ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค
ชื่อจริงภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค
ฉายาไอ้หมัดปืนกล
รุ่นเวลเตอร์เวท
มิดเดิลเวท
เกิด7 ตุลาคม พ.ศ. 2518 (48 ปี)
อำเภอเมืองสมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรปราการ
ชกทั้งหมด12
ชนะ9
ชนะน็อก3
แพ้3
เสมอ0
ผู้จัดการทรงชัย รัตนสุบรรณ
ค่ายมวยพันธุ์ยุทธภูมิ
(มวยไทย)
บ.ข.ส.
(มวยไทย)
โอสถสภา
(มวยสากลสมัครเล่น)
ทรงชัยบ็อกซิ่งโปรโมชั่น
(มวยสากลอาชีพ)
สถิติเหรียญโอลิมปิก
มวยสากลสมัครเล่น
เอเชียนเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเชียนเกมส์ 1998 เวลเตอร์เวท

ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ชื่อเล่น เอ็ม อดีตนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย เคยเข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมา 2 สมัย และเป็นอดีตนักมวยสากลอาชีพ

ประวัติ[แก้]

ภาคภูมิเกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยเป็นลูกชายคนโตของนายยุทธภูมิ แจ้งโพธิ์นาค เจ้าของค่ายมวย "พันธุ์ยุทธภูมิ" ฝึกมวยตั้งแต่อายุ 9 ขวบ เพราะได้รับแรงบันดาลใจจากทวี อัมพรมหา หรือ ขาวผ่อง สิทธิชูชัย นักมวยเหรียญเงินโอลิมปิกที่ลอสแอนเจลิส ปี พ.ศ. 2527 ขึ้นชกครั้งแรกได้เงินค่าตัว 100 บาท เมื่อเติบใหญ่ขึ้นขึ้นชกเป็นประจำที่เวทีมวยสำโรง ในชื่อ "เอ็ม 16 บ.ข.ส." เหตุที่ใช้ชื่อเช่นนี้ เนื่องจากมีหมัดชุดที่รัวเป็นชุดเหมือนปืน เอ็ม.16 จนกลายเป็นมวยมีชื่อที่เวทีนั้น และติดทีมชาติในระยะเวลาไม่นาน แต่เมื่อได้ไปแข่งขันโอลิมปิกตามความฝันถึง 2 ครั้ง ติด ๆ กันไม่ประสบความสำเร็จ โดยในการแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรก ที่แอตแลนตา ซึ่งภาคภูมิติดทีมชาติเข้ามาเป็นคนสุดท้าย ถึงแม้จะเป็นรุ่นใหญ่ที่สุด แต่กลับเป็นนักมวยที่มีประสบการณ์น้อยที่สุด และทำการขึ้นชกก่อนเป็นคนแรกและก็ตกรอบแรกไปก่อนเป็นคนแรกอีกเช่นกัน ต่อมาในโอลิมปิกที่ซิดนีย์ ภาคภูมิในรอบแรกสามารถเอาชนะมาได้ แต่ก็ตกรอบสอง[1] จึงได้แขวนนวมยุติการชกในแบบสมัครเล่นไป หลังจากนั้นก็มีข่าวว่าจะหันไปเอาทีทางด้านเทควันโดแทน แต่ก็ไม่ได้ทำ จากนั้นจึงได้เบนเข็มมาชกสากลอาชีพอยู่ไม่กี่ครั้ง แม้จะประสบความสำเร็จได้แชมป์สมาคมมวยแห่งทวีปเอเชีย (พีเอบีเอ) แต่ก็เลิกไป

ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ถือว่าเป็นนักมวยที่มีหน้าตาดี จึงมีแฟน ๆ กีฬาชื่นชอบอยู่เป็นจำนวนหนึ่ง จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิเทศศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข และปริญญาโทด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา จากคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นิสัยส่วนตัวชอบการเล่นคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีกิจการส่วนตัวคือ ร้านขายสัตว์เลี้ยง ย่านสวนหลวง ร.9 และยังเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีอีกด้วย[2] และยังเป็นผู้ฝึกสอนมวยสากลสมัครเล่นให้กับนักกีฬาของมหาวิทยาลัยด้วย[3]

ชื่อนักมวยอื่นๆ[แก้]

เกียรติประวัติ[แก้]

  • เหรียญทองชิงแชมป์ประเทศไทย ปี 2537
  • เหรียญทองกีฬากองทัพไทย ปี 2540,2541
  • เหรียญทองการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ปี พ.ศ. 2540,2541,2542 พร้อมรางวัลนักชกยอดเยี่ยม ครั้งที่ 22 และ 23
  • ติดทีมชาติแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่เมืองแอตแลนตา สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2539) (ตกรอบแรก)
  • เหรียญทองเพรสซิเด็นท์คัพ ที่ประเทศอินโดนีเซีย ปี 2540
  • เหรียญทองแมร์คัพ ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ปี 2541
  • เหรียญทองกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพฯ ปี 2541
  • เหรียญทองชิงแชมป์เอเซีย ที่ประเทศอุซเบกิสถาน ปี 2542
  • เหรียญเงินมวยคาร์ดิ้งคัพ ที่ประเทศคิวบา ปี 2543
  • ติดทีมชาติแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่เมืองซิดนีย์ ออสเตรเลีย (พ.ศ. 2543) (ตกรอบสอง)
  • แชมป์ PABA รุ่นเวลเตอร์เวท (2547 - 2549)
  • เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ
    • ชิงแชมป์ IBF แพนแปซิฟิครุ่นมิดเดิลเวทเมื่อ 4 พ.ค. 2550 แพ้คะแนน ดาเนียล เกียเล (ออส) ที่ออสเตรเลีย

อ้างอิง[แก้]

  1. ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค นักชกไทยพ่ายนักชกยูเครนในรุ่นเวลเตอร์เวท 67 กก.(รอบสอง)
  2. สปอร์ตสแควร์จากสนุกดอตคอม
  3. "วันนี้ของ'ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-02. สืบค้นเมื่อ 2015-01-19.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]