ฟุตบอลชายหาดทีมชาติไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทย
Shirt badge/Association crest
ฉายาช้างศึก
สมาคมสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมาพันธ์ย่อยเอเอฟซี (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
สมาพันธ์เอเอฟซี (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนนายเศรษฐกรชัย ชื่นตา
กัปตันนายคมกริช ณะน่าน
รหัสฟีฟ่าTHA
ชนะสูงสุด
ไทย ธงชาติไทย 7–4 ธงชาติฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
(ดานัง ประเทศเวียดนาม, 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
แพ้สูงสุด
อิหร่าน ธงชาติอิหร่าน 14–2 ธงชาติไทย ไทย
(มัสกัต ประเทศโอมาน, 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553)

ฟุตบอลชายหาดทีมชาติไทย เป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันฟุตบอลชายหาดระหว่างประเทศ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นองค์กรกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย

ปัจจุบัน ฟุตบอลชายหาดทีมชาติไทยมีนายเศรษฐกรชัย ชื่นตา ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน[1]

ประวัติ[แก้]

ใน พ.ศ. 2545 ทีมชาติไทยได้ประสบความสำเร็จด้วยอันดับ 4 จากการแข่งฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์โลกที่ประเทศบราซิล โดยเป็นฝ่ายแพ้ในรอบชิงอันดับสามเมื่อครั้งที่พบกับทีมชาติอุรุกวัย ซึ่งทีมชาติไทยได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่ม A เช่นเดียวกับทีมชาติบราซิล และทีมชาติไทยเป็นฝ่ายชนะทีมชาติฝรั่งเศสและทีมชาติสเปนจนสามารถเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ และเป็นฝ่ายแพ้ทีมชาติโปรตุเกสด้วยผลการแข่ง 3-2 ประตู [2]

ในการแข่งขันฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์โลก พ.ศ. 2548 ทีมชาติไทยได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับบราซิลและสเปนอีกครั้ง แต่ในคราวนี้ยากต่อการผ่านเข้าสู่รอบถัดไป โดยทีมไทยได้อยู่ในอันดับท้ายของกลุ่ม A [2]

พ.ศ. 2555 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้แต่งตั้งให้ กิตติพัฒน์ มีสุวรรณ ได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการฟุตบอลชายหาด และเขาได้แต่งตั้งให้ อบอลแฟซล์ โคดาแบนเดห์ลู เป็นผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค และ ชาห์แรม ดาแนห์การ์ เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนในขณะนั้น โดยมีเอเชียนบีชเกมส์ ที่จัดขึ้น ณ ประเทศจีน เป็นเป้าหมายที่ใกล้สุด

ทีมปัจจุบัน[แก้]

ข้อมูลอิง พ.ศ. 2565

หมายเลข ตำแหน่ง ชื่อ
1 GK สุริยา บริเดช
2 DF วัชระ เลไพจิตร
3 DF นที จีปน
4 DF มาซายูกิ โยชิดะ
5 DF เอธัส ทองดี
6 W/MF เฉลิมชัย แซ่ลิ้ม
7 MF รัฐพงษ์ นาดี
8 S/F ฐานันดร ประราชะ
9 S/F ไฟซอล มะลี
10 S/F คมกริช ณะน่าน (กัปตัน)
11 W/MF วุฒินันท์ ปรือทอง
12 GK กิตติพงค์ เหลี่ยมอุไร
13 GK ธนสาร หนูคล้าย
14 DF ณัฐพงษ์ ชัยพัฒน์ปรีชา
15 S/F จุลวรรณ ปิ่นแก้ว
16 DF ปรเมศวร์ มาศคีรีวงศ์
17 W/MF ปรมัตถ์ มาศคีรีวงศ์
18 GK ธันวา มุทาพร
19 DF มนัส มัดตอฮา

หัวหน้าผู้ฝึกสอน ไทย เศรษฐกรชัย ชื่นตา

สตาฟฟ์ปัจจุบัน[แก้]

ตำแหน่ง ชื่อ CHAIRMAN| ไทย นายอดิศักดิ์ เบ็ญจศิริวรรณ MANEGER| ไทย พลโทอิสระ วัชรประทีป HEAD COACH| ไทย นายเศรษฐกรชัย ชื่นตา ATT.COACH| ไทย นายมนัส มัดตอฮา FITNESS COACH|{flagicon|THA} นายเอกรินทร์ อินตา PHYSIO| ไทย นายอนุสรณ์ นิอิ HIT MAN| ไทย น.ส.นิรัชชา รู้คุณ

ฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์โลก[แก้]

  • บราซิล 1995 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • บราซิล 1996 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • บราซิล 1997 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • บราซิล 1998 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • บราซิล 1999 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • บราซิล 2000 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • บราซิล 2001 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • บราซิล 2002 - อันดับ 4 [2]
  • บราซิล 2003 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • บราซิล 2004 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • บราซิล 2005 - อันดับ 11
  • บราซิล 2006 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • บราซิล 2007 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • ฝรั่งเศส 2008 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2009 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • อิตาลี 2011 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • เฟรนช์พอลินีเชีย 2013 - ไม่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย

ฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์เอเชีย[แก้]

  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2006 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2007 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2008 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2009 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • โอมาน 2011 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • ประเทศกาตาร์ 2013 - อันดับ 11

ฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์อาเซียน[แก้]

  • มาเลเซีย 2014 - อันดับ 3
  • อินโดนีเซีย 2018 - รองชนะเลิศ
  • ไทย 2019 - ชนะเลิศ

เอเชียนบีชเกมส์[แก้]

  • อินโดนีเซีย 2008 - รอบแบ่งกลุ่ม
  • โอมาน 2010 - รอบแบ่งกลุ่ม
  • จีน 2012 - รอบแบ่งกลุ่ม
  • ไทย 2014 - อันดับ 7

อื่น ๆ[แก้]

  • AFF BEACH SOCCER CHAMPIONSHIP 2019
  • CHAMPION (1 สมัย): 2019

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]