ภาษาดารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาดารีเปอร์เซีย)
ภาษาดารี
ภาษาเปอร์เซียอัฟกานิสถาน
دری
คำว่า ดารี ในอักษรอาหรับ-เปอร์เซีย
(แบบอักษรแนสแทอ์ลีก)
ออกเสียง[daɾiː]
ประเทศที่มีการพูดประเทศอัฟกานิสถาน
จำนวนผู้พูดไม่ทราบ (20.5 ล้านคน อ้างถึง1992–2000)[1]
ภาษาทางการของประชากรอัฟกานิสถาน 35 ล้านคน[2]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่นจังหวัดคาบูล, จังหวัดแบลค์, จังหวัดเฮรัต, จังหวัดบาดัคชาน, หุบเขาปันจชีร์, จังหวัดแลคห์แมน, ซิสตานี, อายมัก, แฮซอเร[3]
ระบบการเขียนอักษรเปอร์เซีย
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถาน
ผู้วางระเบียบสถาบันวิชาการทางวิทยาศาสตร์แห่งวิทยาศาสตร์
รหัสภาษา
ISO 639-3มีหลากหลาย:
prs – ภาษาดารี
aiq – ภาษาอายมัก
haz – ภาษาฮาซารากี
Linguasphere58-AAC-ce (Dari) + 58-AAC-cdo & cdp (Hazaragi) + 58-AAC-ck (Aimaq)
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาดารี (ดารี: دری, Darī, [dæɾiː]) หรือ ภาษาเปอร์เซียดารี (ดารี: فارسی دری, Fārsī-yi Darī, [fɒːɾsije dæˈɾi]) เป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาเปอร์เซียสำเนียงหนึ่งที่ใช้พูดในอัฟกานิสถาน[4][5] และเป็นชื่อทางการที่รัฐบาลอัฟกานิสถานใช้ในรัฐธรรมนูญ ดารีเป็นคำที่รัฐบาลอัฟกานิสถานยอมรับและสนับสนุนเป็นภาษาเปอร์เซียอย่างเป็นทางการตั้งแต่ ค.ศ. 1964[6][7] ทำให้มีชื่อเรียกในข้อมูลตะวันตกหลายแห่งว่า ภาษาเปอร์เซียอัฟกานิสถาน หรือ ภาษาเปอร์เซียตะวันออก[8][9][10][11]

ภาษาดารีถูกระบุตามรัฐธรรมนูญอัฟกานิสถานว่าเป็นหนึ่งในสองภาษาทางการของอัฟกานิสถาน อีกภาษาหนึ่งคือภาษาปาทาน[12] ดารีเป็นภาษาที่มีผู้พูดในอัฟกานิสถานมากที่สุด และเป็นภาษาแม่ของประชากร[13]ประมาณร้อยละ 40–45[9][14][13][15] ดารีทำหน้าที่เป็นภาษากลางของประเทศ และสามารถเข้าใจภาษานี้สูงถึงร้อยละ 78 ของประชากร[16]

ภาษาดารีทำหน้าที่เป็นภาษาทางวรรณกรรมและการบริหารในกลุ่มผู้พูดที่ไม่ใช่ภาษาแม่ เช่นชาวปาทานและโมกุลเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนการมาของชาตินิยมสมัยใหม่ และเป็นภาษาที่สืบต่อจากภาษาเปอร์เซียกลางเหมือนภาษาเปอร์เซียแบบอิหร่านและเปอร์เซียแบบทาจิก ภาษานี้ยังเป็นภาษาทางการของศาสนาและวรรณกรรมในจักรวรรดิซาเซเนียน (ค.ศ. 224–651) และเป็นภาษาที่สืบต่อจากภาษาเปอร์เซียโบราณ ภาษาในจักรวรรดิอะคีเมนิด (550–330 ปีก่อนคริสต์ศักราช)[17][18] ในอดีต ดารี สื่อถึงภาษาเปอร์เซียกลางในศาลของจักรวรรดิซาเซเนียน[19]

จุดกำเนิดของคำว่า “ดารี”[แก้]

มีความเห็นที่ต่างกันเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของคำว่าดารี นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ดารี มาจากคำภาษาเปอร์เซีย darbār (دربار) หมายถึง ศาล ความเห็นนี้ได้รับการสนับสนุนจากเอกสารในยุคกลางและประวัติศาสตร์อิสลามยุคต้น

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์[แก้]

ในอัฟกานิสถาน ภาษาดารีเปอร์เซียจะถูกเรียกอย่างง่าย ๆ ว่าภาษาเปอร์เซีย ภาษานี้เป็นคนละภาษากับภาษาดารีหรือภาษากาบรีในอิหร่าน ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาโซโรแอสเตอร์.[20][21]

ภาษากลุ่มอิหร่านยังคงใช้อย่างแพร่หลายในเอเชียกลางทั้งโดยผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม่และผู้ที่ใช้เป็นภาษาทางการค้า ในอดีต กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันออกเช่น ภาษาแบกเทรีย ภาษาซอกเดีย ภาษาโขตาน และกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตก โดยเฉพาะภาษาพาเทียร์และภาษาเปอร์เซียยุคกลาง เป็นภาษาที่ใช้กันมาก ในปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่เฉพาะในเขตเทือกเขาปาร์มีที่ยังมีผู้พูดภาษาในกลุ่มอิหร่านตะวันออกเหลืออยู่ เช่น ภาษาซุกนี ภาษาซาริโกลี ภาษายัซกูลามี และภาษาสังเกลชิ-อิซกัศมีร์

ภาษาดารีเปอร์เซียจัดเป็นรูปแบบของภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ ภาษานี้เป็นภาษาหลักในอัฟกานิสถาน โดยเป็นหนึ่งในสองภาษาราชการหลักรองจากภาษาปาทาน ในทางปฏิบัติ ภาษานี้เป็นภาษากลางของชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม ใช้มากทางภาคเหนือและภาคตะวันตกรวมทั้งในเมืองหลวงคือกรุงคาบูล

ภาษาดารีเปอร์เซียเป็นแหล่งของคำยืมจากภาษาเปอร์เซียสำหรับภาษาในเอเชียใต้ เช่น ภาษาฮินดี ภาษาอูรดู ภาษาปัญจาบ ภาษาเบงกอล และยังเคยเป็นภาษาร าชการทางการปกครองและวัฒนธรรมของจักรวรรดิโมกุล และเป็นภาษากลางตลอดทั้งอินเดียเป็นเวลา 100 ปี คำยืมจากภาษาเปอร์เซียในภาษาอังกฤษ แสดงการออกเสียงอย่างภาษาดารี เช่นdopiaza (= ออกเสียงอย่างอิหร่าน do-piyāzeh "มีหัวหอม 2 หัว"), gymkhana (-khana = ออกเสียงอย่างอิหร่าน khāneh "บ้าน"), pyjama (= ออกเสียงอย่างอิหร่าน pey-jāmeh )ไก่ติกกา (tikka = ออกเสียงอย่างอิหร่าน tekkeh "ชิ้น")

ความแตกต่างระหว่างภาษาเปอร์เซียในอิหร่านและอัฟกานิสถาน[แก้]

สัทวิทยา[แก้]

ความแตกต่างของการออกเสียงในอิหร่านและอัฟกานิสถานสามารถพบเห็นได้ ผู้พูดที่มีการศึกษามักจะเข้าใจอีกภาษาหนึ่งได้ (ยกเว้นการใช้รากศัพท์และสำนวน) ความแตกต่างระหว่างภาษาเปอร์เซียมาตรฐานในอิหร่านซึ่งใช้สำเนียงเตหะรานและภาษาดารีในอัฟกานิสถานซึ่งใช้สำเนียงคาบูลเป็นสำเนียงมาตรฐานได้แก่

  • การหายไปของสระมัชฮุลในสำเนียงของอิหร่าน สระเสียงยาว "ē" / "ī" และ "ō" / "ū" ยังคงแยกจากกันในสำเนียงอัฟกานิสถาน แต่รวมกันเป็น "ī" และ "ū" ในอิหร่าน เช่นคำว่า شیر 'สิงโต' และ 'นม' are pronounceออกเสียงเหมือนกันในสำเนียงอิหร่านว่า [šīr] ในสำเนียงของอิหร่าน แต่เป็น [šēr] 'สิงโต' และ [šīr] 'นม' ในสำเนียงของอัฟกานิสถาน
  • เสียงสระประสม "aw" (/เอา/) และ "ay" (/ไอ/) ในภาษาเปอร์เซียคลาสสิก ออกเสียงเป็น [ow] (/โอว/) และ[ey] (/เอ/) ในสำเนียงอิหร่าน ส่วนในสำเนียงอัฟกานิสถานยังรักษาเสียงเดิมไว้ได้ เช่น نوروز ‘ปีใหม่เปอร์เซีย’ ออกเสียงเป็น [nowrūz] ในอิหร่านและ [nawrōz] ในอัฟกานิสถาน.
  • สระเสียงสั้น "i" และ "u" มีแนวโน้มของเสียงในสำเนียงอิหร่านเป็น "e" (/อิ/), และ "o" (/ออ/),
  • การออกเสียง و, อออกเป็นเสียงก้องคล้าย "v" ในภาษาอังกฤษ ส่วนสำเนียงในอัฟกานิสถานออกเสียงคล้าย "w" ในภาษาอังกฤษ.
  • เสียง "q" (ق) และ "γ" (غ) ในสำเนียงอิหร่านออกเสียงไม่ต่างกันแต่เป็นคนละเสียงในสำเนียงอัฟกานิสถาน
  • เสียง "a" สั้น(-ه) เมื่อลงท้ายคำเป็น "e" ในสำเนียงอิหร่าน,
  • เสียง "a"สั้นเมื่อไม่ลงท้ายคำเป็น [æ] ในสำเนียงอิหร่าน

การเรียงประโยค[แก้]

รูปประโยคของภาษาดารีไม่ได้ต่างไปจากภาษาเปอร์เซียในอิหร่านมากนัก ความแตกต่างทางไวยากรณ์ที่สำคัญคือการแสดงการกระทำต่อเนื่อง ในอิหร่านใช้กริยาช่วย (داشتن [dāštan]) วางไว้หน้ากริยาแท้ (มีอุปสรรค "mī-") ในภาษาดารีใช้รูปประโยค "dar hāl-i" (ในขณะที่) และใช้กริยาแท้ คำว่าฉันกำลังไป ในอิหร่าน ใช้ว่า "man dāram mīr(av)am" ส่วนในอัฟกานิสถานใช้ว่า "man dar hāl-i raftan hastam"

คำศัพท์[แก้]

มีบางคำที่แตกต่างกันระหว่างภาษาเปอร์เซียในอิหร่านและในอัฟกานิสถาน เช่น

ภาษาไทย เปอร์เซียในอิหร่าน ดารีเปอร์เซีย
พยายาม سعی کردن سعی کردن/کوشش کردن
พูด حرف زدن حرف زدن/گپ زدن
ดู دیدن سعی کردن/دیدن

อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอิหร่านต่อภาษาดารี[แก้]

ความโดดเด่นทางวัฒนธรรมของอิหร่าน (โดยเฉพาะสื่อและการศึกษา) ทำให้ภาษาเปอร์เซียในอิหร่านสามารถเข้าใจได้โดยผู้พูดภาษาดารีในอัฟกานิสถาน และส่งผลต่อภาษาปาทานด้วย

ประวัติศาสตร์[แก้]

ประวัติศาสตร์ของภาษาดารีมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกับการเกิดขึ้นของภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ ที่กลายเป็นภาษาทางวรรณคดีหลังการเข้ามาของศาสนาอิสลาม ดูที่ ภาษาเปอร์เซีย

มุมมองทางการเมืองของภาษา[แก้]

บางคนไม่ถือว่าผู้พูดภาษาเปอร์เซียในอิหร่านเป็นอีกสำเนียงหนึ่ง คำว่าดารีใช้โดยนักวิชาการในทาจิกิสถานและอิหร่านและไม่เรียกภาษานี้ว่าภาษาเปอร์เซียอัฟกานิสถาน นักภาษาศาสตร์บางคนใช้คำว่าภาษาเปอร์เซียตะวันตกในอิหร่าน และภาษาเปอร์เซียตะวันออกสำหรับภาษาในอัฟกานิสถาน ชื่อของภาษานี้ในอัฟกานิสถานเปลี่ยนจากเปอร์เซียเป็นดารีด้วยเหตุผลทางการเมืองใน พ.ศ. 2507[22][23][24]

อ้างอิง[แก้]

  1. ภาษาดารี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    ภาษาอายมัก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    ภาษาฮาซารากี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. "South Asia :: Afghanistan". The World Factbook. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 2020-08-22.
  3. "Iranica, "Afghanistan: v.Languages", Table 11". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-08. สืบค้นเมื่อ 19 August 2013.
  4. Afghan Folktales from Herat: Persian Texts in Transcription and Translation. 2009. ISBN 978-1-60497-652-6.
  5. "11 books". afghanistandl.nyu.edu.
  6. Lazard, G. "Darī – The New Persian Literary Language", in Encyclopædia Iranica, Online Edition 2006.
  7. "Tajikam Portal - Secret documents Reveal Afghan Language Policy". tajikam.com.
  8. "Airgram Farsi to Dari 1964 Embassy Kabul to USA".
  9. 9.0 9.1 "Afghanistan". The World Factbook. Central Intelligence Agency. 8 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2013. สืบค้นเมื่อ 19 August 2013.
  10. "Documentation for ISO 639 identifier: prs". SIL International. 18 January 2010. สืบค้นเมื่อ 19 August 2013.
  11. Library, International and Area Studies. "LibGuides: Dari Language: Language History". guides.library.illinois.edu.
  12. "The Afghans – Language Use". United States: Center for Applied Linguistics (CAL). 30 June 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2011. สืบค้นเมื่อ 24 October 2010.
  13. 13.0 13.1 "Dari". UCLA International Institute: Center for World Languages. University of California, Los Angeles. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2011. สืบค้นเมื่อ 10 December 2010.
  14. "Afghanistan v. Languages". Ch. M. Kieffer. Encyclopædia Iranica, online ed. สืบค้นเมื่อ 10 December 2010. Persian (2) is the most spoken languages in Afghanistan. The native tongue of twenty five percent of the population ...
  15. "The World Factbook". 2013-10-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2013. สืบค้นเมื่อ 2020-01-28.
  16. "South Asia :: Afghanistan – The World Factbook – Central Intelligence Agency". www.cia.gov. สืบค้นเมื่อ 2021-07-02.
  17. Lazard, Gilbert 1975, "The Rise of the New Persian Language"
  18. in Frye, R. N., The Cambridge History of Iran, Vol. 4, pp. 595–632, Cambridge: Cambridge University Press.
  19. Frye, R. N., "Darī", The Encyclopaedia of Islam, Brill Publications, CD version
  20. ""Parsi-Dari" Ethnologue". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-07. สืบค้นเมื่อ 2015-11-07.
  21. ""Dari, Zoroastrian" Ethnologue". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-07. สืบค้นเมื่อ 2015-11-07.
  22. Willem Vogelsang, "The Afghans", Blackwell Publishing, 2002
  23. "Airgram Farsi to Dari 1964 Embassy Kabul to USA". www.datadust.de.
  24. see too Harold F. Schiffman Language 2012, pp. 39–40

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Harold F. Schiffman Language Policy and Language Conflict in Afghanistan and Its Neighbors (Brill's Studies in South and Southwest Asian Languages) BRILL, Leiden, 1.ed, 2011 ISBN 978-9004201453

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]