราโมทย์ กิตติพงศ์ ผู้อำนวยการคนที่ 5 (พ.ศ. 2516 - 2517)
  • อาจารย์ เอกชัย สุนทรพงศ์ ผู้อำนวยการคนที่ 6 (พ.ศ. 2517 - 2521)
  • อาจารย์ นคร ศรีวิจารณ์ ผู้อำนวยการคนที่ 7 (พ.ศ. 2521 - 2530)
  • อาจารย์ ชัยสวัสดิ์ เทียนวิบูลย์ ผู้อำนวยการคนที่ 8 (พ.ศ. 2530 - 2531)
  • อาจารย์ สุพรรณ ถึงสุข ผู้อำนวยการคนที่ 9 (พ.ศ. 2531)
  • อาจารย์ สกุล เวชกร ผู้อำนวยการคนที่ 10 (พ.ศ. 2531 - 2538)
  • อาจารย์ ชาญวุฒิ แก่นจันดา ผู้อำนวยการคนที่ 11 (พ.ศ. 2538 - 2542)
  • อาจารย์ ประพันธ์ วิชาศิลป์ ผู้อำนวยการคนที่ 12 (พ.ศ. 2542 - 2543)
  • อาจารย์ ฉัตรชัย เธียรหิรัญ ผู้อำนวยการคนที่ 13 (พ.ศ. 2543 - 2544)
  • อาจารย์ ประทวน กลิ่นจำปา ผู้อำนวยการคนที่ 14 (พ.ศ. 2544 - 254x)

คณะและสาขาวิชาที่เปิดสอน มทร.กรุงเทพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • หนังสือ ภาพเก่า เล่าอดีต [ISBN : 974-416-433-6] พ.ศ. 2545, สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ