ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพห้องทดลองทางด้านฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ เกี่ยวกับ การกักไอออน เพื่อใช้ใน คอมพิวเตอร์ควอนตัม

ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ (Atomic, Molecular, and Optical physics: AMO (อ่าน เอ-เอ็ม-โอ) physics) เป็น ศาสตร์แขนงหนี่งของฟิสิกส์ที่ศึกษาเกี่ยวกับ สสาร และ ปฏิกิริยาระหว่าง แสง (light) กับ สสาร (matter) ที่ระดับขนาดเท่ากับ อะตอมเดี่ยว หรือ โครงสร้างที่ประกอบไปด้วยอะตอมจำนวนไม่มากนัก ศาสตร์แขนงนี้เป็นการรวมเอา (1) ฟิสิกส์อะตอม (atomic physics) , (2) ฟิสิกส์โมเลกุล (molecular physics) และ (3) ฟิสิกส์ทัศนศาสตร์ (optical physics) เข้าไว้ด้วยกัน

ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ มีกำเนิดมาพร้อมกับ ฟิสิกส์สาขาหลักๆ สามสาขา นับจากการศึกษาโครงสร้างของอะตอม การค้นพบการแผ่รังสีจากวัตถุดำ และ การศึกษาทดลองเกี่ยวกับโมเลกุล หากแต่ว่า ชื่ออย่างเป็นทางการของสาขา ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ ยังไม่ได้ถือกำเนิดขึ้น

ฟิสิกส์ทั้งสามแขนง ได้ถูกนำมารวมไว้ในกลุ่มเดียวกันเนื่องมาจากเหตุผลหลายๆ ข้อ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกันของ อะตอม โมเลกุล และ แสง, ความคล้ายคลึงกันของวิธีการที่ใช้ศึกษา และ ลักษณะร่วม ของ ระดับขนาดของพลังงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้นักฟิสิกส์ใช้ความรู้ทั้ง ทาง ฟิสิกส์ดั้งเดิม (classical physics) และ ควอนตัมฟิสิกส์ (quantum physics) ในการศึกษาศาสตร์แขนงนี้

เมื่อศาสตร์ทั้งสามนี้ได้รับการพัฒนาขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ขนานไปกับพัฒนาการของกลศาสตร์ควอนตัม ความเชื่อมโยงกันระหว่างสาขาก็มีมากขึ้น และ หลอมรวมเข้าด้วยกันตามกาลเวลา ความเชื่อมโยงยิ่งมีมากขึ้นไปอีกเมื่อมีการประดิษฐ์ เลเซอร์ ขึ้นในห้องปฏิบัติการ ซึ่งโดยตัวของมันเองแล้ว เลเซอร์ ก็คือผลพวงหนึ่งของความรู้ความเข้าใจใน ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์

สิ่งที่บ่งบอกช่วงระยะเวลากำเนิดชื่อสาขาอย่างเป็นทางการของ AMO นั้นเช่น การที่ American Physical Society (APS) มีการตั้งภาคเฉพาะสำหรับ AMO ชื่อว่า เด-มอพ (Division of Atomic, Molecular, and Optical Physics: DAMOP) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2486 ซึ่งเป็นช่วงแรกๆ ของกำเนิดทฤษฎีอิเล็กโทรดายนามิกส์ควอนตัม หรือ อย่างเช่นการกำเนิดของวารสาร Journal of Physics B: Atomic, Molecular and Optical Physics ขึ้นในปี พ.ศ. 2511 หลังการค้นพบเลเซอร์ ได้ 8 ปี

ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ ได้กว้างขวางมาก โดยจะเห็นได้จาก การนำความรู้ความเข้าใจใน ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ ไปประยุกต์ใช้ในหลายทาง

ตัวอย่างการนำความเข้าใจใน AMO ไปประยุกต์ใช้[แก้]

ภาพการใช้เลเซอร์กำลังสูงในงานวิจัยนิวเคลียร์ฟิวชัน
  • การนำคุณสมบัติต่างๆ ของอะตอมและโมเลกุลที่วัดได้จาก AMO ไปใช้ในฟิสิกส์สาขาอื่น
  • การตรวจวัดสารเคมีปนเปื้อนในอากาศ
  • การใช้เลเซอร์กักขัง และ ศึกษา เซลล์ในงานวิจัยทางชีววิทยา
  • การใช้เลเซอร์กับการผ่าตัดทางการแพทย์
  • การใช้นาฬิกาอะตอมในระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System: GPS)
  • การใช้เลเซอร์กำลังสูงในงานวิจัยนิวเคลียร์ฟิวชัน

ตัวอย่างงานวิจัยพื้นฐานของ AMO ในปัจจุบัน[แก้]

  • การวิจัยวิธีการทำอะตอมให้มีอุณหภูมิต่ำยิ่งยวดโดยใช้เลเซอร์
  • การวิจัยคุณสมบัติของอะตอม และ โมเลกุลที่มีอุณหภูมิต่ำยิ่งยวด
  • การวิจัยเกี่ยวกับ การชนกันของอะตอมที่อุณหภูมิต่ำยิ่งยวด
  • การวิจัยเกี่ยวกับ สถานะควบแน่น โบส - ไอน์สไตน์ ในก๊าซเจือจาง
  • การวิจัยเกี่ยวกับ การทำให้แสง เคลื่อนที่ช้าลง หรือ เร็วขึ้น
  • การวิจัยเกี่ยวกับ การทำเลเซอร์ ให้ปลดปล่อยเป็นห้วงจังหวะ ที่สั้นยิ่งยวด
  • การวิจัยเกี่ยวกับ การใช้เลเซอร์ห้วงสั้นยิ่งยวด ในการศึกษาการเคลื่อนที่ของ อะตอมในโมเลกุล
  • การวิจัยเกี่ยวกับ การใช้เลเซอร์ห้วงสั้นยิ่งยวด ในการศึกษาการเคลื่อนที่ของ อิเล็กตรอนในอะตอม
  • การวิจัยเกี่ยวกับ การวัดคุณสมบัติพื้นฐานของอะตอม โดยมีความแม่นยำสูงมาก
  • การวิจัยเกี่ยวกับ อะตอมริดเบอร์ก
  • การวิจัยเกี่ยวกับ สารสนเทศควอนตัม และ คอมพิวเตอร์ควอนตัม

ฟิสิกส์อะตอม[แก้]

ฟิสิกส์อะตอม เป็นศาสตร์ที่ศึกษา คุณสมบัติพื้นฐานทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับ อะตอม เช่น การทำปฏิกิริยาระหว่าง อะตอม กับ อะตอม, การทำปฏิกิริยาระหว่าง อะตอม กับ แสง, สถิติทางควอนตัมของอะตอม

ฟิสิกส์อะตอม แตกต่างกับ ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ตรงที่ ฟิสิกส์อะตอม มุ่งศึกษา คุณสมบัติของอะตอมในภาพกว้าง ซึ่ง ส่วนใหญ่ถูกกำหนดโดย สถานะของอิเล็กตรอนในอะตอม ในขณะที่ ฟิสิกส์นิวเคลียร์ มุ่งศึกษาเฉพาะ คุณสมบัติของนิวเคลียสของอะตอม (Atomic nucleus)

ฟิสิกส์โมเลกุล[แก้]

ฟิสิกส์โมเลกุล เป็นศาสตร์ที่ศึกษา คุณสมบัติพื้นฐานทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับ โมเลกุล (โครงสร้างที่ประกอบไปด้วยอะตอมมากกว่าหนึ่งตัว) เช่น การศึกษา ชั้นพลังงานที่มีในโมเลกุล, สถิติทางควอนตัมของโมเลกุล, พันธะระหว่างอะตอมที่ประกอบกันเป็นโมเลกุล, การทำปฏิกิริยาระหว่าง โมเลกุล กับ อะตอม, โมเลกุล กับ โมเลกุล และ โมเลกุล กับ แสง

ฟิสิกส์ทัศนศาสตร์[แก้]

ฟิสิกส์ทัศนศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษา คุณสมบัติพื้นฐานทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับ แสง เช่น การแทรกสอด และ การเลี้ยวเบนของแสง, ปฏิกิริยาระหว่างแสง กับ อะตอม, สถิติทางควอนตัมของแสง

ฟิสิกส์ทัศนศาสตร์ สามารถถูกแบ่งออกได้เป็น สองแขนง ขึ้นกับวิธีที่ใช้อธิบาย คือ

  • ทัศนศาสตร์ดั้งเดิม (optics หรือ classical optics)
  • ทัศนศาสตร์เชิงควอนตัม (quantum optics)

รางวัลโนเบลที่เกี่ยวข้องกับ ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และ ทัศนศาสตร์[แก้]

พุทธศักราช 2444 - 2468[แก้]

ปี ชื่อ ประเทศ [1] หัวข้อ
2445 เฮนดริค ลอเรนทซ์
ปีเตอร์ เซมาน
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ "ให้ไว้เพื่อความระลึกถึงผลงานอันเลิศที่พวกเขาได้ฝากไว้ ด้วยการทดลองต่างๆ เกี่ยวกับผลของสภาพแม่เหล็กต่อปรากฏการณ์การแผ่รังสี". ดูเพิ่มเติม ผลกระทบ เซมาน.
2447 จอห์น วิลเลียม สตรัทท์ (บารอนเรย์ลีย์ที่สาม)  สหราชอาณาจักร "สำรับการสืบเสาะค้นหาความหนาแน่นของก๊าซต่างๆ ที่สำคัญมาก และ การค้นพบ อาร์กอน ซึ่งเกี่ยวโยงกับการศึกษาเหล่านี้ของเขา"
2448 ฟิลิปป์ เอดูอาร์ด แอนตัน วอน เลนนาร์ด ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี "สำหรับงานของเขาเกี่ยวกับ รังสีแคโทดต่างๆ"
2449 โจเซฟ จอน ธอมสัน  สหราชอาณาจักร "ให้ไว้เพื่อความระลึกถึงคุณอันยิ่งใหญ่ในการสืบเสาะค้นหาทาง ทฤษฎี และ การทดลอง เกี่ยวกับการนำไฟฟ้าด้วยก๊าซต่างๆ"
2450 อัลเบิร์ต อบราฮาม ไมเคิลสัน  สหรัฐ "สำหรับอุปกรณ์ทัศนศาสตร์ที่มีความแม่นยำ และ การสืบเสาะค้นหาอย่างจำเพาะ และ การวัดผลอย่างเป็นตรรก ซึ่งได้ดำเนินไปด้วยความช่วยเหลือของพวกเขา". ดูเพิ่มเติม การทดลองของไมเคิลสัน-มอร์เลย์.
2451 กาเบรียล ลิพพ์มานน์ ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส "สำหรับ แผ่นภาพลิพพ์มานน์ ซึ่งเป็นวิธีที่จะผลิตซ้ำภาพสีในการถ่ายภาพ โดยยืนพื้นบนปรากฏการณ์การแทรกสอด"
2453 โยฮานัส ดิเดอริค วาน เดอ วาลส์ ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ "สำหรับงานเกี่ยวกับสมการสถานะของก๊าซ และ ของเหลว" ดูเพิ่มเติม แรง วาน เดอ วาลส์.
2461 มากซ์ พลางค์ ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี "ให้ไว้เพื่อความระลึกถึงผลงานที่เขาได้ฝากไว้ในความก้าวหน้าของฟิสิกส์ด้วยการค้นพบพลังงานที่ไม่ต่อเนื่อง (energy quanta) " ดูเพิ่มเติม ค่าคงที่ของพลางค์.
2462 โยฮานัส สตาร์ค ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี "สำหรับการค้นพบผลกระทบดอพเพลอร์ ในรังสีคานาล (หรือ รังสีเอโนด) และ การแยกออกของ เส้นความถี่จำเพาะ (spectral lines) ในสนามไฟฟ้า"
2464 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
"สำหรับผลงานของเขาในฟิสิกส์ทฤษฎี และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับคำอธิบายผลกระทบ โฟโตอิเล็กทริก ของเขา"
2465 นีลส์ เฮนริค เดวิด บอหร์ ธงของประเทศเดนมาร์ก เดนมาร์ก "สำหรับผลงานของเขาเกี่ยวกับการสืบเสาะค้นหา โครงสร้างของอะตอม และ การที่พวกมันแผ่รังสี"
2466 โรเบิร์ต แอนดรูวส์ มิลลิแกน  สหรัฐ "สำหรับงานเกี่ยวกับ ประจุพื้นฐานของไฟฟ้า และ ผลกระทบโฟโตอิเล็กทริก"
2468 เจมส์ แพรงค์
กุสตาฟ ลุดวิก เฮิร์ตซ์
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี "สำหรับการค้นพบกฎที่ครอบคลุมการประทะระหว่าง อิเล็กตรอน และ อะตอม"

พุทธศักราช 2469-2493[แก้]

ปี ชื่อ ประเทศ หัวข้อ
2471 โอเวน วิลลานส์ ริชาร์ดสัน  สหราชอาณาจักร "สำหรับงานของเขาเกี่ยวกับ การปลดปล่อยเทอร์มิออนิก และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับการค้นพบ กฎของริชาร์ดสัน ซึ่งได้ถูกตั้งชื่อขึ้นตามชื่อของเขา"
2472 เจ้าชาย ลูอิส-วิคเตอร์ ปิแอรร์ เรย์มอนด์ เดอ บรอ-กลี (หรือ เดอ บรอยก์) ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส "สำหรับการค้นพบธรรมชาติความเป็นคลื่นของอิเล็กตรอน"
ดูเพิ่มเติม สมมุติฐานของ เดอ บรอ-กลี
2473 จันทราเสการ์ เวนกาตะ รามาน ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย "สำหรับงานของเขาเกี่ยวกับการกระเจิงของแสง และ สำหรับการค้นพบ การกระเจิงของรามาน ซึ่งถูกตั้งชื่อขึ้นตามชื่อของเขา"
2475 เวอร์เนอร์ คาร์ล ไฮเซนเบอร์ก ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี "สำหรับการสร้างกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งนำไปสู่การค้นพบรูปแบบอื่นๆ ของ ไฮโดรเจน"
2476 เออร์วิน ชเรอดิงเงอร์
พอล ดิราค
ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย
 สหราชอาณาจักร
"สำหรับการค้นพบรูปแบบต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อ ทฤษฎีอะตอม"
2487 อิสิดอร์ อิซาค ราบี  สหรัฐ "สำหรับวิธีการสั่นพ้องของเขา สำหรับบันทึกคุณสมบัติทางแม่เหล็ก ของ นิวเคลียสของอะตอม"
2488 วูล์ฟคาง เออร์นสท์ เพาลี ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย "สำหรับการค้นพบหลักการกีดกันของเพาลี ซึ่งถูกเรียกตามชื่อของเขา"

พุทธศักราช 2493-2518[แก้]

ปี ชื่อ ประเทศ หัวข้อ
2496 ฟริตส์ เซอร์นิคะ ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ "สำหรับการสาธิตวิธีความแตกต่างของเฟส (phase contrast method) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับ สิ่งประดิษฐ์ของเขา -- กล้องจุลทรรศน์ชนิดที่ใช้ความต่างเฟส"
2497 มาซ บอร์น  สหราชอาณาจักร "สำหรับงานวิจัยพื้นฐานของเขาเกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตีความหมายเชิงสถิติของ ฟังก์ชันคลื่น"
2498 วิลลิส ยูจีน แลมบ์  สหรัฐ "สำหรับการค้นพบของเขาเกี่ยวกับ โครงสร้างละเอียด (fine structure) ของ ความถี่จำเพาะ (spectrum) ของไฮโดรเจน". ดูเพิ่มเติม การเลื่อนของแลมบ์ (Lamb shift).
2507 ชาร์ลซ์ ฮาร์ด เทาซ์
นิโคเลย์ เจนนาดิเยวิช บาซัฟ
อเลกซานดระ โพรโครัฟ
 สหรัฐ
ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
ธงของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
"สำหรับงานพื้นฐานเกี่ยวกับ อิเล็กทรอนิกส์ควอนตัม (quantum electronics) ซึ่งนำไปสู่การสร้าง เครื่องสั่น (oscillator) และ เครื่องขยาย (amplifier) โดยยืนพื้นบนหลักการของ เมเซอร์-เลเซอร์ (maser-laser) "
2508 ชินิชีโร-อิทิโร โทโมนากะ
จูเลียน ชวิงเกอร์
ริชาร์ด ฟิลลิพส์ ฟายน์มัน
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
 สหรัฐ
 สหรัฐ
"สำหรับงานพื้นฐานของพวกเขาเกี่ยวกับ อิเล็กโทรดายนามิกส์ควอนตัม (quantum electrodynamics) โดยผลที่ตามมาได้หยั่งรากลึกลงไปในฟิสิกส์ของอนุภาคพื้นฐาน (physics of elementary particles) "
2509 อัลเฟรด คาสเทลอร์ ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส "สำหรับการค้นพบและพัฒนาทัศนวิธีในการศึกษา การสั่นพ้องแบบเฮิรตซ์ (Hertzian resonances) ในอะตอม"
2514 เดนนิส กาบอร์  สหราชอาณาจักร "สำหรับสิ่งประดิษฐ์ของเขา และ การพัฒนาวิธีการโฮโลแกรม (holographic method) "

พุทธศักราช 2519-2543[แก้]

ปี ชื่อ ประเทศ หัวข้อ
2524 นิโคลาส โบลมเบอร์เกน
อาเธอร์ ลีโอนาร์ด ชอว์โลว์
 สหรัฐ
 สหรัฐ
"สำหรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการหาความถี่จำเพาะโดยใช้เลเซอร์ (laser spectroscopy) "
2532 นอร์แมน ฟอสเตอร์ แรมซี  สหรัฐ "สำหรับการประดิษฐ์วิธีการสนามการสั่นแยก (separated oscillatory fields method) และ การใช้ประโยชน์ของมันใน เมเซอร์ไฮโดรเจน (hydrogen maser) และ นาฬิกาอะตอมอื่นๆ (atomic clocks) "
ฮานส์ จอร์จ เดอเมลท์
วูลฟ์กาง พอล
 สหรัฐ
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
"สำหรับการพัฒนาเทคนิคการกักขังไอออน (ion trap technique) "
2540 สตีเฟน ชู
โคลด โคเฮน-ทานนุดจิ
วิลเลียม แดเนียล ฟิลลิพส์
 สหรัฐ
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
 สหรัฐ
"สำหรับการพัฒนาวิธีการทำให้อะตอมเย็นลง และ การกักขังอะตอม ด้วยแสงเลเซอร์"

พุทธศักราช 2543-2549[แก้]

ปี ชื่อ ประเทศ หัวข้อ
2544 อีริค แอลลิน คอร์เนลล์
วูล์ฟกาง เคทเทอร์ลี
คาร์ล เอดวิน ไวอ์แมน
 สหรัฐ
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
 สหรัฐ
"สำหรับการบรรลุผลสำเร็จในการทำ สถานะควบแน่นแบบ โบส-ไอน์สไตน์ ใน แก๊สอัลคาไลเจือจาง และ สำหรับ การแรกเริ่มศึกษาพื้นฐานของคุณสมบัติของ สถานะควบแน่น"
2548 รอย เจย์ กลอเบอร์  สหรัฐ "สำหรับการมีส่วนร่วมในทฤษฎีควอนตัมของ ความพร้อมเพรียงเชิงทัศนศาสตร์ (optical coherence) "
จอห์น ลิวอีส ฮอลล์
ธีโอดอร์ วูล์ฟกาง ฮานช์
 สหรัฐ
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
"สำหรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนา การหาความถี่จำเพาะที่มีความแม่นยำโดยการใช้เลเซอร์ รวมไปถึงเทคนิคหวีความถี่เชิงทัศนศาสตร์ (optical frequency comb technique) "

บทความที่เกี่ยวข้องอื่นๆ[แก้]

อ้างอิง และ หมายเหตุ[แก้]

  1. "นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลที่เกี่ยวข้องกับ ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และ ทัศนศาสตร์". the Nobel Foundation. 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-08-31.
  • The politics of excellence, beyond the nobel prize, R. Friedman, 2002.
  • "Nobel Century: a biographical analysis of physics laureates", in Interdisciplinary Science Reviews, by Claus D. Hillebrand, June 2002, No 2. p.87-93.
  • Atomic, Molecular, and Optical Physics, National Academy Press, 1986

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]