ฟุตบอลหญิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูฟ่าวีเมนส์คัพ รอบชิงชนะเลิศ 2005 ของทีมทูร์บีเนโพทซดัม

ฟุตบอลหญิง (อังกฤษ: Women's association football) เป็นกีฬาประเภททีมที่มีโดดเด่นมากที่สุดซึ่งแข่งขันโดยผู้หญิงจากทั่วโลก ซึ่งมีการแข่งขันในระดับอาชีพในหลายประเทศทั่วโลก และ 176 ทีมชาติที่เข้าร่วมในระดับนานาชาติ[1][2]

ประวัติศาสตร์ของฟุตบอลหญิงสามารถพบในการแข่งขันที่สำคัญซึ่งได้เปิดตัวทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ฟุตบอลหญิงได้มีการแข่งขันนับครั้งไม่ถ้วนในประวัติศาสตร์ แม้ยุคทองจะเกิดขึ้นครั้งแรกที่สหราชอาณาจักรในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1920 ที่ซึ่งประสบความสำเร็จที่ยอดผู้ชมกว่า 50,000 คน[3] ครั้งหนึ่ง สมาคมฟุตบอลอังกฤษเคยประกาศห้ามใน ค.ศ. 1921 ถึงการไม่อนุญาตให้มีกีฬาฟุตบอลหญิงจากบริเวณที่ใช้โดยสโมสรสมาชิก โดยการห้ามนี้มีผลจนถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1971 [4]

ประวัติ[แก้]

ฟุตบอลหญิงยุคต้น[แก้]

กลุ่มผู้หญิงได้เล่น "ฟุตบอล" มาเป็นเวลานานเท่าที่เคยมีการแข่งขัน หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการแข่งในสมัยโบราณ นั่นคือชู่จู๋ที่เล่นกันในหมู่ผู้หญิงของช่วงรัชสมัยราชวงศ์ฮั่น (สากลศักราช 25–220) โดยมีภาพปูนเปียกของผู้หญิงสองคนในรัชสมัยราชวงศ์ฮั่น (สากลศักราช 25–220) ซึ่งกำลังเล่นชู่จู๋อยู่[5] อย่างไรก็ตามนอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับความถูกต้องของยุคสมัยอยู่จำนวนหนึ่ง โดยประมาณถึงความเก่าแก่ที่สุดว่าอาจอยู่ในช่วง 5,000 ปีก่อนสากลศักราช[6] นอกจากนี้ ยังมีบันทึกการแข่งขันประจำปีในสกอตแลนด์ซึ่งได้บันทึกในช่วงต้นของยุคคริสต์ทศวรรษ 1790 [7][8] ส่วนการแข่งขันนัดแรกที่ได้รับการบันทึกโดยสมาคมฟุตบอลสกอตแลนด์ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1892 ที่กลาสโกว์ และสำหรับประเทศอังกฤษ ได้มีบันทึกการแข่งขันฟุตบอลหญิงที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1895 [9][10]

ในสมัยใหม่ของฟุตบอล ยังมีพยานหลักฐานถึงการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในยุคต้น โดยในทวีปยุโรป เป็นไปได้ว่าผู้หญิงชาวฝรั่งเศสช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ได้เล่นฟุตบอลในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกีฬาพื้นบ้านในยุคนั้น และยังมีการแข่งขันประจำปีในมิดโลเธียน ที่ประเทศสกอตแลนด์ในช่วงยุคคริสต์ทศวรรษ 1790 ซึ่งได้มีการบันทึกไว้เช่นกัน[7][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The FIFA Women's World Ranking". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-20. สืบค้นเมื่อ 2014-06-02.
  2. "The FIFA World Ranking". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 2014-06-02.
  3. "Trail-blazers who pioneered women's football". BBC News. 3 June 2005. สืบค้นเมื่อ 2010-02-19.
  4. Grainey, Timothy F. (2012). Beyond Bend It Like Beckham: The Global Phenomenon of Women's Soccer. University of Nebraska Press. ISBN 0803240368.
  5. "Genesis of the Global Game". The Global Game. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-21. สืบค้นเมื่อ 2006. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "The Chinese and Tsu Chu". The Football Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2006. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 "A Brief History of Women's Football". Scottish Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2005. สืบค้นเมื่อ 18 November 2013.
  8. 8.0 8.1 ""Football history: Winning ways of wedded women"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-06-02.
  9. The FA - "Women's Football- A Brief History"
  10. BBC Sport - "How women's football battled for survival"

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]