ฟอร์แรมมินิเฟอราขนาดใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟอร์แรมมินิเฟอราขนาดใหญ่
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Eukaryota
อาณาจักร: Rhizaria
ไฟลัม: Foraminifera
อันดับ: Fusulinida
Superfamilies

Archaediscacea
Colaniellacea
Earlandiacea
Endothyracea
Fusulinacea
Geinitzinacea
Moravamminacea
Nodosinellacea
Palaeotextulariacea
Parathuraminacea
Ptychocladiacea
Tetrataxacea
Tournayellacea

ฟิวซูลินิด หรือ ฟอแรมมินิเฟอราขนาดใหญ่ คือกลุ่มของโปรโตซัวไฟลั่มฟอแรมมินิเฟอราที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ฟิวซูลินิดจะสร้างเปลือกของสารเนื้อปูนซึ่งเป็นสารแคลไซต์เนื้อละเอียด พบเป็นซากดึกดำบรรพ์อย่างแพร่หลายในเนื้อหินปูน อย่างเช่นแนวเทือกเขาหินปูนในจังหวัดราชบุรี สระบุรี และลพบุรี ซึ่งถือเป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีที่สำคัญ

ฟูซูลินิดพบตั้งแต่ช่วงปลายของอนุยุคมิสซิสซิปเปียน[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง] พบอาศัยอยู่ในทะเลของยุคคาร์บอนิเฟอรัสและยุคเพอร์เมียน ฟิวซูลินิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีที่ดีสำหรับหินอนุยุคเพนซิลวาเนียนและยุคเพอร์เมียน อย่างไรก็ตามฟิวซิลินิดได้สูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อสิ้นสุดยุคเพอร์เมียน[ต้องการอ้างอิง]

Triticites sp.

แม่แบบ:Protist-stub