วงเดือน อินทราวุธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พ-วงเดือน ยนตรรักษ์)
พ.วงเดือน อินทราวุธ
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด11 ตุลาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
พ.วงเดือน อินทราวุธ
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
คู่สมรสณัฐ ยนตรรักษ์
บุตร3 คน
อาชีพ
  • นักแสดง
  • นักธุรกิจ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2521–2523
ผลงานเด่นดร.วิกันดา - เมียหลวง (2521)
คุณน้ำทิพย์ - ลูกทาส (2522)

พ.วงเดือน อินทราวุธ หรือ พ.วงเดือน ยนตรรักษ์ (อ่านว่า พะวงเดือน) ชื่อเล่น น้ำตาล เป็นอดีตนักแสดงหญิงชาวไทย ที่มีผลงานแสดงช่วงสั้นๆ ระหว่าง พ.ศ. 2521–2523 มีผลงานจากภาพยนตร์เรื่อง เมียหลวง (2521), ลูกทาส (2522) และผลงานแสดงละครจำนวนหนึ่ง

ประวัติ[แก้]

วงเดือน อินทราวุธ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนสุดท้องของเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ กับนายพิรุณ อินทราวุธ อดีต ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่ [1] จบการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแสดงภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ต่างประเทศ และสมรสกับณัฐ ยนตรรักษ์ นักเปียโนที่มีชื่อเสียง มีบุตร 3 คน ชื่อ พณ (ลูกนัท) [2] พารณี (ลูกตาล) และ พิณนรี (ลูกจันทร์) [3]

ในช่วงการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2549 พ-วงเดือน และสามี ร่วมการแสดงบนเวทีโดยขึ้นมาเล่นเปียโน และขับร้องเพลง ที่สนามหลวงและลานพระบรมรูปทรงม้าด้วย[4] และในปี พ.ศ. 2551 ที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ชุมนุมขับไล่รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ทั้งคู่ก็ได้กลับมาร่วมร้องและดนตรีบนเวทีอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะเพลงหนักแผ่นดิน

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

  • ประชาชนชาวแฟลต (2521) ทางช่อง 3
  • ค่าของคน (2521) ทางช่อง 5
  • น้ำเซาะทราย (2522) ทางช่อง 5

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติ เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-16. สืบค้นเมื่อ 2007-11-14.
  2. สัมภาษณ์ พณ ยนตรรักษ์ จากสกุลไทย ฉบับที่ 2653 ปีที่ 51 ประจำวัน อังคาร ที่ 23 สิงหาคม 2548[ลิงก์เสีย]
  3. ขอเวลานอก : "เสียงเพลงเพื่อความสุข" จากใจทายาทนักเปียโน "ลูกจันทร์" พิณนรี ยนตรรักษ์ [ลิงก์เสีย]
  4. "เพลงพระราชนิพนธ์ ความฝันอันสูงสุด บรรเลง-ขับร้องโดย ณัฐ - พ.วงเดือน ยนตรรักษ์ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2549 ในการชุมนุมการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-11-14.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]