ภาษาอาหรับปาเลสไตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาอาหรับปาเลสไตน์
ประเทศที่มีการพูดปาเลสไตน์, อิสราเอล
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรอาหรับ
รหัสภาษา
ISO 639-3ajp

ภาษาอาหรับปาเลสไตน์ (Palestinian Arabic) เป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาอาหรับเลอวานต์ พูดโดยชาวปาเลสไตน์ โดยสำเนียงของชาวปาเลสไตน์ในชนบทมีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะการออกเสียง qaf เป็น kaf ซึ่งแตกต่างจากภาษาอาหรับสำเนียงอื่นๆ แต่สำเนียงของชาวปาเลสไตน์ใกล้เคียงกับภาษาอาหรับเลอวานต์ทางเหนือ เช่นภาษาอาหรับซีเรียและภาษาอาหรับเลบานอน

ความแตกต่างจากภาษาอาหรับสำเนียงอื่นๆ[แก้]

มีความแตกต่างระหว่างสำเนียงปาเลสไตน์กับสำเนียงของภาษาอาหรับเลอวานต์อื่นๆ ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของสำเนียงปาเลสไตน์คือออกเสียงคำกริยาที่มีฮัมซะหฺด้วย 'o' ในรูป imperfect ตัวอย่างเช่นรูป imperfect ของ اكل akala 'กิน' คือ آكل 'ākulu: ส่วนในสำเนียงปาเลสไตน์เป็น بوكل bokel. ในกาลิลี ประโยคที่ว่า "ฉันกำลังกิน" หรือ "ฉันกิน" คือ ana bokel, มากกว่า ana bakul ที่ใช้ในสำเนียงซีเรีย ana bakul ใช้โดยชาวเบดูอินทางใต้ ภาษาอาหรับปาเลสไตน์มีลักษณะบางอย่างของภาษาอาหรับอียิปต์ที่ทำให้แตกต่างจากภาษาอาหรับเลอวานต์คือ

  • ในด้านคำศัพท์: เช่น 'คล้าย' เป็น زي zayy ในปาเลสไตน์และอียิปต์, مثل mitl ในซีเรียและเลบานอน ในบางบริเวณของปาเลสไตน์ใช้ "mitl"
  • ทางด้านไวยากรณ์: สำเนียงปาเลสไตน์ (ยกเว้นสำเนียงของชาวเบดูอิน), เป็นเช่นเดียวกับอียิปต์คือใช้ปัจจัย (ش -sh, IPA: /ʃ/) เพื่อสร้างรูปปฏิเสธของกริยา และสรรพนามบุพบทกริยาเทียม

สำเนียงย่อยของภาษาอาหรับปาเลสไตน์[แก้]

ภาษาอาหรับปาเลสไตน์แบ่งเป็นสามกลุ่มคือ สำเนียงในเมือง สำเนียงชนบทและสำเนียงเบดูอิน สำเนียงในเมืองเป็นสำเนียงที่ใกล้เคียงกับภาษาอาหรับเลอวานต์ทางเหนือมากที่สุด ส่วนสำเนียงเบดูอินใกล้เคียงกับสำเนียงทางคาบสมุทรอาหรับ ความแตกต่างที่สำคัญได้แก่

  • การออกเสียง qāf เป็นเสียง /อ/ ในเมืองส่วนใหญ่ เป็นเสียง K ในเขตชนบท และ /g/ ในทางตอนใต้ที่อยู่ห่างไกล และในหมู่ชาวเบดูอิน บางหมู่บ้านในดาลิลี ยกเว้นชาวดรูซ ที่ออกเสียง qāf ได้เช่นเดียวกับในภาษาอาหรับคลาสสิก
  • ในสำเนียงที่ qāf ออกเสียงเป็น k kāf จะออกเสียงเป็น /tʃ/ เช่นเดียวกับบางสำเนียงของอ่าวเปอร์เซีย การออกเสียง kāf แบบนี้พบทางตอนเหนือของเวสต์แบงก์ และชุมชนชาวปาเลสไตน์ในอิสราเอลในบริเวณใกล้เคียง
  • ใช้ปัจจัย -a สำหรับเพศหญิงแทนที่ -i หรือ -é
  • คำว่า “ที่นี่” ในแต่ละสำเนียงไม่เหมือนกัน สำเนียงในเมืองใช้ "hōn" ชาวเบดูอินเนเกฟใช้ "hiniyye" หรือ "hiniyante".
  • ในสำเนียงของชาวเนเกฟ ไม่ใช้ -sh เป็นรูปปฏิเสธแต่ใช้ "mā" ในการปฏิเสธ

อิทธิพลจากภาษาอื่น[แก้]

ภาษาอาหรับปาเลสไตน์ได้รับอิทธิพลจากภาษาอราเมอิกซึ่งเคยใช้พูดในบริเวณเลอวานต์มาก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ภาษาอาหรับ ชาวอาหรับที่เป็นพลเมืองของอิสราเอลมีแนวโน้มที่จะยืมคำศัพท์จากภาษาฮีบรูสมัยใหม่ โดยคำยืมบางคำถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปคำของภาษาอาหรับ เช่น

ดูเพิ่ม[แก้]

  • P. Behnstedt, Wolfdietrich Fischer and Otto Jastrow, Handbuch der Arabischen Dialekte. 2nd ed. Wiesbaden: Harrassowitz 1980 (ISBN 3-447-02039-3)
  • Haim Blanc, Studies in North Palestinian Arabic: linguistic inquiries among the Druzes of Western Galilee and Mt. Carmel. Oriental notes and studies, no. 4. Jerusalem: Typ. Central Press 1953.
  • J. Blau, "Syntax des palästinensischen Bauerndialektes von Bir-Zet: auf Grund der Volkserzahlungen aus Palastina von Hans Schmidt und Paul kahle". Walldorf-Hessen: Verlag fur Orientkunde H. Vorndran 1960.
  • J. Cantineau, "Remarques sur les parlés de sédentaires syro-libano-palestiniens", in: Bulletin de la Société de Linguistique de Paris 40 (1938), pp. 80–89.
  • R. L. Cleveland, "Notes on an Arabic Dialect of Southern Palestine", in: Bulletin of the American Society of Oriental Research 185 (1967), pp. 43–57.
  • Olivier Durand, Grammatica di arabo palestinese: il dialetto di Gerusalemme, Rome: Università di Roma La Sapienza 1996.
  • Yohanan Elihai, Dictionnaire de l’arabe parle palestinien: francais-arabe. Jerusalem: Typ. Yanetz 1973.
  • Yohanan Elihai, The olive tree dictionary: a transliterated dictionary of conversational Eastern Arabic (Palestinian) . Washington, DC: Kidron Pub. 2004 (ISBN 0-9759726-0-X)
  • Elias N. Haddad, "Manual of Palestinian Arabic". Jerusalem: Syrisches Weisenhaus 1909.
  • Moin Halloun, A Practical Dictionary of the Standard Dialect Spoken in Palestine. Bethlehem University 2000.
  • Moin Halloun, Spoken Arabic for Foreigners. An Introduction to the Palestinian Dialect. Vol. 1 & 2. Jerusalem 2003.
  • Arye Levin, A Grammar of the Arabic Dialect of Jerusalem [(ฮีบรู)]. Jerusalem: Magnes Press 1994 (ISBN 965-223-878-3)
  • M. Piamenta, Studies in the Syntax of Palestinian Arabic. Jerusalem 1966.
  • Frank A. Rice and Majed F. Sa'ed, Eastern Arabic: an introduction to the spoken Arabic of Palestine, Syria and Lebanon. Beirut: Khayat's 1960.
  • Frank A. Rice, Eastern Arabic-English, English-Eastern Arabic: dictionary and phrasebook for the spoken Arabic of Jordan, Lebanon, Palestine/Israel and Syria. New York: Hippocrene Books 1998 (ISBN 0-7818-0685-2)
  • H. Schmidt & P. E. Kahle, "Volkserzählungen aus Palaestina, gesammelt bei den Bauern von Bir-Zet". Göttingen: Vandenhoeck & Ruprecht 1918.
  • Kimary N. Shahin, Palestinian Rural Arabic (Abu Shusha dialect) . 2nd ed. University of British Columbia. LINCOM Europa, 2000 (ISBN 3-89586-960-0)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]