พูดคุย:เฉลิม อยู่บำรุง

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฉลิม อยู่บำรุง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ เฉลิม อยู่บำรุง หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
เฉลิม อยู่บำรุง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการเมืองและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการเมือง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ เฉลิม อยู่บำรุง หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

การใช้ ดร. กับ ร.ต.อ.[แก้]

ผมขอหารือหน่อยครับ ว่าการใช้คำนำหน้านามซึ่งได้รับพระราชทาน กับการใช้ ดร. คำไหนควรจะอยู่หน้าหรือหลัง

เช่น กรณีของ คุณหญิง กับ ดร. เคยมีการวินิจฉัยแล้วว่า คุณหญิง จะต้องอยู่ติดกับชื่อ (ดร. คุณหญิง ไม่ใช่ คุณหญิง ดร.)

แล้วกรณีนี้ควรจะเป็น ร้อยตำรวจเอก ดร.เฉลิม หรือ ดร.ร้อยตำรวจเอกเฉลิม ถึงจะถูกต้องครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Pongsak ksm (พูดคุยหน้าที่เขียน) 09:52, 30 ตุลาคม 2552 (ICT)


ตามหลักการทั่วไป คำนำหน้านามที่ได้รับพระราชทานหรือฐานันดรศักดิ์ จะอยู่ติดกับชื่อเสมอ แต่ว่า ดร. เป็นข้อยกเว้นครับ

มิฉะนั้นแล้ว อาจารย์คนหนึ่ง เมื่อได้รับการเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการไปเรื่อยๆ ผลจะออกมาดังนี้

  • อ.ดร.
  • ผศ.ดร.
  • รศ.ดร.
  • ดร.ศ.

กรณีอื่นๆ เช่น พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น --taweethaも 11:53, 30 ตุลาคม 2552 (ICT)


จริง ๆ แล้ว "ดอกเตอร์" หรือย่อว่า "ดร." ไม่ใช่ตำแหน่งทางวิชาการ (ตำแหน่งทางวิชาการ คือ ตำแหน่งที่พระมหากษัตริย์แต่งตั้งหรือที่กฎหมายรับรอง มี ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และอาจารย์)

คำว่า "ดอกเตอร์" ไม่มีกฎหมายรับรองให้ใช้ และเวลาเขียนในเอกสารราชการก็ไม่ระบุดอกเตอร์ แม้กระทั่งตำแหน่งทางวิชาการก็ตาม จะใช้แต่ "นาย, นาง, นางสาว, เด็กชาย, เด็กหญิง" และยศทางทหารตำรวจ เป็นต้น (ดู การใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านาม)

แต่บางทีในเอกสารราชการระดับทั่วไป หรือในเอกสารที่ต้องการยกย่องสรรเสริญเยินยอ หรือในเอกสารที่คนเขียนไม่รู้อะไรเท่าไรแต่เอาว่าเยินยอไว้ก่อนเป็นดี ก็ระบุเหมือนกัน เช่น เวลาลงชื่อ "ปตท. รศ. ดร. ผ.อ. กทม. ฟหกด. เอกอาสว.ทุจศีล กินชะมัด" เป็นต้น

แต่ที่เป็นทางการจริง ๆ ไม่ใช้อย่างนั้นเพราะถือว่าเป็นทางการน้อยกว่า นาย นาง ฯลฯ เช่น ดู พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นต้น

ฝรั่งเขาปรกติไม่ระบุ จะใช้แต่ชื่อไปเลย หรือจะเขียนแบบนี้ "John Lennon, assistant professor of Fake University" เพราะเขาถือว่าตำแหน่งพวกนี้ไม่ได้ทำให้ใครสูงกว่าใคร ทุกคนเสมอภาค และบางคนตำแหน่งสูงแต่พฤติกรรมอุบาทว์ก็ถมเถไป แต่บางทีในทางพิธีการจะเรียก "His Excellency" (พระเดชพระคุณ ฯพณฯ บลา ๆ ๆ) ก็มี แต่ประเทศไทยนั้นเจ้ายศเจ้าอย่าง จึงเป็นเรื่องจำเป็นจะต้่องมี

ส่วนในภาษาไทย ถ้าจะระบุ ต้องเว้นวรรคดังนี้เป็นต้น "อาจารย์ ดอกเตอร์ทวีคูณ บิลญเกตต์" หรือ "อ. ดร.ทวีคูณ..." (ดู หลักเกณฑ์การเว้นวรรค)

—— Clumsy พูดคุย | ๒๕๕๒.๑๐.๓๐, ๑๒:๒๗ นาฬิกา (ICT)


ถูกครับ ผมไม่ได้ว่า ดร. เป็นตำแหน่งวิชาการนะครับ แต่จะให้ดูว่า ผศ. กับ รศ. ต่างจาก ศ. ที่ ศ. เป็นตำแหน่งพระราชทาน ส่วนประเด็นอื่นๆ ตามไปดูในเว็บราชบัณฑิตแล้วก็เห็นตามนั้นครับ ไม่อาจพูดเป็นอย่างอื่นได้ เพราะเรายกให้ราชบัณฑิตเป็นผู้กำหนดมาตรฐานภาษาไทย ในขณะที่ภาษาอื่นๆ ไม่มีใครมากำหนดบังคับได้ แค่จะให้มีจุดหลัง Dr. Mr. Ms. ยังไม่รู้จะมีหรือไม่มีดีเลย

อนึ่งตัวอย่างที่คุณ Clumsy ยกมาเป็นความรู้ดีมาก แต่ยังไม่ได้ตอบว่าถ้าจำเป็นจะมี ดร. แล้ว จะเอาไว้หน้าหรือหลัง ร.ต.อ. --taweethaも 12:48, 30 ตุลาคม 2552 (ICT)


โดยส่วนตัวคิดว่าอยู่หลังครับ เป็น ร.ต.อ.ดร. -- KungDekZa | กล่องรับความคิดเห็น | ผลงาน 11:01, 1 พฤศจิกายน 2552 (ICT)