มลภาวะทางแสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มลภาวะทางแสง (อังกฤษ: light pollution) หมายถึง แสงประดิษฐ์ที่เกิดจากการกระทำกิจวัตรของมนุษย์ในเวลากลางคืน รวมถึงมลภาวะของแสงที่สว่างจ่าจนเกินความจำเป็นหรือแสงประดิษฐ์ที่ใช้ผิดวัตถุประสงค์ด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น สุนัข แมว นก สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์อื่นๆอีกมากมาย โดยที่สำคัญยังส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและต่อกิจกรรมดาราศาสตร์ของนักดาราศาสตร์ด้วย และการออกแบบหลอดไฟประดิษฐ์ที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยที่สำคัญยังส่งผลกระทบต่อกิจกรรมดาราศาสตร์ของนักดาราศาสตร์ด้วย และการออกแบบหลอดไฟประดิษฐ์ที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือการติดตั้งหลอดไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม[1]หรือการติดตั้งหลอดไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สาเหตุ[แก้]

1. การติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน

2. การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3. ขาดการควบคุมและจัดการระบบไฟฟ้าที่ไม่ดีพอ

4. การใช้งานแสงสว่างเกินความจำเป็น

ประเภท[แก้]

มลภาวะทางแสงที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในลักษณะต่างๆมี 4 ประเภทหลักด้วยกัน

1. แสงบาดตา (Glare) คือ แสงหรือความสว่างความสว่างที่ส่องเข้ามาในดวงตาของผู้มองเห็นโดยตรงซึ่งแสงหรือความสว่างนั้นอาจทำให้เกิดการระคาย เคืองต่อดวงตาหรือทำให้เกิดอุปสรรคต่อการมองเห็นของผู้มองเห็น เช่น แสงบาดตา ที่ส่องมาจากโคมไฟหน้ารถยนต์ที่อาจทำ ให้ผู้ใช้รถยนต์คันอื่นๆหรือผู้ที่เดินถนน เกิดอาการระคายเคืองตา หรือสูญเสียความสามารถในการมองเห็นชั่วขณะ (Momentary Blindness) ในบางกรณีอาจก่อให้เกิด อาการบาดเจ็บจากการหดตัวของกล้ามเนื้อควบคุมม่านตา (Iris)

2. แสงเรืองไปยังท้องฟ้า (Sky Glow) คือ แสงหรือความสว่างบนท้องฟ้าที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่ส่องแสงสว่างด้วยหลอดไฟหรือแสงประดิษฐ์ต่างๆขึ้นไปบนท้องฟ้า เช่น เกิดผลกระทบต่อความงามบนท้องฟ้าและการศึกษาด้านดาราศาสตร์ (Astronomical Observation) ด้วยเหตุว่าแสงที่เรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าเวลากลางคืนย่อมบดบังทัศนียภาพในการมอง เห็นดวงดาวด้วยตาเปล่าและสังเกตดวงดาวต่างๆด้วยตาเปล่า

3. แสงรุกล้ำไปในเคหสถานของผู้อื่น การรุกล้ำโดยแสง (Light Trespass) คือ แสงหรือความสว่างที่รุกล้ำเข้าไปในบริเวณของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ การออกแบบโครงสร้างของหลอดไฟหรือการออกแบบส่วนประกอบของแสงประดิษฐ์ที่ไม่ควบคุมบริเวณให้แสงสว่างได้ แต่ในทางกลับกันก็มีประโยชน์ของแสงที่รุกล้ำ คือ การออกแบบหลอดไฟฟ้า ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้แสงรุกล้ำไปยังทรัพย์สินหรือรบกวน ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเพื่อนบ้าน เช่น รัฐบาลอังกฤษได้กำหนดมาตรการในการควบคุมไม่ให้ มีการจำหน่ายหลอดไฟฟ้าขนาด 500 วัตต์ เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นหลอดไฟรักษาความปลอดภัย

4. แสงสับสน (Light Cutter) คือ แสงที่ทำให้เกิดความสับสนในการขับขี่ หรือการลงจอดของเครื่องบิน มักพบในเมืองที่ขาดการควบคุมแสง

ผลกระทบ[แก้]

1.มลภาวะทางแสงที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์[2] เมื่อ ค.ศ.1970 มีนักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ตระหนัก ทางด้านมลภาวะทางแสง ที่มีผลกระทบต่อดวงดาว จึงได้ทำการศึกษามลภาวะที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ แสงสว่างที่มาจากดวงดาว ส่งผลให้การมองเห็นของดวงตาของเราที่มองอาจไม่ชัดเจน ทางนักดาราศาสตร์จึงศึกษา และอาศัยเครื่องมือทางดาราศาสตร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นดวงดาวอย่างชัดเจน ซึ่งการใช้เครื่องมือ ทำให้แสงที่ได้รับส่งผลกระทบต่อดวงตาของเรา นักดาราศาสตร์จึงมีการคิดค้นประสิทธิภาพในการสังเกตดวงดาว เช่น การส่องกล้องจาก กล้องจุลทรรศน์ เป็นต้น

ไฟล์:กระทบต่อดาราศาสตร์.jpg
มลภาวะทางแสงต่อการสังเกตดวงดาว

2. มลภาวะทางแสงที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ ของการใช้งานปริมาณหลอดไฟ ที่เกิดจากการใช้งานในโรงงานที่กำลังขยายตัวพื้นที่ อุตสาหกรรมและการควบคุม การขยายตัวผังเมือง ปราศจากมาตรการทางกฎหมายสิ่งแวดล้อม จึงก่อให้เกิดมลภาวะต่อแสง ที่มีผลกระทบต่อวัฏจักรของความเป็นอยู่ของมนุษย์และระบบนิเวศ รวมไปถึงการดำรงชีวิตของสัตว์และพืช[3]

3. มลภาวะทางแสงที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพมนุษย์ แสงที่ส่องในเวลาการคืน ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ นั้นมีหลายประการ เช่น มลภาวะทางแสงที่ส่งผลต่อต่อมไพเนียล (Pineal) ในเวลากลางคืนร่างกายของมนุษย์จะหลั่งสารที่ เรียกว่า เมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งส่งผลต่อการนอนหลับ (Sleep Disorder) และก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม เป็นต้น[4]

4. มลภาวะทางแสงที่เกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรม หลอดไฟที่ส่องสว่างตามถนน (Street Light) และหลอดไฟที่ให้ความปลอดภัย (Security Light) เพื่อประโยชน์แก่ผู้สัญจรทางเท้าให้มีความปลอดภัยในการมองเห็นในเวลากลางคืนได้อย่างชัดเจน และช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุการสัญจรบนถนน รวมถึงความปลอดภัยจากอาชญากรรมจากการเดินทางบนถนนมากยิ่งขึ้น แสงสว่างจ้า (glare) ที่ส่องมาเข้าดวงตาของแกนนำการชุมนุมหรือประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมโดยตรง การใช้เทคโนโลยีแสงสว่างหรือไฟส่องสว่างในบริเวณพื้นที่ชุมนุมที่มีทิศทางส่องรุกล้ำไปยังที่อยู่อาศัยหรือพื้นที่ส่วนตัวของประชาชนที่อยู่อาศัยโดยรอบ (trespassing lights) รวมไปถึงการส่องแสงสว่างจากการออกแบบหรือติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟในบริเวณพื้นที่ที่มีการชุมนุมทางการเมืองในลักษณะที่ไม่เหมาะสม จนทำให้เกิดทิศทางของแสงส่องเรืองขึ้นไปยังท้องฟ้าในเวลากลางคืน (sky glow) ซึ่งไม่เพียงจะทำให้เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช้เหตุแล้ว แสงส่องเรืองขึ้นไปยังท้องฟ้าในเวลากลางคืนยังอาจทำลายธรรมชาติและความมืดมิดในยามค่ำคืนในบริเวณโดยรอบพื้นที่[5]

มาตรการควบคุม[แก้]

1. มาตรการให้อนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงหรือค่อเติมอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น[6]

2. มาตรการกำหนดพื้นที่เพื่อควบคุมมลภาวะทางแสง

3. มาตรการกำหนดเวลาใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟนอกอาคาร

4. มาตรการควบคุมการออกแบบและติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟให้เหมาะสม

5. มาตรการป้องกันการก่อให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญจากมลภาวะทางแสง

หลักกฎหมายและป้องกันปัญหามลภาวะทางแสง[แก้]

ในหลายประเทศได้กำหนดมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและป้องกันมลภาวะทางแสงโดยอาศัยแนวคิดพื้นฐานทางกฎหมาย หลายประการ[7]

1. หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) กล่าวคือการแสวงหาแนวทางและวิธีการในการควบคุมและป้องกันมลภาวะทางแสงจำเป็นต้องคำนึงควบคู่ไปกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การกำหนดมาตรการในการควบคุมการขยายตัวของชุมชนเมืองเพื่อป้องกันปัญหามลภาวะทางแสง

2. หลักการระวังไว้ก่อน (Precautionary Principle) กล่าวคือการระวังถึงภัยของมลภาวะทางแสงโดยอาศัยแนวทางของการขจัดและการป้องกันไม่ให้มนุษย์และระบบนิเวศได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางแสงในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้มีส่วน ด้เสียอื่นจำเป็นต้องตระหนักและระมัดระวังภัยที่จะเกิดขึ้น เช่น สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งสหรัฐอเมริกา (Illuminating Engineering Society—IES)

3. หลักการป้องกันล่วงหน้า (Prevention Principle)กล่าวคือภาครัฐควรร่วมมือกับภาคเอกชนในการกำหนดแนวทางและวิธีการลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายทาง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากมลภาวะทางแสง เช่น การระบุพื้นที่กำหนดความเสี่ยงจากภัยมลภาวะทางแสงและการกำหนดพื้นที่ในการควบคุมมลภาวะทางแสงในระดับต่าง ๆ

4. หลักความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (Cooperation Principle) กล่าวคือไม่ว่าจะเป็นภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วมหรือมีความร่วมมือ กันในการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านมลภาวะทางแสงและร่วมกันปฏิบัติตามแนวทางระเบียบและกฎหมายที่ภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้บัญญัติไว้

อ้างอิง[แก้]