ฟอนต์เพื่อชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟอนต์เพื่อชาติ เป็นการประกวดไทป์เฟซอักษรไทยเพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ จัดโดยชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thai Electronics Publishing Club: TEPCLUB) เมื่อ พ.ศ. 2545-2546 ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อให้แบบอักษรเป็นตัวพิมพ์มาตรฐาน สำหรับใช้เป็นตัวพิมพ์ในเนื้อหาข้อความ และเผยแพร่สู่สาธารณชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย[โปรดขยายความ]

แบบตัวพิมพ์ที่ได้รับรางวัลมี 10 แบบ ได้แก่

  • อักษราเมธี (Aksaramatee) โดย ไพโรจน์ เปี่ยมประจักพงษ์ และ บวร จรดล
  • จุฬาน่ารัก (ChulaNarak) โดย จักรินทร์ สิงห์หนู
  • ซีเอ็ม ประสานมิตร (CmPrasanmit) โดย สมศักดิ์ งามรุ่งวิเชียร และ กัลยาณมิตร นรรัตน์มิตรพุทธิ
  • ดีซี-ปาลมงคล (DC-Palamongkol) โดย เดชา วุ้นก้อน
  • ฟ้อนเล็บ (FonLeb) โดย สุชาติ วิวัฒน์ตระกูล
  • หิมพานต์ (Himmaparnt) โดย โอภาส บุญครองสุข
  • คณิกา (KaniGa) โดย เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช
  • นาคราช (Nakaracha) โดย ชัยชาญ เรืองเจริญผล
  • พีเอสเค สมาร์ท (Psk Smart) โดย ศุภกิจ เฉลิมลาภ
  • เอสอาร์ ฟ้าใหม่ (SR FahMai) โดย ไพโรจน์ ธีระประภา

แบบตัวพิมพ์ทั้งหมดเป็นรูปแบบโอเพนไทป์ และเข้ารหัสแบบยูนิโคด แต่ละแบบมี 4 ไทป์เฟซคือ ตัวปกติ ตัวหนา ตัวเอน และตัวหนาเอน

อ้างอิง[แก้]

  • ธวัชชัย ศรีสุเทพ. ฟอนต์ไหนดี?. กรุงเทพฯ : มาร์คมายเว็บ, 2549. ISBN 978-974-93902-6-9
  • รายชื่อผู้สร้างฟอนต์นำมาจาก บทแนะนำหนังสือ Open Types ซึ่งสอดคล้องกับรายละเอียดคุณสมบัติในไฟล์ฟอนต์