ภาษาตงเซียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาต้งเซี่ยง)
ซันตา
Santa
لھجکءاءل
ประเทศที่มีการพูดประเทศจีน
ภูมิภาคมณฑลกานซู่ (ส่วนใหญ่ในเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดชนชาติหุยหลินเซี่ย) และเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (จังหวัดปกครองตนเองชนชาติคาซัคอีหลี)[1]
จำนวนผู้พูด200,000  (2007)[2]
ตระกูลภาษา
มองโกล
  • Shirongolic
    • ซันตา
ระบบการเขียนอักษรอาหรับ, อักษรละติน
รหัสภาษา
ISO 639-3sce

ภาษาซันตา (Santa language) หรือ ภาษาตงเซียง (จีนตัวย่อ: 东乡语; จีนตัวเต็ม: 東鄉語; พินอิน: Dōngxiāng yǔ) เป็นภาษากลุ่มมองโกลที่ใช้พูดโดยชาวตงเซียงในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ภาษาตงเซียงไม่มีการเปลี่ยนเสียงสระและไม่มีความต่างของความยาวเสียงสระ[3]

ไวยากรณ์[แก้]

เช่นเดียวกับภาษากลุ่มมองโกลอื่น ๆ ภาษาตงเซียงเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา ในหลินเซี่ยซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนกลางที่พูดโดยชาวหุย จะมีการเรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรมด้วย[4]

สัทวิทยา[แก้]

พยัญชนะ[แก้]

ภาษาตงเซียงมี 29 พยัญชนะ:[5]

ริมฝีปาก ริมฝีปากกับฟัน ปุ่มเหงือก ปลายลิ้นม้วน เพดานแข็ง เพดานอ่อน ลิ้นไก่ เส้นเสียง
หยุด เรียบ [p] [t] [k] [q]
ธนิต [] [] [] []
เสียดแทรก ไม่ก้อง [f] [s] [ʂ] [ɕ] [x] [h]
ก้อง [ʐ] [ʁ]
กักเสียดแทรก เรียบ [t͡s] [t͡ʂ] [t͡ɕ]
ธนิต [t͡sʰ] [t͡ʂʰ] [t͡ɕʰ]
นาสิก [m] [n] [ŋ]
เปิด [w] [l] [j]
รัว [r]

สระ[แก้]

ภาษาตงเซียบมี 7 สระ[5] แต่ไม่มีทั้งการสอดคล้องกลมกลืนของสระหรือความแตกต่างของความยาวของเสียงสระเหมือนภาษากลุ่มมองโกลอื่น ๆ[2]

หน้า กลาง หลัง
เรียบ ปลายลิ้นม้วน ไม่ห่อ ห่อ
สูง [i] [ɯ] [u]
กลาง [ə] [ɚ] [o]
ต่ำ [ɑ]

ระบบการเขียน[แก้]

เนื่องจากความรู้เกี่ยวกับภาษาอาหรับเคยแพร่กระจายในบริเวณนี้ ภาษานี้จึงเคยเขียนด้วยอักษรอาหรับ คล้ายกับอักษรเสี่ยวเอ้อจิ้งของชาวหุย ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา มีการพัฒนาการเขียนด้วยอักษรละตินสำหรับภาษาตงเซียงโดยใช้พื้นฐานจากอักษรของภาษามองเกอร์ แต่ยังอยู่ในระยะทดลอง[6]

ตัวเลข[แก้]

ไทย ภาษามองโกเลียคลาสสิก ภาษาตงเซียง
1 หนึ่ง Nigen Niy
2 สอง Qoyar Ghua
3 สาม Ghurban Ghuran
4 สี่ Dorben Jierang
5 ห้า Tabun Tawun
6 หก Jirghughan Jirghun
7 เจ็ด Dologhan Dolon
8 แปด Naiman Naiman
9 เก้า Yisun Yysun
10 สิบ Arban Haron

ภาษาลูกผสมถั่งวั่ง[แก้]

มีประชากรราว 20,000 คนทางตะวันออกเฉียงเหนือของเขตตงเซียง ซึ่งจำแนกตนเองว่าเป็นชาวตงเซียงหรืชาวหุยแต่ไม่พูดภาษาตงเซียง แต่พูดภาษาจีนกลางที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาตงเซียง นักภาษาศาสตร์ Mei W. Lee-Smith เรียกภาษาลูกผสมนี้ว่าภาษาถั่งวั่ง (ภาษาจีน: 唐汪话) โดยมีที่มาจากชื่อของสองหมู่บ้านคือหมู่บ้านถั่งเจียและหมู่บ้านวั่งเจีย ซึ่งเป็นที่ที่พบภาษานี้[7] ซึ่งจะใช้หน่วยเสียงและคำจากภาษาจีนกลางแต่ใช้ไวยากรณ์ของภาษาตงเซียง และยังมีคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียด้วย[7]

ภาษาถั่งวั่งเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ มีอนุภาคทางไวยากรณ์ที่นำมาจากภาษาจีนกลาง แต่ใช้ตามแบบหน่วยเสียงของภาษาตงเซียงซึ่งไม่มีเสียงวรรณยุกต์[7] เช่นปัจจัยแสดงพหูพจน์ของภาษาจีนกลาง -men (们) ในภาษาทังวังจะใช้ในรูป-m และใช้แบบเดียวกับปัจจัยพหูพจน์ –la ในภาษาตงเซียง

อ้างอิง[แก้]

  1. Bao (2006).
  2. 2.0 2.1 ซันตา ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  3. Gordon 2005, Dongxiang
  4. Bao 2006, 1.1: 东乡语的语序特点
  5. 5.0 5.1 Field (1997), p. 37.
  6. Kim 2003, p. 348
  7. 7.0 7.1 7.2 Lee-Smith, Mei W.; International Council for Philosophy and Humanistic Studies (1996), "The Tangwang language", ใน Wurm, Stephen A.; Mühlhäusler, Peter; Tyron, Darrell T. (บ.ก.), Atlas of languages of intercultural communication in the Pacific, Asia, and the Americas, Volume 2, Part 1. (Volume 13 of Trends in Linguistics, Documentation Series)., Walter de Gruyter, pp. 875–882, ISBN 978-3-11-013417-9

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Baker, Craig (April 2000), The Dongxiang Language and People (PDF), สืบค้นเมื่อ 2016-02-12{{citation}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  • Chuluu, Üjiyediin (Chaolu Wu) (November 1994), Introduction, Grammar, and Sample Sentences for Dongxiang (PDF), SINO-PLATONIC, Philadelphia, PA: University of Pennsylvania
  • Jorigt, G.; Stuart, Kevin (1998), "Problems Concerning Mongolian Case", Central Asiatic Journal, Harrassowitz Verlag, 42 (1): 110–122, JSTOR 41928140
  • Kim, Stephen S. (2003), "Santa", ใน Janhunen, Juha (บ.ก.), The Mongolic Languages, Routledge Language Family Series, pp. 346–363, ISBN 978-0-203-98791-9
  • Ma, Guozhong (马国忠) (2001), 东乡语汉语词典 [Dongxiang-Chinese Dictionary], Lanzhou: Gansu Nationalities Publishing House (甘肃民族出版社), ISBN 978-7-5421-0767-1
  • Wei, Li Xue; Stuart, Kevin (1989), "Population and Culture of the Mongols, Tu, Baoan, Dongxiang, and Yugu in Gansu", Mongolian Studies, Mongolia Society, 12 (The Owen Lattimore Memorial Issue): 71–93, JSTOR 43194234

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]