มณฑลติรานา

พิกัด: 41°15′N 19°45′E / 41.250°N 19.750°E / 41.250; 19.750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มณฑลติรานา

Qarku i Tiranës
มณฑล
แผนที่แสดงพื้นที่ของมณฑลติรานา
แผนที่แสดงพื้นที่ของมณฑลติรานา
ประเทศ แอลเบเนีย
ลำดับมณฑล2
เมืองหลวงติรานา
การปกครอง
 • นายอำเภอKeltis Kruja (PD)
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,652 ตร.กม. (638 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2010)[1]
 • ทั้งหมด800,347 คน
 • ความหนาแน่น480 คน/ตร.กม. (1,300 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
เว็บไซต์www.qarkutirane.gov.al

มณฑลติรานา (แอลเบเนีย: Qarku i Tiranës) เป็นหนึ่งใน 12 มณฑลของประเทศแอลเบเนีย มณฑลแบ่งการปกครอง ได้แก่ เขตคาเฟจา และเขตติรานา และแบ่งเมืองหลวง คือ ติรานา มีประชาชน 800,347 คน และเป็นมณฑลที่มีประชากรมากที่สุดในมณฑลของประเทศแอลเบเนีย[2]

ภูมิประเทศ[แก้]

มณฑลติรานาติดกับทะเลเอเดรียติก และมีอาณาเขตติดกับมณฑลดูร์เรสทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับมณฑลดีเบอร์ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับมณฑลเอลบาซาน และติดกับมณฑลฟิเยร์ทิศใต้[1][2]

แม่น้ำสายหลักของมณฑล คือ แม่น้ำอิเชม และแม่น้ำติรานา โดยทั้งสองไหลผ่านตัวเมืองติรานา มณฑลมีระดับความสูงเหนือน้ำทะเลเอเดรียติก 110 เมตร (360 ฟุต) และจุดสูงสุดของมณฑล คือ Mali me Gropa โดยวัดได้ที่ 1,828 เมตร (5,997.38 ฟุต) เมืองหลวงของมณฑลมีขนาดพื้นที่ใกล้เคียงกับ เนเปิลส์, มาดริด และอิสตันบูล นอกจากนี้เมืองหลวงยังมีทะเลเทียมทั้งหมด 4 ทะเล ได้แก่ ทะเลสาบเทียมติรานา, the Kodër-Kamëz Lake, Farka Lake และ Tufina Lake

หมู่บ้าน Erzen ในมณฑลติรานา

ทางตอนใต้ของเมืองติรานามีหมู่บ้าน, หุบเขา, สวนมะกอก และล้อมรอบด้วยภูเขา[3] ต่อมาทางตัวเมืองของ Petrelë ทางตอนใต้ โดยบริเวณนี้มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งมีหอคอยซึ่งก่อสร้างในศตวรรษที่ 5 ที่นำมาใช้ให้ทหารออตโตมันเดินทางเข้าไปภายในประเทศแอลเบเนีย

ทางตอนใต้ของมณฑลใกล้กับชายแดนมณฑลเอลบาซาน มีภูเขามาก และยังมีทะเลสาบที่อยู่ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลและทิศเหนือของเขตคาเฟจา พรมแดนของมณฑลยังติดกับทะเลเอเดรียติกตรงทิศตะวันตก จึงมีชาดหาดมากมาย ที่รู้จักกันดี คือ ชายหาด Plazhi i Gjeneralit

นอกจากนี้มณฑลยังมีอุทยานแห่งชาติ Dajti ตั้งอยู่ห่างจากทิศตะวันออกของติรานาไป 26 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 3,300 เฮกตาร์ อุทยานแห่งนี้นับได้ว่าเป็น "ระเบียงธรรมชาติของติรานา" โดยอุทยานนี้มีภูเขา Dajtด้วย เมื่องรวมพื้นที่กันแล้วจะมีพื้นที่ 29,216.9 เฮกตาร์[4]

ภูมิอากาศ[แก้]

เมืองหลวงของมณฑลติรานามีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าว ดังนั้นฤดูร้อนจะร้อนมาก (อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 42 องศาเซลเซียสในเดือนกรกฎาคม) แต่อาจจะมีฝนตกบ้าง นอกจากนี้ยังมีฤดูหนาว ค่อนข้างจะหนาวเย็น (อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ -10 องศาเซลเซียสในเดือนมกราคม และเดือนมีนาคม) และมีฝนตกเล็กน้อย โดยปริมาณฝนที่เยอะที่สุดอยู่ที่ 172 มิลลิลิตรในเดือนพฤศจิกายน

ข้อมูลภูมิอากาศของติรานา (เมืองหลวงของมณฑ,ติรานา)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 21
(70)
24
(75)
27
(81)
28
(82)
31
(88)
36
(97)
42
(108)
40
(104)
40
(104)
36
(97)
28
(82)
22
(72)
42
(108)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 12
(54)
13
(55)
15
(59)
20
(68)
24
(75)
28
(82)
32
(90)
32
(90)
28
(82)
23
(73)
17
(63)
13
(55)
21.4
(70.6)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 2
(36)
3
(37)
5
(41)
9
(48)
13
(55)
16
(61)
18
(64)
18
(64)
15
(59)
12
(54)
8
(46)
4
(39)
10.3
(50.5)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -10
(14)
-9
(16)
-10
(14)
-1
(30)
3
(37)
8
(46)
8
(46)
8
(46)
3
(37)
0
(32)
-6
(21)
-8
(18)
−10
(14)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 143
(5.63)
132
(5.2)
115
(4.53)
104
(4.09)
103
(4.06)
68
(2.68)
42
(1.65)
46
(1.81)
78
(3.07)
114
(4.49)
172
(6.77)
148
(5.83)
1,265
(49.8)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1 mm) 12 10 11 11 10 6 4 4 6 11 13 12 110
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 127.1 124.3 158.1 204 266.6 297 353.4 328.6 264 217 126 86.8 2,552.9
แหล่งที่มา: wetter.de [1]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

แผนที่การแบ่งเขตการปกครองของมณฑลติรานา

มณฑลติรานาแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 เขต ได้แก่ เขตคาเฟจา และเขตติรานา และแบ่งเมืองหลวง คือ ติรานา นอกจากนี้ยังแบ่งเป็น 24 เทศบาล 5 เมือง และ 233 หมู่บ้าน

เลขที่ เขต เมืองหลวง พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (คน)[5] เทศบาล เมือง หมู่บ้าน
1 เขตคาเฟจา คาเฟจา 414 82,921 8 2 66
2 เขตติรานา ติรานา 1,238 717,426 16 3 167

การปกครอง[แก้]

การปกครองของมณฑลปกครองโดยนายอำเภอชื่อว่า "Keltis Kruja" จากพรรคประชาธิปัตย์แห่งประเทศแอลเบเนีย (Democratic Party of Albania) และบริหารการปกครองโดยรวมโดยประธานาธิบดี บามีร์ ตอปี และนายกรัฐมนตรี ซาลี เบรีชา

เศรษฐกิจ[แก้]

ติรานาเป็นเมืองที่สำคัญทางเศรษฐกิจมณฑลติรานา และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญ โดยมีการพัฒนาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นที่ยอมรับในปี ค.ศ. 1920 มีรายได้หลักจากเกษตรกรรม, เครื่องจักร, สิ่งทอ, ยา และผลิตภัณฑ์โลหะ นอกจากการทำอุตสาหกรรมแล้ว ยังมีหลายธุรกิจที่สำคัญและสถาบันการศึกษารวมทั้งตลาดหลักทรัพย์ของติรานา และธนาคารติรานา ซึ่งมีการพัฒนาเจริญเติบโตต่อมาในปี ค.ศ. 1996

ต่อมาเริ่มมีการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น การรก่อสร้างตึกทีไอดีที่สูงถึง 85 เมตร จนปัจจุบันเมืองหลวงของมณฑลมีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และศูนย์การค้าคิวทียู ที่ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของติรานาบนถนนที่ไปสู่ดูร์เรส

กีฬา[แก้]

สนามกีฬา Qemal Stafa

ฟุตบอล คือกีฬาที่เป็นที่นิยมในมณฑลติรานา โดยมีสโมสรฟุตบอลหลายสโมสร เช่น สโมสรเคเฟ ติรานา, สโมสรปาฟอส ติรานา และสโมสรเคเอส ไดนาโม ติรานา เป็นต้น[6] นอกจากนี้สนามกีฬาหลักของมณฑลยังมีหลายสนาม เช่น สนามกีฬา Qemal Stafa และสนามกีฬา Selman Stërmasi

การศึกษา[แก้]

มหาวิทยาลัยและศูนย์การศึกษาที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่มัยอยู่ในติรานา เช่น มหาวิทยาลัยติรานา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ติรานา และมหาวิทยาลัยนิวยอร์กแห่งติรานา เป็นต้น และยังมีโรงเรียนมัธยมศึกษา เช่น สถาบันศิลปะติรานา และสถาบันวิทยาศาสตร์ติรานา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนในแต่ละระดับชั้นอีกหลายแห่ง[7][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "POPULLSIA SIPAS PREFEKTURAVE, 2001–2010". Albanian Institute of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2010-09-09.
  2. 2.0 2.1 "Population by prefectures,1 January 2010". Government of Albania. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2013-04-27.
  3. "Petrela Castle". Albania.shqiperia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ October 26, 2010.
  4. "RRJETI I ZONAVE TE MBROJTURA NE SHQIPERI". Albanian Ministry of Environment, Forests and Water Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-08. สืบค้นเมื่อ 2010-09-06.
  5. "POPULLSIA SIPAS RRETHEVE, 2001–2010". Albanian Institute of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2010-09-09.
  6. "KS Egnatia Rrogozhinë". Football.co.uk. สืบค้นเมื่อ November 1, 2010.[ลิงก์เสีย]
  7. "Arta Academy". Art Academy. สืบค้นเมื่อ November 1, 2010.
  8. World Encyclopedia of Library and Information Services By Robert Wedgeworth Third Edition ISBN 0-8389-0609-5 Page 41

41°15′N 19°45′E / 41.250°N 19.750°E / 41.250; 19.750