ภาษามลายูบรูไน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามลายูบรูไน
เกอดายัน
بهاس ملايو بروني
ประเทศที่มีการพูดบรูไน, มาเลเซีย
ชาติพันธุ์บรูไนเชื้อสายมลายู, เกอดายัน
จำนวนผู้พูดไม่ทราบ (270,000 อ้างถึง1984–2013)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอาหรับ (อักษรยาวี), อักษรละติน
รหัสภาษา
ISO 639-3kxd
  พื้นที่ที่มีการใช้ภาษามลายูบรูไน

ภาษามลายูบรูไน (มลายู: Bahasa Melayu Brunei, بهاس ملايو بروني) เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดกันในประเทศบรูไนและเป็นภาษากลางในมาเลเซียตะวันออกบางพื้นที่ เช่น ลาบวน, ลิมบัง, ลาวัซ, ซีปีตัง และปาปาร์[2][3] ถึงแม้ว่าจะมีการสนับสนุนภาษามลายูมาตรฐานเป็นภาษาทางการของบรูไน ภาษามลายูบรูไนยังคงความโดดเด่นทางสังคมและกำลังแทนที่ภาษาชนกลุ่มน้อยในประเทศบรูไน[4] เช่นภาษาดูซุนและตูตง[5]

ภาษามลายูบรูไนจัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาเลย์อิก เช่นเดียวกับภาษามาเลเซียและภาษาอินโดนีเซีย แต่เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากภาษาเกอดายันซึ่งเป็นภาษาของชนพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งในบรูไน จึงมีคำศัพท์หลายคำที่แตกต่างไปจากภาษามลายูมาตรฐาน

อ้างอิง[แก้]

  1. ภาษามลายูบรูไน ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. Clynes, A. (2014). Brunei Malay: An Overview. In P. Sercombe, M. Boutin, & A. Clynes (Eds.), Advances in Research on Linguistic and Cultural Practices in Borneo (pp. 153–200). Phillips, ME: Borneo Research Council. Pre-publication draft available at http://fass.ubd.edu.bn/staff/docs/AC/Clynes-Brunei-Malay.pdf
  3. Deterding, David & Athirah, Ishamina. (2017). Brunei Malay. Journal of the International Phonetic Association, 47(1), 99–108. doi:10.1017/S0025100316000189
  4. McLellan, J., Noor Azam Haji-Othman, & Deterding, D. (2016). The language situation in Brunei Darussalam. In Noor Azam Haji-Othman, J. McLellan, & D. Deterding (Eds.), The use and status of language in Brunei Darussalam: A kingdom of unexpected linguistic diversity (pp. 9–16). Singapore: Springer.
  5. Noor Azam Haji-Othman & Siti Ajeerah Najib (2016). The state of indigenous languages in Brunei. In Noor Azam Haji-Othman, J. McLellan, & D. Deterding (Eds.), The use and status of language in Brunei Darussalam: A kingdom of unexpected linguistic diversity (pp. 17–28). Singapore: Springer.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]