พูดคุย:เบนจามิน แฟรงคลิน

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบนจามิน แฟรงคลิน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ เบนจามิน แฟรงคลิน หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
วิทยาศาสตร์ เบนจามิน แฟรงคลิน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิวิทยาศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ทฤษฏีวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ เบนจามิน แฟรงคลิน หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ประวัติ เบนจามิน แฟรงคลิน


เบนจามิน แฟรงคลิน : Benjamin Franklin

เกิด วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1706 ที่กรุงบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียชีวิต วันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1790 ที่กรุงบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลงาน - ค้นพบประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ

            - ประดิษฐ์สายล่อฟ้า
 แฟรงคลินเกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1706 ที่กรุงบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา บิดาของเขาชื่อว่า โจซิอาร์ แฟรงคลินมีอาชีพทำสบู่ และเทียนไข   แฟรงคลินได้รับการศึกษาครั้งแรกที่โรงเรียนใกล้ ๆ บ้านเขานั่นเอง แต่เรียนอยู่ได้ 2 ปี เท่านั้น ก็ต้องลาออก เพราะครอบครัวของเขาค่อนข้างจะยากจน และต้องช่วยเหลือกิจการทำสบู่ และเทียนไขของครอบครัว แม้ว่ากิจการจะเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ แต่แฟรงคลินก็ยังต้องการศึกษาต่อ ซึ่งบิดาของเขาก็เห็นใจและเมื่อเขาอายุได้ 12 ปี บิดาก็ส่งเขาไปอยู่กับเจมส์ แฟรงคลิน พี่ชายคนโต ซึ่งมีกิจการโรงพิมพ์ชื่อว่านิว อิงแลนด์ เคอร์เรนท์ อยู่ที่กรุงบอสตัน แฟรงคลินช่วยงานในโรงพิมพ์อย่างขยันขันแข็ง โดยครั้งแรกเขาได้ฝึกงานในตำแหน่งช่างพิมพ์ ต่อมาเขาได้ลาออกจากโรงพิมพ์ของพี่ชาย เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกันขึ้น เหตุเกิดขึ้น จากวันหนึ่งแฟรงคลิน ได้นำงานเขียนของเขาไปใส่รวมไว้กับงานของนักเขียนคนอื่น เมื่อเจมส์ได้อ่านก็รู้สึกชอบ และตีพิมพ์เรื่องของแฟรงคลินเมื่อผลงานชิ้นนี้เผยแพร่ออกไป ปรากฏว่าเป็นที่นิยมของชาวเมือง แฟรงคลินจึงออกมาเปิดเผยว่านั่นคือบทความของเขา ทำให้พี่ชายเขาโกรธมาก และก็มีปากเสียงกับแฟรงคลินอย่างรุนแรง
          หลังจากที่แฟรงคลินลาออกจากโรงพิมพ์ของพี่ชาย เขาก็มาเปิดกิจการโรงพิมพ์ของเขาเอง ที่เมืองฟิลลาเดเฟีย ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุเพียง 17 ปี เท่านั้น ในช่วงแรก ๆ แฟรงคลินได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับข่าวสาร และความรู้ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก จากนั้นแฟรงคลินได้หันมาพิมพ์หนังสือประเภทปฏิทินพิสดารแทน ภายในปฏิทินจะมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมาย ทั้งคำคม และคติสอนใจ และแฟรงคลินยังได้พิมพ์หนังสือพิมพ์อีกด้วย โดยใช้ชื่อหนังสือพิมพ์ว่า เพนน์ซิลวาเนีย กาเซท  ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมาก นอกจากนี้แล้วเขายังพิมพ์หนังสือประเภทบันเทิงคดี และหนังสือตลกอีกด้วย ระหว่างนี้เขาได้ใช้เวลาที่ว่างในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และเดินทางไปประเทศอังกฤษเพื่อศึกษางานด้านการพิมพ์ โดยการสนับสนุนจากผู้บริหารท้องถิ่นคนหนึ่ง แต่เมื่อแฟรงคลินเดินทางไปถึงประเทศอังกฤษแล้ว ผู้บริหารคนนี้กลับไม่ส่งเงินไปให้เขาตามที่รับปากไว้ ทำให้แฟรงคลินต้องหางานทำ โดยเปิดโรงพิมพ์   เล็ก ๆที่บ้านพัก ต่อมาในปี ค.ศ. 1725 เขาจึงเดินทางกลับสหรัฐอเมริกา และเปิดโรงพิมพ์อีกครั้งหนึ่ง
          เมื่อกิจการโรงพิมพ์ของเขามีความมั่นคงดีแล้ว เขาจึงหันมาทำงานเพื่อสังคมบ้าง โดยเริ่มจากการรวบรวมสมาชิกเพื่อจัดตั้งห้องสมุดสาธารณะภายในเมืองขึ้น โดยสมาชิกภายในกลุ่มจะต้องจัดหาหนังสือมาเพื่อแลกเปลี่ยนให้กับสมาชิกคนอื่นได้อ่านต่อมาแฟรงคลินได้เข้าเล่นการเมือง เมื่อแฟรงคลินเป็นนักการเมืองแล้ว ทำให้ต้องเดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ รวมทั้งประเทศอังกฤษด้วย ซึ่งเมื่อเขาเดินทางไปยังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาได้มีโอกาสพบกับนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งที่ทำการทดลองเกี่ยวกับประกายไฟฟ้า จากเหตุนี้เองทำให้แฟรงคลินมีความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเรื่องที่เขาสนใจ มากที่สุดก็คือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า แฟรงคลินเริ่มสังเกตลักษณะของฟ้าแลบและ

สรุปว่า

        - สามารถให้แสงสว่างได้ และมีสีของแสง
        - มีเสียงดังซึ่งเรียกว่า "ฟ้าร้อง"
        - เคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูง
        - สามารถทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต วัตถุ และสิ่งก่อสร้างได้ หรือปรากฏการณ์ฟ้าผ่า ทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
        - มีกลิ่นคล้ายกำมะถัน


    จากการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเครื่องประจุไฟฟ้าสถิตของออตโต ฟอน เกริเก และการสังเกต

ลักษณะของฟ้าแลบในเบื้องต้น แฟรงคลินได้สันนิษฐานการเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ว่าน่าจะเกิดมาจากประจุไฟฟ้าบนท้องฟ้าแน่นอน แต่เพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น เขาจึงทำการทดลองครั้งแรกในปี ค.ศ. 1749 โดยใช้ว่าวที่ทำด้วยผ้าแพรแทนกระดาษ อีกทั้งมีเหล็กแหลมติดอยู่ที่ตัวว่าว ส่วนปลายสายป่านเขาได้ผูกลูกกุญแจเอาไว้ และผูกริบบิ้นไว้กับสายป่านอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้น ว่าวของแฟรงคลินก็จะเป็นตัวนำไฟฟ้า แฟรงคลินได้นำว่าวขึ้นในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง เมื่อฝนตกและทำให้สายป่านเปียก ผลปรากฏว่ามีประจุไฟฟ้าไหลลงมาทางเชือกเข้าสู่ลูกกุญแจ แต่แฟรงคลินไม่ได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้านั้น เนื่องมาจากเขาจับริบบิ้นซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้า จากนั้นเขาจึงลองใช้เศษหญ้าแห้งจ่อเข้ากับลูกกุญแจ ปรากฏว่าเกิดประจุไฟฟ้าไหลเข้าสู่มือเขา จากนั้นเขาก็นำลูกกุญแจวางลงพื้นดิน ก็เกิดประกายไฟฟ้าขึ้นอีก จากนั้นเขาจึงนำขวดเลเดน มาต่อเข้ากับกุญแจ ปรากฏว่าประจุไฟฟ้าไหลลงมาในขวด จากผลการทดลองแฟรงคลินสามารถสรุปถึงสาเหตุของการเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ว่าเกิดขึ้นจากประจุไฟฟ้าบนท้องฟ้า ซึ่งเกิดจากการเสียดสีระหว่างก้อนเมฆกับอากาศ ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตฟ้าแลบ ฟ้าร้อง เกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ยังคงเป็นความลับทางธรรมชาติอยู่จนกระทั่งเบนจามิน แฟรงคลิน ได้ค้นพบสาเหตุที่ทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และวิธีป้องกันความเสียหายที่เกิดจากฟ้าผ่า โดยการประดิษฐ์สายล่อฟ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก แฟรงคลิน ได้เพียงแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานยอดเยี่ยมเท่านั้น เขายังเป็นรัฐบุรุษคนสำคัญคนหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย


       จากการค้นพบประจุไฟฟ้าในอากาศครั้งนี้ นำไปสู่ความคิดในการประดิษฐ์สายล่อฟ้า เพื่อระบายประจุไฟฟ้าในอากาศไม่ทำให้เกิดความเสียหายจากฟ้าผ่า ในปี ค.ศ. 1752 แฟรงคลินได้ประดิษฐ์สายล่อฟ้าขึ้นสำเร็จเป็นครั้งแรก สายล่อฟ้าของแฟรงคลินมีลักษณะเป็นโลหะปลายแหลมผูกติดไว้บนยอดอาคารสูง ส่วนปลายโลหะเชื่อมต่อกับสายไฟยาวลงไปในแนวดิ่ง ห้ามคดหรืองอเด็ดขาด มิฉะนั้นอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ปลายของสายไฟจะถูกฝังลึกลงในพื้นดินพอสมควร ซึ่งบริเวณด้านล่างของหลุมนี้จะมีแผ่นโลหะขนาดใหญ่ปูเอาไว้ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลลงมานั้นกระจายออกไปบนแผ่นโลหะนี้ สายล่อฟ้าของแฟรงคลินถือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการป้องกันความเสียหายของอาคารสูง ที่มักจะถูกฟ้าผ่าได้ง่าย อีกทั้งผู้คนที่เดินไปมาตามท้องถนนไม่ให้ถูกฟ้าผ่าจนถึงแก่ชีวิตได้ การค้นพบครั้งนี้ยังทำให้แฟรงคลินได้ทราบเพิ่มเติมว่าประจุไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือ

ประจุไฟฟ้าบวก และประจุไฟฟ้าลบ

         ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือแฟรงคลินไม่ได้นำสายล่อฟ้าสไปจดทะเบียนสิทธิบัตร เขาต้องการให้ทุกคนสามารถทำใช้กันเองได้ เนื่องจากสายล่อฟ้าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำได้ง่าย ไม่สลับซับซ้อนอะไรนัก และจากผลงานชิ้นนี้แฟรงคลินได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็น

สมาชิกของราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน ด้วย ซึ่งสมาชิกราชสมาคมแห่งนี้ล้วนแล้วแต่เป็น นักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถทั้งสิ้น เป็นต้นว่า โรเบิร์ต ฮุค และเซอร์ไอแซก นิวตัน เป็นต้น

          แฟรงคลินเสียชีวิตในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1790 ถึงแม้ว่าเขาจะเสียชีวิตไปแล้ว แฟรงคลินยังได้สร้างคุณประโยชน์ไว้โดยการมอบทรัพย์สินส่วนหนึ่งเพื่อสร้างสาธารณประโยชน์ เช่น สร้างโรงเรียน ซ่อมแซมบ้านเรือนภายในเมืองบอสตัน และ

ฟิลลาเดเฟีย และอีกส่วนหนึ่งยังใช้ในการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แฟรงคลิน ต่อมาในปี ค.ศ. 1900 เขาได้รับการยกย่องจากสถาบันแห่งชาติสหรัฐฯ ในฐานะบุคคลผู้สร้างคุณประโยชน์ให้กับบ้านเมือง

ขอเอามาไว้หน้านี้ก่อนนะครับ เพราะดูเหมือนจะคัดลอกมาจากเว็บอื่น

-- มารวย บางสิม | คุยกับสหายแมว 20:08, 3 สิงหาคม 2553 (ICT)