มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดลพบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดลพบุรี
Ramkhamhaeng
ชื่อย่อม.ร. / RU
ที่ตั้ง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดลพบุรี เป็นสาขามหาวิทยาลัยแต่ไม่เทียบเท่าวิทยาเขตของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ตั้งอยู่ใน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ประวัติ[แก้]

สืบเนื่องมาจากในปีพุทธศักราช 2538 มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เห็นความสำคัญทางด้านการศึกษาไปสู่ภูมิภาคและชนบท ทั้งนี้เป็นการสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับประชาชนผู้ด้อย โอกาสที่อยู่ห่างไกลในส่วนภูมิภาคจึงได้จัดทำ"โครงการการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการ เฉลิมพระเกียรติ "ส่วนภูมิภาค" โดยจะให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติครบ 50 ปี เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ประชาชนใน จังหวัดลพบุรี และจังหวัดใกล้เคียง ได้มีโอกาสได้รับการเพิ่มพูนความรู้ ในระดับที่สูงขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีในขณะนั้น (นายทวีศักดิ์ เวียงวิเศษ) นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี (นายประเวศ พุ่มพวง) และอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข) ได้ปรึกษาและตกลง ที่จะเปิดมหาวิทยาลัยรามคำแหงขึ้นที่จังหวัดลพบุรี ในหลักสูตร ระดับปริญญาตรี และ ปริญญาโท โดยมุ่งหวังที่จะให้เป็นประโยชน์โดยตรงต่อ่ประชาชนในท้องถิ่นที่ห่างไกลจะได้มีโอกาสในการศึกษาเทียบเท่ากับผู้ที่อยู่ในเมืองหลวง และไม่ต้องเข้าไปศึกษาเล่าเรียนในเมืองหลวงสำหรับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่จังหวัดลพบุรีในครั้งนี้จะเรียกชื่อว่า มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเปี่ยมตำบลป่าตาล อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พื้นที่ประมาณ 26 ไร่ 1 งาน 1 ตารางวา

ปณิธาน[แก้]

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดลพบุรี มุ่งเน้นการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ด้านสถานที่ สวยงามน่าอยู่ มีความรู้สึกอบอุ่นเหมือนบ้านหลังที่ 2 ของผู้มาเยือน
  • ด้านการให้บริการนักศึกษา นักศึกษาจะต้องได้รับข่าวสารข้อมูลที่ทันสมัยครบถ้วนเที่ยงตรง
  • ด้านการทำงาน ทุกคนทำงานร่วมมือร่วมใจเป็นหนึ่งเดียว
  • ด้านการบริการทั่วไป ยิ้มแย้มแจ่มใส เต็มใจให้บริการ
  • ด้านการบริการสังคม เราให้ความช่วยเหลือร่วมมือกัน กิจกรรมทั้งในระดับจังหวัดและในระดับท้องถิ่น ในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การนำเทคโนโลยี สมัยใหม่มาสู่สังคม

คณะที่เปิดสอน[แก้]

ระดับปริญญาตรี[แก้]

  • คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์
  • คณะบริหารธุกิจ สาขาบริหารทั่วไป
  • คณะมนุษยศาสตร์ สาขาสื่อสารมวลชน
  • คณะรัฐศาสตร์ สาขาบริหารรัฐกิจ

ระดับปริญญาโท[แก้]

  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ
  • ศึกษาศาตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
  • ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]