พูดคุย:สติปัฏฐาน 4

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงพระธรรมจักร
ธงพระพุทธศาสนาสากล
สติปัฏฐาน 4 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพระพุทธศาสนา และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ถ้าต้องการมีส่วนร่วมโครงการ สามารถเข้าร่วมได้ที่หน้าโครงการ
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ไม่ย้าย[แก้]

ที่ว่าย้ายบางส่วนไปสติปัฏฐานสูตร ตอนนี้ไม่ย้ายแล้วนะครับ เห็นว่าควรลบเลย เนื่องจากมีผู้ท้วงว่า ข้อความอาจละเมิดลิขสิทธิ์ ครับ โดยได้เขียนบทความขึ้นมาใหม่ให้แล้วนะครับ แยกออกเป็น ๒ ช่วง คือ สติปัฏฐาน 4 กับ สติปัฏฐานสูตร ใครว่าง ช่วยทำ รีไดเร็ก 2 กลุ่มนี้ไว้ด้วยกันด้วย จะอนุโมทนามากครับ.

-สติปัฏฐาน สติปัฎฐาน มหาสติปัฏฐาน มหาสติปัฎฐาน สติปฏฺฐาน มหาสติปฏฺฐาน

-สติปัฏฐานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร สติปัฎฐานสูตร มหาสติปัฎฐานสูตร สติปฏฺฐานสุตฺต มหาสติปฏฺฐานสุตฺต --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Budthai (พูดคุยหน้าที่เขียน) 15:22, 4 กรกฎาคม 2551 (ICT)

การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ 

ตรงนี้ขัดกับองค์ธรรมครับ เพราะทั้งเจตนา มนสิการ และอธิโมกข์ ทั้งหมดเกิดกับอนุปัสสนาจิตทุกดวง ฉะนั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะกล่าวว่า พ้นจากการคิดโดยตั้งใจ

การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ

การรู้โดยอัตโนมัติในพระไตรปิฎกอรรถกถาหมายถึง อัปปนาสมาธิภาวนามยญาณ ซึ่งในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร มัคคสัจจนิทเทส เรียกว่า อปรภาคมรรค. แต่ในปุพพภาคมรรคนั้น เพราะว่ายังไม่สามารถทำให้เป็นอัตโนมัติได้จึงต้องมาฝึก (สิกขา). และในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรเองก็ระบุไว้หลายที่ว่า สติปัฏฐานในสูตรนี้เป็นโลกิยะ คือ เป็นปุพพภาคมรรค. ฉะนั้น ตามมัคคสัจจนิทเทสอรรถกถา ทั้งถิรสัญญาและสติ ล้วนต้องฝึกด้วยการทำปุพพภาคมรรค คือ ฝึกความแตกฉานด้วยการท่องจำ การสอบถาม การฟัง การทรงจำ การสัมมสนะทั้งสิ้น ไม่ใช่จู่ๆจะเกิดอัตโนมัติขึ้นมาเองลอยๆ ได้โดยไม่ฝึกอะไร และไม่สามารถเกิดขึ้นมาเองลอยๆ โดยปราศจากเจตนา มนสิการ และอธิโมกข์ด้วย. --BallWarapol (คุย) 12:09, 15 ธันวาคม 2561 (ICT)