ฟุตบอลหญิงทีมชาตินอร์เวย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลหญิงทีมชาตินอร์เวย์
ฉายาตั๊กแตน (Gresshoppene) (ค.ศ. 1995)
สมาคมสมาพันธ์ฟุตบอลนอร์เวย์
(Norges Fotballforbund)
สมาพันธ์ยูฟ่า (ทวีปยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนเอเวน เปลเลรุด
กัปตันอิงวิลด์ สเตนสลันด์
ติดทีมชาติสูงสุดเฮเก รีเซอ (188 ครั้ง)
ทำประตูสูงสุดมาริอันเนอ เพตเตอชัน (66 ประตู)
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน12 ลดลง 3 (19 ธันวาคม ค.ศ. 2014)
อันดับสูงสุด2 (กรกฎาคม ค.ศ. 2003)
อันดับต่ำสุด13 (มีนาคม ค.ศ. 2012)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติสวีเดน สวีเดน 2–1 นอร์เวย์ ธงชาตินอร์เวย์
(คอเลง ประเทศเดนมาร์ก; 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1978)
ชนะสูงสุด
ธงชาตินอร์เวย์ นอร์เวย์ 17–0 สโลวาเกีย ธงชาติสโลวาเกีย
(อูเลฟอสส์ ประเทศนอร์เวย์; 19 กันยายน ค.ศ. 1995)
แพ้สูงสุด
ธงชาติสวีเดน สวีเดน 5–0 นอร์เวย์ ธงชาตินอร์เวย์
(นอร์เชอปิง ประเทศสวีเดน; 22 สิงหาคม ค.ศ. 1985)
ธงชาติจีน จีน 5–0 นอร์เวย์ ธงชาตินอร์เวย์
(ฟอกซ์โบโรช์ สหรัฐอเมริกา; 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1999)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม7 ครั้ง (ครั้งแรกใน 1991)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ, ค.ศ. 1995
ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม11 ครั้ง (ครั้งแรกใน 1984)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ, ค.ศ. 1987, 1993

ฟุตบอลหญิงทีมชาตินอร์เวย์ (นอร์เวย์: Norges kvinnelandslag i fotball) เป็นทีมตัวแทนการแข่งขันฟุตบอลหญิงระหว่างประเทศของประเทศนอร์เวย์ ทีมนี้ได้รับการควบคุมโดยสมาพันธ์ฟุตบอลนอร์เวย์ และเป็นอดีตทีมแชมป์โลก, ยุโรป รวมถึงโอลิมปิก ทีมนี้จึงเป็นหนึ่งในทีมชาติที่ประสบความสำเร็จสูงสุด แต่ก็ประสบความสำเร็จน้อยลงตั้งแต่สมัยฟุตบอลโลกหญิง 2011

ประวัติ[แก้]

ฟุตบอลหญิงทีมชาตินอร์เวย์ได้สำแดงตนครั้งแรกในการแข่งขันฟุตบอลหญิงทีมชาตินอร์ดิก 1978 ซึ่งถือเป็นทีมแรก ๆ ของยุโรปตะวันตก แต่เป็นทีมท้าย ๆ ของกลุ่มนอร์ดิก โดยสามารถเป็นฝ่ายชนะทีมชาติไอซ์แลนด์ และมีการวางรากฐานเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับทีมสโมสรและระบบชุด ซึ่งทีมชาตินอร์เวย์มีความสูสีอย่างมากเมื่อเทียบกับทีมชาติสวีเดนและทีมชาติเดนมาร์ก โดยในช่วงต้นของประวัติศาสตร์ทีมนี้ได้แพ้ต่อประเทศเพื่อนบ้าน แต่แล้วในที่สุดทีมนี้ก็ได้เป็นฝ่ายชนะต่อทีมชาติไอร์แลนด์เหนือได้เป็นครั้งแรก

แสนยานุภาพ[แก้]

ในที่สุด ทีมชาตินอร์เวย์ก็สามารถพัฒนาผลงาน จนเป็นหนึ่งในทีมที่มีความแข็งแกร่งขึ้นกว่าหลายทีมในยุโรป จะด้อยกว่าก็แต่เพียงกลุ่มนอร์ดิก[1] ทีมนี้สามารถเป็นฝ่ายชนะทีมชาติอังกฤษ, ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ ในการคัดเลือกฟุตบอลหญิงชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งแรก ทีมชาตินอร์เวย์ได้พบกับทีมชาติสวีเดน, ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ ซึ่งทีมชาตินอร์เวย์ได้เป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมชาติสวีเดนทั้งสองแมตช์ แต่ก็มีชัยเหนือประเทศฟินแลนด์ทั้งสองแมตช์ และมีผลงานที่น่าแปลกใจเล็กน้อยเมื่อครั้งที่เสมอกับทีมชาติไอซ์แลนด์ในประเทศของตน ทีมชาตินอร์เวย์ได้อันดับสองของกลุ่มในรอบคัดเลือกจากการคัดเลือกทีมที่ดีที่สุดเพียงทีมเดียว ซึ่งในภายหลังทีมชาติสวีเดนได้เป็นทีมชนะเลิศการแข่งขันของปีดังกล่าว

อ้างอิง[แก้]

  1. "U.S. vs. Norway: Big rivalry of contrasts and styles - Chicago Tribune". Articles.chicagotribune.com. 2003-10-01. สืบค้นเมื่อ 2013-09-06.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]