มนัสนิตย์ วณิกกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มนัสนิตย์ วณิกกุล

เกิดมนัสนิตย์ ฮุนตระกูล
27 มกราคม พ.ศ. 2471
เสียชีวิต30 เมษายน พ.ศ. 2558 (87 ปี)
คู่สมรสอาบบุญ วณิกกุล
บุตร1 คน
บุพการีพระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล)
คุณหญิงลิน ศรีวิสารวาจา

ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล (สกุลเดิม: ฮุนตระกูล ; 27 มกราคม พ.ศ. 2471 – 30 เมษายน พ.ศ. 2558) อดีตราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สำนักราชเลขาธิการ และอดีตเลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ โดยได้ถวายงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาทมาเป็นเวลานานกว่า 60 ปี

ประวัติ[แก้]

ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุลเกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2471 เป็นบุตรคนที่สองจากทั้งหมดสามคนของพระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) กับแพทย์หญิง คุณหญิงลิน ศรีวิสารวาจา (นามเดิม มากาเรต ลิน ซาเวียร์) ผู้เป็นธิดาของพระยาพิพัฒนโกษา (เศเลสติโน มารีอา ซาเวียร์) ชาวโปรตุเกสที่เป็นปลัดทูลฉลองกรมท่า (เทียบตำแหน่งปลัดกระทรวงต่างประเทศ)[1] หลุยส์ ซาเวียร์ บิดาของพระยาพิพัฒนโกษา มีพื้นเพมาจากมาเก๊าของโปรตุเกส ก่อนอพยพเข้ากรุงสยาม[2] ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์มีพี่น้องคือ กิตติรัต ศรีวิสารวาจา และคุณหญิงสาวิตรี โอสถานุเคราะห์

ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2475 คุณหญิงลินผู้มารดาได้ถึงแก่อนิจกรรมตั้งแต่ท่านผู้หญิงยังเล็กด้วยโรคไข้หวัดใหญ่[3] เมื่อท่านผู้หญิงสำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้วได้ปฏิบัติงานสนองเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาตั้งแต่ปี 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ปี พ.ศ. 2522 ดำรงตำแหน่งรองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และในปี พ.ศ. 2543 เป็นราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ[4] นอกจากนี้ท่านผู้หญิงยังดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ โดยได้ถวายงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาทมาเป็นระยะเวลากว่า 60 ปี

ด้านครอบครัวท่านผู้หญิงมนัสนิตย์สมรสกับอาบบุญ วณิกกุล บุตรของ มหาอำมาตย์โท พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล) และคุณหญิงเอื้อม มีบุตรคือเกริก วณิกกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและตุลาการ กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 5 (กฎหมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและพลังงาน) อดีตประธานกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) อดีตรองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และอดีตผู้ทรงคุณวุฒิประจำธนาคารแห่งประเทศไทย สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมธินี วณิกกุล อดีตอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีธิดาคือ ภามาศ วณิกกุล

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุลถึงแก่อนิจกรรมด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558 สิริอายุรวม 87 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ในวันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 15.27 น. ณ ศาลาร้อยปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร[5] โดยงดการสวดพระอภิธรรม ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ในวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 17.12 น. โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถโดยเสด็จไปในการนี้ด้วย[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ท่านผู้หญิงมนัสนิตย์ วณิกกุล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ธุรกิจบนถนนสีลม". หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2015.
  2. Combustões (19 July 2009). "Portuguese descendants in Thailand". 500anosportugaltailansda.blogspot.com. สืบค้นเมื่อ 8 May 2019.
  3. "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๔๙ หน้า ๓๒๘๒ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๗๕.
  4. "ทำเนียบผู้บริหาร". สำนักราชเลขาธิการ. 13 กุมภาพันธ์ 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 ตุลาคม 2009.
  5. "ข่าวในพระราชสำนัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๒๖ วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙.
  6. "ข่าวในพระราชสำนัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๓ ข หน้า ๕๓ วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๐.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๓ มิถุนายน ๒๕๒๕
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒ ง หน้า ๕๐, ๗ มกราคม ๒๕๐๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒๔๘, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๒๙, ๕ มกราคม ๒๕๔๙
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๒๗ เมษายน ๒๕๓๕
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แก้คำผิด ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๘, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๗, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๔, ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗
  19. อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นางประมวลวินิจฉัย (สุดใจ สุวรรณทัต). พระนคร: โรงพิมพ์กองบัญชาการทหารสูงสุด. 1966. p. 4. OCLC 1281297658. ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที 8 สิงหาคม 2509
  20. ธงทอง จันทรางศุ (9 มกราคม 2019). "จีนเก่าไหหลำ และจีนใหม่รัชดาฯ". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2022.
  21. บัณฑิต จุลาสัย (1 ธันวาคม 2005). "ซอย (พระยา) พิพัฒน์ (โกษา)". วารสารศิลปวัฒนธรรม. Vol. 27 no. 2. มติชน. pp. 48–51. ISSN 0125-3654.