ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์
ไอน้ำที่พ่นสูงถึง 3,000 ฟุต (1 กม.) ในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ.1982 สองปีหลังจากการประทุครั้งใหญ่
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
8,363 ฟุต (2,549 เมตร)
ความสูง
ส่วนยื่นจากฐาน
4,605 ฟุต (1,404 เมตร)
พิกัด46°11′28″N 122°11′40″W / 46.1912000°N 122.1944000°W / 46.1912000; -122.1944000พิกัดภูมิศาสตร์: 46°11′28″N 122°11′40″W / 46.1912000°N 122.1944000°W / 46.1912000; -122.1944000[1]
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ตั้งอยู่ในสหรัฐ
ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์
ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์
เทือกเขาร่องแคสเคด
แผนที่ภูมิประเทศจัดทำโดยกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหิน< 40,000 ปี
ประเภทภูเขากรวยภูเขาไฟสลับชั้นที่มีพลัง (เขตมุดตัว)
แนวโค้งภูเขาไฟภูเขาไฟแคสเคด
การปะทุครั้งล่าสุดค.ศ.2004–2008
การพิชิต
พิชิตครั้งแรกค.ศ.1853 โดยโทมัส เจ. ดรายเออร์
เส้นทางง่ายสุดส่วนลาดเอียงทางทิศใต้ของภูเขาไฟ (บริเวณใกล้จุดปะทุมากที่สุด)

ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ หรือ เมานต์เซนต์เฮเลนส์ (อังกฤษ: Mount St. Helens) เป็นภูเขาไฟมีพลังประเภทกรวยสลับชั้น ตั้งอยู่ในสกามาเนียเคาน์ตี รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกาในฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของแปซิฟิก ห่างจากเมืองซีแอตเทิลไปทางใต้ 154 กิโลเมตร และห่างจากเมืองพอร์ตแลนด์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 80 กิโลเมตร ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ได้ชื่อจากนักการทูตชาวอังกฤษ ลอร์ดเซนต์เฮเลนส์ คู่หูของนักสำรวจ จอร์จ แวนคูเวอร์ ที่สำรวจพื้นที่ในบริเวณนั้นตั้งแต่ปลายคริสต์วรรษที่ 18 ภูเขาไฟลูกนี้ตั้งอยู่ในเทือกเขาคาสเคด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวภูเขาไฟคาสเคด ส่วนหนึ่งของวงแหวนแห่งไฟ ซึ่งมีภูเขาไฟมีพลังตั้งอยู่กว่า 160 ลูก ภูเขาไฟลูกนี้เป็นที่รู้จักกันดีจากการระเบิดและการพ่นเถ้าถ่านออกมา

ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์โด่งดังมากที่สุดจากการระเบิดครั้งรุนแรง ในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) เมื่อเวลา 08:32 น. ตามเวลาท้องถิ่น (เขตเวลาแปซิฟิก)[2] ซึ่งเป็นเหตุการณ์ภัยพิบัติทางภูเขาไฟที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด และก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิตในครั้งนั้น 57 ราย บ้านเรือน 250 หลัง สะพาน 47 แห่ง ทางรถไฟยาว 24 กิโลเมตร และทางหลวงยาว 298 กิโลเมตรถูกทำลาย การระเบิดทำให้เกิดแผ่นดินถล่มขนาดใหญ่ ลดความสูงของยอดเขาจาก 2,950 เมตร เหลือ 2,550 เมตร และปล่องภูเขาไฟเปลี่ยนรูปกลายเป็นรูปคล้ายเกือกม้า[3] แผ่นดินที่ถล่มลงมามีปริมาตรมากกว่า 2.9 ลูกบาศก์กิโลเมตร หลังจากนั้นได้มีการก่อตั้งอนุสาวรีย์แห่งชาติภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ ขึ้นมา เพื่อปกป้อง อนุรักษ์ภูเขาไฟ และให้เป็นที่ศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภูเขาไฟ

เมานต์เซนต์เฮเลนส์ก่อนการระเบิดเมื่อปี ค.ศ. 1980 ถ่ายจากทะเลสาบสปิริต

เช่นเดียวกันภูเขาไฟส่วนใหญ่ในเทือกเขาคาสเคด ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์มีลักษณะเป็นกรวยปะทุ ประกอบด้วยหินลาวา แบ่งชั้นด้วยเถ้า หินพัมมิซ และหินตะกอนอื่น ๆ ภูเขาประกอบด้วยชั้นของหินบะซอลต์ และหินแอนดีไซท์ ผ่านโดมลาวาที่เป็นหินเดไซท์โป่งออกมา โดยโดมหินเดไซท์ที่ใหญ่ที่สุดก่อตัวใกล้กับยอดเขา และโดมขนาดเล็กกว่าคือ โดมโกทร็อกส์ ตั้งอยู่ข้างภูเขาไฟทางตอนเหนือ ซึ่งโดมทั้งสองแห่งนี้ถูกทำลายไปจากการระเบิดเมื่อ ค.ศ. 1980

อ้างอิง[แก้]

  1. "Mount Saint Helens". Geographic Names Information System, U.S. Geological Survey.
  2. "Mount St. Helens National Volcanic Monument". USDA Forest Service. (สืบค้นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2006)
  3. "May 18, 1980 Eruption of Mount St. Helens". USDA Forest Service. สืบค้นเมื่อ 2007-08-11.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Harris, Stephen L. (1988). "Mount St. Helens: A Living Fire Mountain". Fire Mountains of the West: The Cascade and Mono Lake Volcanoes (1st ed.). Missoula, Montana: Mountain Press Publishing Company. pp. 201–228. ISBN 0-87842-220-X.
  • Mullineaux, D.R.; Crandell, D.R. (1981). The Eruptive History of Mount St. Helens, USGS Professional Paper 1250. Retrieved on October 28, 2006.
  • Mullineaux, D.R. (1996). Pre-1980 Tephra-Fall Deposits Erupted From Mount St. Helens, USGS Professional Paper 1563. Retrieved on October 28, 2006.
  • Pringle (1993). Roadside Geology of Mount St. Helens National Volcanic Monument and Vicinity, Washington State Department of Natural Resources, Division of Geology and Earth Resources Information; Circular 88.
  • USGS/Cascades Volcano Observatory, Vancouver, Washington. Description: Mount St. Helens Volcano, Washington. Retrieved on October 28, 2006.