พูดคุย:ฌาน ดาร์ก

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พูดคุย:โยนออฟอาร์ค)
ฌาน ดาร์ก เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิศาสนาคริสต์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ฌาน ดาร์ก หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ฌาน ดาร์ก เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ฌาน ดาร์ก หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ข้อความจากบทความเดิม[แก้]

1 พฤษภาคม 2552 บทความนี้ได้รับการแปลใหม่ทั้งหมดเนื่องด้วยเนื้อหาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจนไม่สามารถจะทำให้สอดคล้องกับเนื้อหาเดิมที่แปลทิ้งไว้ครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2550) แต่ถ้าผู้ใดต้องการจะนำเก็บกวาดรวมเข้ากับที่แปลใหม่ไว้ก็เชิญได้ค่ะจากข้อมูลข้างล่างนี้ --Matt 04:30, 2 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เนื้อหาเดิม:

โยนออฟอาร์ค (Jeanne d'Arc, ชาน ดาร์ก) (ชาตะ 6 มกราคม พ.ศ. 1955 (ค.ศ. 1412) มรณะ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 1974 (ค.ศ. 1431)

ได้รับฉายาว่า สาวพรหมจรรย์แห่งออร์เลออง เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส โยนออฟอาร์คเป็นคนเคร่งศาสนา ชอบไปสวดมนต์ต์ทุกวันเสาร์ที่โบสถ์แบร์มง (Bermont) ใกล้กับเมืองเกรอ (Greux) ในช่วงสงครามร้อยปี (Hundred Years' War)

หลังจากได้ยินเสียงจากพระเจ้าสั่งให้เธอเป็นผู้ปลดปล่อยฝรั่งเศส เธอก็ได้นำทัพฝรั่งเศสออกรบกับกองทัพอังกฤษที่รุกเข้ามา และในที่สุดก็ถูกจับ และถูกเผาในกองเพลิงหลังที่ถูกตัดสินว่าเป็นแม่มด

บริบท[แก้]

โยนออฟอาร์ค

สันนิษฐานว่าโยนออฟอาร์คเกิดที่เมืองดงเรมี ในแถบที่ราบของแคว้นลอแรน ทางภาคตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส เธอถือกำเนิดในครอบครัวชาวนา ตระกูล "ดาร์ก" (ฐานะค่อนข้างดี และถูกเรียกว่า เกษตรกร) ในช่วงสงครามร้อยปีของการรบกันระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ในสมัยนั้น พวกอังกฤษที่เป็นพันธมิตรกับพวกบูร์กีญงยึดครองดินแดนฝรั่งเศสไว้ส่วนหนึ่ง ฝรั่งเศสปราศจากกษัตริย์ปกครองนับตั้งแต่การสวรรคตของพระเจ้าชาลส์ที่ 6 หรือที่เรียกว่า ชาลส์ผู้บ้าคลั่ง ในปี พ.ศ. 1965 (ค.ศ. 1422)

ถึงแม้ว่าพระองค์จะมีผู้สืบราชบัลลังก์ อันได้แก่มกุฎราชกุมารชาลส์ ราชบังลังก์ฝรั่งเศสได้ถูกอ้างสิทธิ์ว่าเป็นของกษัตริย์อังกฤษ พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นผู้เยาว์อยู่ อันเป็นผลพวงจากสนธิสัญญาตรัว (Treaty of T royes) ที่ลงนามโดยอิซาโบแห่งบาวาเรีย (Isabeau of Bavaria) ราชินีแห่งฝรั่งเศสและผู้สำเร็จราชการ กับพระเจ้าเฮนรีที่ 5 ของอังกฤษ ในปี พ.ศ. 1965 (ค.ศ. 1420 อันเนื่องมาจากการพ่ายสงครามอย่างย่อยยับของอาร์มาญัก อัศวินฝรั่งเศส ในยุทธการที่อาแชงกูร์ (Battle of Agincourt) เมื่อห้าปีที่แล้ว ตามที่ว่าไว้ในสนธิสัญญา พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ได้อภิเษกกับแคเทอรีน ธิดาของพระเจ้าชาลส์ที่ 6 และเมื่อพระเจ้าชาลส์ที่ 6 สวรรคต มงกุฎจะตกเป็นของรัชทายาท ผู้ซึ่งรวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกัน สนธิสัญญานี้เป็นการขัดขวางมิให้มกุฎราชกุมารฝรั่งเศสขึ้นครองราชย์ และถูกคัดค้านโดยบุคคลชั้นสูงของฝรั่งเศส

ประวัติโยนออฟอาร์คในฐานะนักบุญ[แก้]

นักบุญโจน ออฟ อาร์ค องค์อุปถัมภ์ประเทศฝรั่งเศส ระลึกถึงทุกวันที่ 30 พฤษภาคม

โจนเกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม 1412 ในหมู่บ้านโดมเรมี ซึ่งอยู่ในเมืองลอร์เรนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส ครอบครัวของเธอศรัทธาและยากจน เมื่อโจนมีอายุ 12 ขวบเธอได้ยินเสียงจากสวรรค์ ซึ่งให้คำแนะนำเธอเสมอ เธอบอกว่าเป็นเสียงของอัครเทวดามีคาเอล และของนักบุญแคธเธอรีนแห่งอเล็กแซนเดียและนักบุญมาร์กาเรต มรณสักขีของพระศาสนจักรสมัยแรกเริ่ม ผู้ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคริสตชนในสมัยกลาง

เมื่อเสียงสวรรค์ได้บอกเธอให้สถาปนาเจ้าชายโดฟิน พระราชทายาทแห่งราชบัลลังก์เป็นกษัตริย์ โจนมึนงงไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ในที่สุด เสียงได้บอกเธอไปหานายทหารชื่อ โรเบอร์ต เดอะ โบ ดริคอร์ท ผู้ซึ่งควบคุมเมืองแวนคูเลียส์ที่อยู่ใกล้ๆ เขาเป็นคนที่จงรักภักดีต่อพระราชา ขอกำลังทหารจากเขาพาเธอไปเข้าพบเจ้าชายโดฟิน เดอะโบดริคอร์ทได้ปฏิเสธเธอในตอนแรก แต่ได้ช่วยเหลือเธอหลังจากที่เธอได้ทำนายอย่างถูกต้องแม่นยำว่า อังกฤษจะยึดเมืองออร์ลีนส์ได้

เมื่อโจนพร้อมด้วยทหารอารักขาออกเดินทางไปยังพระราชวังชินนอนที่เจ้าชายโดฟินประทับอยู่ เธอมีอายุเพียง 17 ปี เธอตัดผมสั้น และสวมเสื้อผ้าผู้ชาย เหมาะสำหรับงานที่เธอได้รับมอบหมายให้ทำตลอดชีวิตอันสั้นของเธอ ที่พระราชวัง คณะของเธอได้เข้าไปในห้องโถงโอ่อ่าสำหรับต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เต็มไปด้วยข้าราชบริพาร เจ้าชายโดฟินทรงอาภรณ์เรียบๆธรรมดา และกำลังคลุกคลีกับคนที่มาในงาน อย่างไรก็ตาม โจนหาเจ้าชายจนพบ และถวายความเคารพอย่างสมพระเกียรติ

ทันทีเธอได้ทูลเจ้าชายชาร์ลส์ (โดฟิน) ว่า พระเป็นเจ้าได้ส่งเธอมาช่วยพระองค์ ผู้ซึ่งจะได้ขึ้นครองราชย์สวมมงกุฎเป็นพระราชาในเมืองไรมส์ เมื่อเจ้าชายชาร์ลส์ได้ขอหลักฐานข้อพิสูจน์ เธอได้เปิดเผยคำภาวนาที่พระองค์ได้ทรงวอนขอพระเป็นเจ้า ตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป องค์ชายก็มีความเชื่อมั่นในตัวเธอ

งานชิ้นต่อไปของเธอคือการปลดแอกเมืองออร์ลีนส์ แต่งตัวด้วยชุดเกราะและดาบ เธอจะนำหน้ากองทหาร ไม่ใช่เพื่อทำลายชีวิต แต่เพื่อนำวิญญาณไปหาพระเจ้า โจนได้เดินทางไปยังเมืองบลอยส์ ที่ซึ่งเธอได้รวบรวมกองทหารฝรั่งเศส ทุกคืนมีการขับร้องเพลงสรรเสริญแม่พระ ชายที่ปรารถนารับใช้ประเทศชาติต้องไปแก้บาปรับศีลและฟังมิสซา โจนได้สั่งห้ามทหารพูดจาหยาบคายและไม่อนุญาตหญิงโสเภณีเข้ามาในค่ายทหาร

โจนตั้งใจจะย่ำเข้าไปในเมืองออร์ลีนส์ แต่นายพลทหารฝรั่งเศสไม่มั่นใจในแผนการของเธอ เขาเชื่อว่า การต่อสู้โดยผ่านป้อมปราการของอังกฤษเข้าไปโดยตรง จะเป็นภัยพินาศอันใหญ่หลวง พวกเขาตัดสินใจบุกเข้าไปในเมืองโดยทางอ้อม ด้วยความขุ่นเคืองใจมาก โจนจึงทักท้วงว่า "ท่านคิดหลอกข้าพเจ้า แต่ท่านได้หลอกตัวท่านเอง เพราะข้าพเจ้าได้นำมาให้ท่านความช่วยเหลือเหนือธรรมชาติ ความช่วยเหลือจากองค์พระเจ้า ซึ่งอัศวินหรือบ้านเมืองต้องการ"

เมื่อโจนนำทหารหนึ่งพันคนเข้าไปในเมือง ประชาชนได้โห่ร้องต้อนรับเธอด้วยความยินดี เธอได้ขอร้องชาวอังกฤษให้วางอาวุธโดยสัญญาว่าจะไว้ชีวิตทุกคน แต่เธอกลับได้รับการดูถูกเยาะเย้ย ด้วยความเชื่อมั่น โจนได้นำกองทหารไปสู่ชัยชนะ ตามที่เธอได้ทำนายไว้ เธอได้รับบาดเจ็บจากลูกศรที่หน้าอกของเธอ เธอได้ดึงลูกศรออกด้วยมือของเธอเอง และกลับเข้าไปในสนามรบ หลังจากการต่อสู้อย่างดุเดือดเป็นเวลาหลายชั่วโมงที่ป้อมบัญชาการของศัตรู ทหารฝรั่งเศสมีกำลังเหนือกว่าทหารอังกฤษ วันที่ 7 พฤษภาคม 1429 เป็นวันเริ่มชัยชนะของฝรั่งเศส

เมื่อโจนได้พบเจ้าชายโดฟินที่เมืองทัวส์ เธอได้รบเร้าให้พระองค์เสด็จเข้าเมืองไรมส์เพื่อขึ้นครองราชย์ทันที การสถาปนาเป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากพระองค์ทรงตั้งพระทัยให้กองทหารชิงกลับคืนมาเมืองต่างๆ ที่ถูกอังกฤษยึดไปบนเส้นทางสู่เมืองไรมส์ ทุกสิ่งก็สำเร็จตามพระราชหฤทัย ในสงครามแห่งปาเตทหารอังกฤษได้ถูกฆ่าตายเกือบสามพันคน แต่ทหารฝรั่งเศสตายแค่สามคนเท่านั้น เจ้าชายโดฟินได้เสด็จถึงเมืองไรมส์ที่ซึ่งในพิธีเก่าแก่สง่างามพระองค์ได้รับ การสถาปนาเป็นกษัตริย์ พระพรและการสวมมงกุฎจากพระอัครสังฆราช

เสียงสวรรค์ได้เตือนโจนว่าเธอจะถูกจับกุม และในระหว่างการต่อสู้เธอได้ตกเป็นเชลยของเบอร์กัน ดี พันธมิตรของอังกฤษ แล้วเธอถูกขายให้อังกฤษ

การถูกคุมขังและขึ้นศาลได้เปิดโอกาสให้โจนเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ทางจิตวิญญาณ ที่ศาสนศาลในเมืองรวน ผู้กล่าวหาชาวอังกฤษและเบอร์กันดี ต้องการตัดสินลงโทษเธอ ในข้อหาขัดต่อความเชื่อของพระศาสนา โดยเหตุผลทางการเมือง โจนได้สู้ความด้วยตัวเธอเอง จากข้อกล่าวหาฉกรรจ์หลายกระทง ด้วยความเที่ยงธรรม ความกล้าหาญ และปรีชาญาณ พระสังฆราชแห่งเมืองบิวเวส์เป็นผู้ตัดสินคดี และได้ลงโทษเผาโจนทั้งเป็นที่หลักประหาร โดยข้อหาเธอมีความเชื่อขัดกับพระศาสนา

ด้วยความหวาดหวั่น โจนเซ็นชื่อถอนคำพูดบางส่วน แต่ด้วยกำลังใจจากเสียงสวรรค์ เธอได้ยกเลิกการเซ็นชื่อนั้น ก่อนตาย โจนได้ให้อภัยศัตรูของเธอ และได้ขออภัยสำหรับความผิดพลาดที่เธอได้เคยทำ เธอได้ขอให้คนช่วยชูไม้กางเขน เพื่อเธอจะได้มองเห็นองค์พระเยซูคริสตเจ้า ขณะที่พระเพลิงล้อมรอบตัวเธอ เธอได้เรียกพระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า จนกระทั่งเธอหมดลมหายใจ วันระลึกถึงเธอ คือ วันที่ 30 พฤษภาคม 1431 ซึ่งเป็นวันฉลองนามนักบุญของเธอ

ยี่สิบห้าปีต่อมา ในปี 1456 ศาสนศาลได้ประกาศว่า การขึ้นศาลของโจนและการตัดสินลงโทษเธอ เป็นโมฆะเนื่องจากบิดเบือนความจริง และผิดกฎหมาย ทั่วประเทศฝรั่งเศสได้มีขบวนแห่ระลึกถึงวีรกรรมของโจน ในการกู้ชาติ ในปี 1909 นักบุญพระสันตะปาปาปิโอที่ 10 ได้แต่งตั้งโจนเป็นบุญราศี และในปี 1920 พระสันตะปาปาเบเนดิกที่ 15 ได้แต่งตั้งเธอเป็นนักบุญ

ตราบจนปัจจุบันนี้ นักบุญโจนเป็นแบบอย่างแห่งความบริสุทธิ์ใจ ความเร่าร้อนในการกอบกู้วิญญาณ และการทำตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า

บทสวดของนักบุญโยนออฟอาร์ค[แก้]

ข้าแต่พระเป็นเจ้า โดยคำวิงวอนของนักบุญโจน ออฟ อาร์ค โปรดประทานพระหรรษทานให้เรารักษาดวงใจและวิญญาณของเราให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ โดยการแก้บาปรับศีลอย่างสม่ำเสมอและการฟังมิสซา ให้เรารัก ให้อภัย และทำดีต่อศัตรูของเรา ให้เราสวดทุกวันให้คนบาปกลับใจ ให้เราฟังเสียงของพระองค์ทุกเวลา และทำตามน้ำพระทัยด้วยความยินดี อาเมน --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Mattis (พูดคุยหน้าที่เขียน) 21:30, 1 พฤษภาคม 2552 (ICT)