ภาษาลุนบาวัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาลุน บาวัง)
ภาษาลุนบาวัง
ภาษาลุนดาเยะฮ์, ภาษามูรุตใต้
ชุดคำศัพท์ในภาษาอังกฤษกับคำแปลในภาษาอีดาอัน, บีซายา และอาดังมูรุต (ลุนบาวัง) ใน ค.ศ. 1860 โดยสเปนเซอร์ เซนต์ จอห์น
ประเทศที่มีการพูดมาเลเซีย, บรูไน, อินโดนีเซีย
ภูมิภาครัฐซาราวัก, รัฐซาบะฮ์, เขตเติมบูรง, จังหวัดกาลีมันตันเหนือ
จำนวนผู้พูดไม่ทราบ (48,000 คน (ค.ศ. 2007 ในอินโดนีเซีย; ไม่มีข้อมูลวันที่ในมาเลเซีย) บวกในปูโตะฮ์ 6,000 คน อ้างถึง1981)[1]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
ลุนดาเยะฮ์
รหัสภาษา
ISO 639-3lndรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
put – Putoh
  พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของผู้พูดภาษาลุนบาวัง/ลุนดาเยะฮ์
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ลุนบาวัง (อักษรโรมัน: Lun Bawang) หรือ ลุนดาเยะฮ์ (Lundayeh) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวลุนบาวัง อยู่ในกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย ส่วน "ปูโตะฮ์" (Putoh) เป็นอีกชื่อหนึ่งของภาษานี้ในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก[2]

ประวัติ[แก้]

ภาษาลุนบาวังยังคงเป็นภาษาพูดเป็นหลัก โดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ในภาษานี้ที่ไม่ได้เขียนโดยมิชชันนารีหรือนักภาษาศาสตร์น้อยมาก สิ่งตีพิมพ์ที่เขียนขึ้นเป็นภาษาลุนบาวังทั้งหมดฉบับแรกคือคัมภีร์ไบเบิลใน ค.ศ. 1982 ซึ่งมีชื่อว่า บาลาลุกโด (Bala Luk Do)[3] มหาวิทยาลัยวอชิงตันได้รวบรวมศัพทานุกรมลุนบาวัง–อังกฤษใน ค.ศ. 1969[4] เกอมาโละฮ์ลุนดาเยะฮ์ (Kemaloh Lundayeh) ซึ่งเป็นภาษาย่อยหนึ่งของภาษาลุนบาวังได้รับการรวบรวมในพจนานุกรมลุนดาเยะฮ์และอังกฤษใน ค.ศ. 2006[5]

สัทวิทยา[แก้]

ภาษาลุนบาวังมีหน่วยเสียงพยัญชนะ 19 หน่วยเสียง, หน่วยเสียงสระ 6 หน่วยเสียง และหน่วยเสียงสระประสม 5 หน่วยเสียง[6]

หน่วยเสียงพยัญชนะลุนบาวัง
ริมฝีปาก ฟัน ปุ่มเหงือก หลังปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
นาสิก m /m/ n /n/ ng /ŋ/
หยุด p /p/ b /b/ bp /b͡p/ t /t̪/ d /d/ k /k/ g /ɡ/ gk /ɡ͡k/ /ʔ/
กักเสียดแทรก c /d͡tʃ/[7]
เสียดแทรก s /s/ h /h/
เปิด l /l/ r /r/ y /j/ w /w/

รายงานจากรอเบิร์ต บลัสต์ (2006) ภาษาย่อยลุนดาเยะฮ์มีชุดเสียงหยุด ก้อง ผสม [b͡p, d͡tʃ, ɡ͡k] คล้ายกับในภาษาเกอลาบิต แต่ไม่มีเสียง [tʃ] ธรรมดา

หน่วยเสียงสระลุนบาวัง
ระดับลิ้น หน้า กลาง หลัง
ปิด i /i/ u /u/
กลาง e /e, ɛ/ e /ə/ o /o, ɔ/
เปิด a /a/
หน่วยเสียงสระประสมลุนบาวัง
อักขรวิธี สัทอักษรสากล
ai /ai̯/
au /au̯/
ia /i̯a/
ou /ou̯/
ui, oi /ɔʏ̯/

ตัวอย่าง[แก้]

คำอธิษฐานขององค์พระผู้เป็นเจ้า[แก้]

O Taman kai luk bang surga, dó ngadan-Mu uen ngerayeh. Idi imet-Mu uen ngaching, idi luk pian-Mu mangun bang taná kudeng bang surga. Maré nekai acho sini akan luk petap. Idi maré dó ratnan amung-amung baleh kai mepad kudeng kai pangeh nemaré ddó ratnan amung-amung baleh dulun. Idi aleg nguit nekai amé bang luk nutun, iamdó muit nekai ratnan luk dat. Amen. Ngacheku Iko luk kuan imet idi lalud idi rayeh maching ruked-ruked peh. Amen.[8]

แปล:

ข้าแต่พระบิดาแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้ทรงสถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคารพสักการะ ขอให้แผ่นดินของพระองค์มาตั้งอยู่ ขอให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์ ในสวรรค์เป็นอย่างไรก็ให้เป็นไปอย่างนั้นในแผ่นดินโลก ขอทรงโปรดประทานอาหารประจำวัน แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายในกาลวันนี้ และขอทรงโปรด ยกบาปผิดของข้าพระองค์ เหมือนข้าพระองค์ยกโทษผู้ที่ทำผิดต่อข้าพระองค์นั้น และขออย่านำข้าพระองค์เข้าไปในการทดลอง แต่ขอให้พ้นจากซึ่งชั่วร้าย เหตุว่าราชอำนาจ และฤทธิ์เดช และพระสิริเป็นของพระองค์สืบ ๆ ไปเป็นนิตย์ อาเมน (มัทธิว 6:9–13)

อ้างอิง[แก้]

  1. ภาษาลุนบาวัง ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    Putoh ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. Lobel, Jason William (2013). "Southwest Sabah Revisited" (PDF). Oceanic Linguistics. 52 (1): 36–68. doi:10.1353/ol.2013.0013. JSTOR 43286760. S2CID 142990330. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-02-26.
  3. Martin, Peter (2008). "Educational Discourses and Literacy in Brunei Darussalam" (PDF). The International Journal of Bilingual Education and Bilingualism. 11 (2): 207. doi:10.2167/beb494.0. S2CID 144405091. สืบค้นเมื่อ 2010-09-25.{{cite journal}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. Deegan, James L. (1971). "Report on Anthropological Field Work Among the Lun Bawang (Murut) People of Sarawak" (PDF). Borneo Research Bulletin (ภาษาอังกฤษ). 3 (1): 14. สืบค้นเมื่อ 2010-09-25.
  5. Ganang, Ricky; Crain, Jay; Pearson-Rounds, Vicki (2006), Kemaloh Lundayeh – English Dictionary (PDF) (Draft) (ภาษาอังกฤษ), Sacramento, USA: CSU Sacramento, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-12-29, สืบค้นเมื่อ 2010-09-25
  6. "Distribusi Fonem Bahasa Lun Bawang: Satu Kajian Preliminari". brunet.bn (ภาษามาเลย์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-27.
  7. Blust, Robert (2006). "The Origin of the Kelabit Voiced Aspirates: A Historical Hypothesis Revisited". Oceanic Linguistics. 45 (2): 311–338. doi:10.1353/ol.2007.0001. JSTOR 4499967. S2CID 145261116.
  8. The Bible Society of Malaysia, บ.ก. (2018). "BSM Lun Bawang – Lun Dayah". The Bible Society of Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-10-31.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Blust, Robert (2016). "Kelabit-Lun Dayeh Phonology, with Special Reference to the Voiced Aspirates". Oceanic Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 55 (1): 246–277. doi:10.1353/ol.2016.0010. S2CID 148388653.
  • Clayre, Beatrice (1972). "A preliminary comparative study of the Lun Bawang (Murut) and Sa’ban languages of Sarawak". Sarawak Museum Journal 20: 40-41, 45-47.
  • Clayre, Beatrice (2014). "A preliminary typology of the languages of Middle Borneo." In Advances in research on cultural and linguistic practices in Borneo, edited by Peter Sercombe, Michael Boutin and Adrian Clynes, 123–151. Phillips, Maine USA: Borneo Research Council.
  • Coluzzi, Paolo (2010). "Endangered Languages in Borneo: A Survey Among the Iban and Murut (lun Bawang) in Temburong, Brunei". Oceanic Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 49 (1): 119–143. doi:10.1353/ol.0.0063. S2CID 144349072.
  • Crain, JB (1982). "A Lun Dayeh Engagement Negotiation in Studies of Ethnic Minority Peoples." Contributions to Southeast Asian Ethnography Singapour (1):142-178.
  • Deegan, James (1970). "Some Lun Bawang Spirit Chants." The Sarawak Museum Journal 18 (36–37):264–280.
  • Deegan, James, and Robin Usad (1972). "Upai Kasan: A Lun Bawang Folktale". Sarawak Museum Journal 20:107–144.
  • Ganang, Ricky, Jay Bouton Crain, and Vicki Pearson-Rounds (2008). Kemaloh Lundayeh-English Dictionary: And, Bibliographic List of Materials Relating to the Lundayeh-Lun Bawang-Kelabit and Related Groups of Sarawak, Sabah, Brunei and East Kalimantan. Vol. 1: Borneo Research Council.
  • Garman, M. A., Griffiths, P. D., & Wales, R. J. (1970). Murut (Lun Buwang) prepositions and noun particles in children's speech. Sarawak Museum Journal, 18, 353–376.
  • Lees, Shirley. 1959. "Lun Daye Phonemics". Sarawak Museum Journal 9/13-14: 56–62
  • Martin, Peter W. (1995). "Whiter the Indigenous Languages of Brunei Darussalam?". Oceanic Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 34 (1): 27–43. doi:10.2307/3623110. JSTOR 3623110.
  • Omar, A. H. (1983). The Malay peoples of Malaysia and their languages. Dewan Bahasa dan Pustaka, Kementerian Pelajaran Malaysia.
  • Southwell, C. Hudson (1949). ‘The Structure of the Murut Language’. Sarawak Museum Journal 5: 104–115.