ภาษาถิ่นตากใบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาเจ๊ะเห)
ภาษาถิ่นตากใบ
เจ๊ะเห, ตุมปัต, นาเระ
ประเทศที่มีการพูดไทย และมาเลเซีย
ชาติพันธุ์ไทตากใบ[1]
จำนวนผู้พูด60,000–70,000 คน  (2544)[2]
ตระกูลภาษา
ขร้า-ไท
รหัสภาษา
ISO 639-3

ภาษาถิ่นตากใบ บ้างเรียก ภาษาถิ่นเจ๊ะเห[3] หรือ ภาษาถิ่นนาเระ[4] เป็นภาษาไทกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้[5][6] แต่ยังไม่ปรากฏสถานะในกลุ่มภาษาย่อยไทอย่างชัดเจน[2] มีคำศัพท์และสำเนียงภาษาเป็นเอกลักษณ์ของตนเองแตกต่างไปจากภาษาไทยถิ่นใต้และภาษามลายูปัตตานี[7] เพราะออกเสียงเอื้อนยาว เนิบช้า ผิดกับภาษาไทยถิ่นใต้ที่ออกเสียงห้วนสั้น[8] เป็นที่พึงสังเกตว่ามีการใช้ราชาศัพท์สำหรับเรียกชื่อสิ่งของเครื่องใช้บางอย่าง[8] รวมทั้งมีลักษณะทางภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาผู้ไทมากที่สุด[5][9] ทั้งนี้ภาษาตากใบมีภาษาย่อย คือ ภาษาสะกอมในจังหวัดสงขลา[10]

ในประโยคคำถามของภาษาถิ่นตากใบลงท้ายด้วยคำว่า หมี หรือ หมิ แทนการลงท้ายด้วยคำว่า ไหม เช่น ช่ายหมี แปลว่า "ใช่ไหม", กินข้าวแล้วหมี แปลว่า "กินข้าวหรือยัง" และ มึงมานานแล้วหมี แปลว่า "คุณมานานแล้วหรือยัง"[11][12]

ใน พ.ศ. 2544 มีผู้ใช้นี้ภาษาราว 60,000–70,000 คน[2] กระจายตัวตั้งแต่อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ลงไปจนถึงอำเภอตากใบ และอำเภออื่น ๆ ของจังหวัดนราธิวาส[13] ทั้งยังพบผู้ใช้จำนวนหนึ่งในอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช[1][2] รวมถึงกลุ่มคนมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันตัน และรัฐตรังกานูของประเทศมาเลเซีย แต่จะเรียกว่า ภาษาตุมปัต[14] ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ใช้ภาษาถิ่นตากใบลดจำนวนลงเรื่อย ๆ[2] จึงมีการจัดรายการวิทยุด้วยภาษาถิ่นตากใบเพื่ออนุรักษ์เป็นมรดกสำคัญของท้องถิ่น และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ประกาศขึ้นทะเบียนภาษาถิ่นตากใบขึ้นเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติไทย สาขาภาษา เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556 ประเภทภาษาท้องถิ่น[11]

ประวัติ[แก้]

วัดอุตตมาราม รัฐกลันตัน ศาสนสถานของชุมชนชาวไทยที่ใช้ภาษาถิ่นนี้ในกลันตัน

มุขปาฐะของชาวตากใบรุ่นเก่าจะบอกเพียงว่าบรรพบุรุษของพวกตน อพยพมาจากทางทิศตะวันตก คือมาจากทางตอนบนของคาบสมุทร แต่มิได้ชี้ชัดว่ามาจากที่ใด[15] มุขปาฐะชั้นหลังจากหลายชุมชน มีการบอกเล่าแตกแขนงเนื้อหาต่างกันไป บางแห่งอธิบายว่า มีนายทหารสุโขทัยชื่อลัง คุมสำเภาหลวงจะไปค้าขายที่เมืองจีน แต่เรือกลับล่มที่แหลมญวน นายลังและบริวารบางส่วนขึ้นฝั่งที่ปะนาเระ อีกส่วนขึ้นฝั่งที่จันทบุรี ระยอง และตราด[4] และอีกสำนวนหนึ่งอธิบายว่า กษัตริย์อยุธยาเสด็จมายังหัวเมืองภาคใต้ แต่ช้างเผือกสำคัญกลับเตลิดหายไป พระองค์มีพระราชโองการให้ไพร่พลออกตามหาช้าง และทรงคาดโทษด้วยว่าหากตามช้างสำคัญไม่ได้จะประหารชีวิตพวกเขาทั้งหมด แต่ก็ยังหาช้างสำคัญไม่พบ ด้วยเหตุนี้เหล่าทหารจึงตั้งถิ่นฐานอยู่แถบนี้เรื่อยมาเพื่อเลี่ยงโทษประหาร[16]

มาร์วิน เจ. บราวน์ (Marvin J. Brown) นักภาษาศาสตร์ได้แสดงความเห็นว่าภาษาถิ่นตากใบนี้แยกตัวออกมาจากภาษาไทยสุโขทัยโดยตรงเมื่อราว พ.ศ. 2293[17]

ชัยเลิศ กิจประเสริฐ อ้างความเห็นของแอนโทนี ดิลเลอร์ (Anthony Van Nostrand Diller) ว่าภาษาตากใบนี้น่าจะมีความสัมพันธ์กับภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษากลุ่มลาว ไทดำ ไทขาว หรืออื่น ๆ โดยอ้างถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เล่าเรื่องเมืองปัตตานี (Hikayat Patani) กรณีสมเด็จพระมหาจักรพรรดิส่งเชลยลาวล้านช้างไปปัตตานีเมื่อ พ.ศ. 2107 ก่อนเสียกรุงแก่พม่าในปีถัดมา เชลยเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานที่บ้านปาดังเปอริต (Padang Perit) แวดล้อมด้วยสังคมชาวมลายูและไม่ได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยถิ่นใต้ ทำให้ภาษาถิ่นตากใบยังคงรักษาระบบวรรณยุกต์แบบเก่าไว้ได้[18]

ส่วนงานวิจัยของพุทธชาติ โปธิบาล และธนานันท์ ตรงดี (2541) ซึ่งศึกษาการออกเสียงพยัญชนะต้น วรรณยุกต์ การยืดเสียง และศัพท์เฉพาะของภาษาถิ่นตากใบ พบว่ามีคำศัพท์เฉพาะที่ไม่ปรากฏในภาษาไทยภาคกลางและภาษาไทยถิ่นใต้ แต่กลับปรากฏในภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาพวน ภาษาไทดำ และภาษาผู้ไท[19] โดยสรุปแล้วภาษาตากใบมีความใกล้เคียงกับภาษาผู้ไท ซึ่งอาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมากที่สุด[5][9]

ภาษาถิ่นย่อย[แก้]

จากการศึกษาของพุทธชาติ โปธิบาล และธนานันท์ ตรงดี (2542) พบว่าภาษาถิ่นตากใบสามารถจำแนกออกเป็นสองภาษาถิ่นย่อย ดังนี้[20]

  1. ภาษาตากใบถิ่นย่อยเหนือ เป็นภาษาตากใบถิ่นย่อยที่มีผู้ใช้ในอำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี อำเภอมายอ อำเภอยะหริ่ง อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี และบ้านเชิงเขา ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งออกเสียงสระ และ ด้วยเสียงสั้น
  2. ภาษาตากใบถิ่นย่อยใต้ เป็นภาษาตากใบถิ่นย่อยที่มีผู้ใช้ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส และเฉพาะที่บ้านสารวัน ตำบลตะโละไกรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ซึ่งออกเสียงสระ ไ และ ใ ด้วยเสียงยาว

นอกจากนี้ยังพบผู้ใช้ภาษาถิ่นตากใบในจังหวัดนครศรีธรรมราช[2] โดยภาษาถิ่นตากใบมีภาษาย่อยคือภาษาถิ่นสะกอม ใช้สื่อสารกันในกลุ่มชาวไทยมุสลิม อำเภอจะนะและเทพา จังหวัดสงขลา[10] และพบผู้ใช้สำเนียงคล้ายสำเนียงภาษาถิ่นตากใบที่บ้านคลองลาว ตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี[21]

วัชรีย์ เพชรรัตน์ (2555) พบว่าภาษาถิ่นตากใบมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เนือง ๆ โดยผู้พูดกลุ่มอายุ 15-30 ปี มีแนวโน้มการแปรคำศัพท์เพิ่มขึ้น ส่วนผู้พูดกลุ่มอายุ 75 ปีขึ้นไป มีการธำรงคำศัพท์เก่าได้มากที่สุด รวมทั้งภาษาถิ่นตากใบมีการรับอิทธิพลจากภาษามลายูปัตตานีอยู่เรื่อย ๆ และเป็นไปอย่างช้า[22] โดยการเปลี่ยนแปลงของคำศัพท์มักได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษามลายูปัตตานี เช่น โลกแว้น เปลี่ยนเป็น เขือพวง แปลว่า มะเขือพวง,[23] ไฟแกรบ เปลี่ยนเป็น ไฟฉาย, ฝาระมี เปลี่ยนเป็น ฝาหม้อ,[24] ช่างกริบผม เปลี่ยนเป็น ช่างตัดผม,[25] เท้าเชี้ยว เปลี่ยนเป็น เต้าเจี้ยว, ปลาเจี้ยน เปลี่ยนเป็น ปลาทอด, น้ำอัดแก๊ด เปลี่ยนเป็น น้ำอัดลม, ตาแป เปลี่ยนเป็น ข้าวหมาก,[26] ยี่ได๋ เปลี่ยนเป็น ไซ่ แปลว่า ทำไม และ นัด เปลี่ยนเป็น หล้าด แปลว่า ตลาด[27]

ประชากร[แก้]

พุทธศาสนิกชนที่วัดเทพนิมิตร อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

กลุ่มประชากรที่ใช้ภาษาตากใบ เรียกว่า ไทตากใบ[1] เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มหนึ่ง นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท อาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันออกของจังหวัดปัตตานี ได้แก่ อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี อำเภอมายอ อำเภอยะหริ่ง อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอไม้แก่น สามารถพบได้ที่จังหวัดนราธิวาสทุกอำเภอ ตั้งถิ่นฐานเรียงรายเรื่อยไปจนถึงรัฐกลันตัน และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย[28] บางส่วนโยกย้ายไปอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช[1] พวกเขาตั้งชุมชนอยู่ในวงล้อมของชาวมลายูมุสลิมไม่ต่ำกว่า 150 ปี[29] บ้างก็อ้างว่าอาศัยมาไม่ต่ำกว่า 600 ปี[30] มีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ยึดอาชีพทำนาและค้าของป่าเป็นหลัก[29] บางชุมชนก็อยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางประชาคมมลายูมุสลิม[31][32][33] นอกจากมีภาษาเป็นของตนเองแล้ว พวกเขายังมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง และหลายอย่างคล้ายกับคนไทยในภูมิภาคอื่น[34] พวกเขาให้ความเคารพพระศาสนาเป็นอันมาก ไม่ว่าจะพักผ่อนหรือนอนต้องหันศีรษะไปทางวัด[35] มักแสดงความเคารพพระภิกษุและสามเณรอย่างสูง เรียกชายที่ผ่านการบวชพระมาแล้วว่า เจ้า ไม่เรียก ทิด นับถือรูปหงส์แกะสลักอย่างชาวมอญ ผู้ชายสูงอายุนิยมโพกศีรษะด้วยผ้าขาวม้าเหมือนคนทางเหนือ และผู้หญิงสูงวัยมักเกล้ามวยผม เรียกว่า เกล้ามวยดากแตแหร และห่มสไบ[8] มีประเพณีสำคัญอีกอย่าง คือประเพณีลาซัง[13] และพิธีสระหัวบะดัน สำหรับทารกแรกเกิด[34] มีรูปแบบการก่อสร้างศาสนสถานอิทธิพลมลายู ก่อนได้รับอิทธิพลอย่างไทยประเพณีในชั้นหลัง[36] พวกเขาไม่นิยมสร้างศาลาการเปรียญอย่างคนไทยภาคกลาง แต่ให้ความสำคัญกับ "แม่แต๊ะ" หรือ "แม่วัด" แปลว่า กุฏิเจ้าอาวาส ซึ่งมีขนาดใหญ่ เป็นพื้นที่เอนกประสงค์หลายประการไม่ต่างจากศาลาการเปรียญ ซึ่งแม่วัดนี้เป็นแนวคิดเดียวกันกับการสร้างบ้านพักโต๊ะอิหม่าม ที่มีการสร้างอาคารบาราปอเนาะเชื่อมกับตัวบ้าน ใช้สำหรับสอนศาสนา อันเป็นอิทธิพลจากเรือนมลายู[37]

ศาลาจีนในวัดโพธิวิหาร รัฐกลันตัน

ปัจจุบันชาวไทยกลุ่มนี้มีการสมรสข้ามชาติพันธุ์กับชาวมลายูมุสลิม[32][38] และชาวจีนในพื้นที่[39] และจากสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับชุมชนไทยพุทธกลุ่มนี้อย่างกว้างขวาง เพราะชาวไทยพุทธไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสะดวก ใช้ชีวิตด้วยความเครียดกังวลสูงเพราะเกรงจะถูกลอบทำร้าย ประชากรจำนวนไม่น้อยขายที่ดินเพื่อนำเงินไปตั้งถิ่นฐานที่อื่น ทำให้ประชากรที่ใช้ภาษานี้ลดจำนวนลงเรื่อย ๆ[2] ขณะที่พระสงฆ์และสามเณรลดจำนวนลงเรื่อย ๆ ทำให้วัดร้างลง เมื่อขาดพุทธบริษัท ศาสนาพุทธกำลังตกอยู่ในสภาวะเสื่อมสลายจากพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้[40] ขณะที่ชาวมาเลเซียเชื้อสายสยามอาศัยกระจายอยู่ทั้งเจ็ดอำเภอของรัฐกลันตัน และหนึ่งอำเภอในรัฐตรังกานู[41][42] มีสภาวะที่ต่างกันออกไปจากกลุ่มที่อาศัยในฝั่งไทย กล่าวคือพวกเขายังธำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ทั้งภาษา ประเพณี และศาสนาไว้อย่างครบถ้วน มีการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมสู่ลูกหลานอย่างเป็นระบบ[43] พวกเขาอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มไม่ปะปนกับชาวมลายู หลายคนพูดและเขียนอักษรไทยได้ดี[44] วัดไทยหลาย ๆ แห่งมักมีสถาปัตยกรรมจีนปรากฏให้เห็น หลังการผสานทางวัฒนธรรมในชั้นหลัง[45]

นอกจากกลุ่มชาวไทยพุทธแล้ว ในกลุ่มภาษานี้ยังมีประชากรที่ใช้ภาษาถิ่นสะกอม ซึ่งเป็นสำเนียงย่อยของภาษาถิ่นตากใบ เป็นชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ในตำบลสะกอม อำเภอจะนะ และตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ดาริกา ธนะศักดิ์ศิริ (2555). รักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ (PDF). ปทุมธานี: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก. p. 12.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 ภีมระพัฒต์ รองสวัสดิ์. "ตากใบ (เจ๊ะเห)". คลังข้อมูลดิจิทัลของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. สืบสานภาษาไทยถิ่นใต้ : ภาษาถิ่นเจ๊ะเห (PDF). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส. p. 1.
  4. 4.0 4.1 "ภาษานาเระ". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 พุทธชาติ โปธิบาล และธนานันท์ ตรงดี (2541). "สถานะของภาษาตากใบในภาษาไทถิ่น (โครงการระยะที่2)". ฐานข้อมูลวิจัยจังหวัดชายแดนใต้. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-21. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ภัสร์ธีรา ฉลองเดช (2559). สถานการณ์และทัศนคติการใช้ภาษาตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (PDF). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 20.
  7. ตามใจ อวิรุทธิโยธิน (2559). "ภาพรวมการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้". วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ (13:1), หน้า 9
  8. 8.0 8.1 8.2 สืบสานภาษาไทยถิ่นใต้ : ภาษาถิ่นเจ๊ะเห (PDF). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส. p. 9.
  9. 9.0 9.1 ภัสร์ธีรา ฉลองเดช (2559). สถานการณ์และทัศนคติการใช้ภาษาตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (PDF). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 20.
  10. 10.0 10.1 10.2 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (2559). ภาษา : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. p. 55.[ลิงก์เสีย]
  11. 11.0 11.1 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (2559). ภาษา : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. p. 39.[ลิงก์เสีย]
  12. ครื่น มณีโชติ. "ภาษาตากใบ (เจ๊ะเห)". วารสารวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-21. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. 13.0 13.1 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (2559). ภาษา : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. p. 38.[ลิงก์เสีย]
  14. ภัสร์ธีรา ฉลองเดช (2559). สถานการณ์และทัศนคติการใช้ภาษาตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (PDF). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 1.
  15. สืบสานภาษาไทยถิ่นใต้ : ภาษาถิ่นเจ๊ะเห (PDF). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส. p. 7.
  16. สืบสานภาษาไทยถิ่นใต้ : ภาษาถิ่นเจ๊ะเห (PDF). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส. p. 8.
  17. ภัสร์ธีรา ฉลองเดช (2559). สถานการณ์และทัศนคติการใช้ภาษาตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (PDF). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 15-16.
  18. ภัสร์ธีรา ฉลองเดช (2559). สถานการณ์และทัศนคติการใช้ภาษาตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (PDF). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 17.
  19. ทวีพร จุลวรรณ (2554). ระบบเสียงภาษาพิเทน ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 14.
  20. พุทธชาติ โปธิบาล และธนานันท์ ตรงดี (2542). "แนวแบ่งเขตภาษาถิ่นย่อยของภาษาไทยถิ่นตากใบ : ภูมิศาสตร์ภาษาถิ่นของเสียงสระที่ใช้รูปเขียน ใ- ไ-". ฐานข้อมูลวิจัยจังหวัดชายแดนใต้. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-21. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. สืบสานภาษาไทยถิ่นใต้ : ภาษาถิ่นเจ๊ะเห (PDF). p. 7.
  22. วัชรีย์ เพชรรัตน์ (2555). แนวโน้มการใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นตามปัจจัยทางสังคมของชาวไทยพุทธในตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี (PDF). มหาวิทยาลัยทักษิณ. p. 154.[ลิงก์เสีย]
  23. วัชรีย์ เพชรรัตน์ (2555). แนวโน้มการใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นตามปัจจัยทางสังคมของชาวไทยพุทธในตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี (PDF). มหาวิทยาลัยทักษิณ. p. 61. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-22. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
  24. วัชรีย์ เพชรรัตน์ (2555). แนวโน้มการใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นตามปัจจัยทางสังคมของชาวไทยพุทธในตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี (PDF). มหาวิทยาลัยทักษิณ. p. 58. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-22. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
  25. วัชรีย์ เพชรรัตน์ (2555). แนวโน้มการใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นตามปัจจัยทางสังคมของชาวไทยพุทธในตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี (PDF). มหาวิทยาลัยทักษิณ. p. 57. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-22. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
  26. วัชรีย์ เพชรรัตน์ (2555). แนวโน้มการใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นตามปัจจัยทางสังคมของชาวไทยพุทธในตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี (PDF). มหาวิทยาลัยทักษิณ. p. 50. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-22. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
  27. วัชรีย์ เพชรรัตน์ (2555). แนวโน้มการใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นตามปัจจัยทางสังคมของชาวไทยพุทธในตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี (PDF). มหาวิทยาลัยทักษิณ. p. 149. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-22. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
  28. บรรลือ ขอรวมเดช และนิลุบล ขอรวมเดช (7 สิงหาคม 2565). "สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ร่วมทำบุญครั้งนี้เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในโอกาสการสวรรคตครบ ๗ วัน". กระทรวงการต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. 29.0 29.1 ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ. มันยากที่จะเป็นมลายู. กรุงเทพฯ : มติชน, 2559, หน้า 95
  30. Pattaraporn (มกราคม–มิถุนายน 2562). อิทธิพลทางพระพุทธศาสนากับการปรับตัวด้านประเพณี วัฒนธรรมต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ของชุมชนไทยพุทธในเขตอำเภอเมืองปัตตานี (PDF). สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา. p. 32. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-09-25. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
  31. ""กะพ้อ" อำเภอนี้ไม่มีวัด". คมชัดลึก. 1 พฤศจิกายน 2553. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. 32.0 32.1 สมอุษา บัวพันธ์ (4 เมษายน 2557). "ไทยพุทธที่ชายแดนภาคใต้ (ตอน1) : การตื่นตัวที่สายเกิน?". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. "โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้: ย้อนอดีตบ้านโต๊ะชูด ย้อนรอยโมเดลทุ่งยางแดง". ประชาไท. 1 เมษายน 2558. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. 34.0 34.1 อารีย์ ธรรมโคร่ง และอ้อมใจ วงษ์มณฑา (มกราคม–มิถุนายน 2562). พิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับการเกิดและการตายของชาวบ้านไทยพุทธในอำเภอสายบุรีและอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม (8:1). p. 121.
  35. Pattaraporn (มกราคม–มิถุนายน 2562). อิทธิพลทางพระพุทธศาสนากับการปรับตัวด้านประเพณี วัฒนธรรมต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ของชุมชนไทยพุทธในเขตอำเภอเมืองปัตตานี (PDF). สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา. p. 31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-09-25. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
  36. บรรลือ ขอรวมเดช (พฤษภาคม–สิงหาคม 2556). อุโบสถของวัดไทยในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ในสมัยรัตนโกสินทร์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal (6:2). หน้า 777
  37. บรรลือ ขอรวมเดช และนิลุบล ขอรวมเดช. ""แม่วัด" ภาพสะท้อนวิถีไทยในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย". คลังข้อมูลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ. มันยากที่จะเป็นมลายู. กรุงเทพฯ : มติชน, 2559, หน้า 105-108
  39. Pattaraporn (มกราคม–มิถุนายน 2562). อิทธิพลทางพระพุทธศาสนากับการปรับตัวด้านประเพณี วัฒนธรรมต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ของชุมชนไทยพุทธในเขตอำเภอเมืองปัตตานี (PDF). สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา. p. 35. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-09-25. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
  40. ปัญญา เทพสิงห์ และเก็ตถวา บุญปราการ (มกราคม–เมษายน 2560). มูลเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพวัดไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี พ.ศ. 2547-2560. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ (33:1), หน้า 93-97
  41. "Population Distribution and Basic Demographic Characteristics, 2010" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 May 2014. สืบค้นเมื่อ 19 April 2012.
  42. "Masyarakat Siam Besut sambut Loy Krathong". Utusan Online.
  43. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (7 พฤษภาคม 2561). "มาเลเซียเชื้อสายไทยในตุมปัต". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-12. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  44. บริบทของคนไทยในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย (PDF). คลังปัญญามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. p. 15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-09-25. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
  45. บริบทของคนไทยในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย (PDF). คลังปัญญามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. p. 18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-09-25. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.