ภาษาสัญลักษณ์ปีนัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาสัญลักษณ์ปีนัง
ประเทศที่มีการพูดมาเลเซีย
จำนวนผู้พูด1,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ภาษาโดดเดี่ยว
  • ภาษาสัญลักษณ์ปีนัง
รหัสภาษา
ISO 639-3psg

ภาษาสัญลักษณ์ปีนัง (Penang Sign Language) มีผู้ใช้ทั้งหมด 1,000 คน กำลังลดจำนวนลง เป็นภาษาสัญลักษณ์สำหรับคนหูหนวก เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2497 เป็นภาษาสัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นนอกห้องเรียน การใช้งานเริ่มลดลงตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เนื่องจากการแพร่หลายของภาษาสัญลักษณ์แบบอื่น แต่ก็ยังมีผู้ใช้กันอยู่ เข้าใจกันได้กับภาษาสัญลักษณ์มาเลเซีย

ภาษาสัญลักษณ์ปีนังเริ่มใช้เมื่อจัดตั้งโรงเรียนคนหูหนวกแห่งแรกในมลายาเมื่อ พ.ศ. 2497 นักเรียนหูหนวกมาเรียนเพื่อเรียนการออกเสียง แต่นักเรียนก็ได้กำหนดสัญลักษณ์เพื่อสื่อสารกัน ต่อมา ตัน เยป ได้เสนอที่จะกำหนดภาษาสัญลักษณ์ แต่ถูกรัฐบาลปฏิเสธ ต่อมา ใน พ.ศ. 2519 ฟรานเซส ปาร์สันได้เดินทางมายังกัวลาลัมเปอร์และได้พบกับ มหาธีร์ โมฮัมหมัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ต่อมา มหาธีร์ โมฮัมหมัดได้สนับสนุนให้จัดทำภาษาสัญลักษณ์มาเลเซียตามแบบภาษาสัญลักษณ์สหรัฐอเมริกา

อ้างอิง[แก้]

  • Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]