พูดคุย:เทเลเท็กซ์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การนำข้อมูลออก[แก้]

สำหรับประเทศไทยนั้น ปี พ.ศ.๒๕๕๐ ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานการส่งเทเลเท็กซ์ในประเทศไทย แต่หากจะให้ระบบเทเลเท็กซ์สามารถแสดงตัวอักษรภาษาไทยได้ต้องมีการกำหนด มาตรฐานขึ้นมาใหม่เนื่องจากภาษาไทยมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนภาษาอังกฤษเนื่อง จากมีรายละเอียดหลายประการ ที่ต้องพิจารณาเช่น แต่ละจอจะให้มีกี่บรรทัด โดยการแปลงจากสามบรรทัดภาษาอังกฤษ ให้เป็นหนึ่งบรรทัดภาษาไทย เป็นต้น แต่ในประเทศไทยเคยออกอากาศเทเลเท็กซ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ถึงปี พ.ศ. 2539 ทางช่อง 3, 5 และ 7 โดยใช้การถอดเสียง (romanization) ตามหลักของราชบันฑิตยสถาน ต่อมาในปีพ.ศ. 2533 ได้ใช้ภาษาอังกฤษในการออกอากาศ.

ช่อง 5 เป็นช่องแรกที่ออกอากาศเทเลเท็กซ์เป็นภาษาไทย โดยไม่ได้ถอดเสียง เมื่อปี พ.ศ. 2532

ใน ประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว กัมพูชา เคยออกอากาศภาพและข้อมูลต่างๆ จากเทเลเท็กซ์ของยุโรป ต่อมา (เมื่อประเทศไทยเริ่มออกอากาศ) จากประเทศไทย โดยในประเทศลาวเรียกว่า '''ໂທລະພາບຂ່າວຕ່າງປະເທດ''' (โทละพาบข่าวต่างปะเทด) โดยทั้ง 2 ประเทศออกอากาศได้ยกเลิกการออกอากาศรายการนี้แล้ว โดยในประเทศลาวออกอากาศเมื่อปี 2512-2515 และกัมพูชาเมื่อปี 2530-2535<ref>จากการถ่ายทอด LTV Summer ทางช่อง สทล. ของประเทศลาว</ref>

ไม่รู้ว่าผู้นำข้อมูลออกมีเจตนาเช่นไร (ก่อกวน?) จึงนำข้อความมาวางไว้ก่อน --Nullzero (พูดคุย) 23:58, 14 มกราคม 2556 (ICT)