พูดคุย:วัดราชบุรณราชวรวิหาร

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงพระธรรมจักร
ธงพระพุทธศาสนาสากล
วัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพระพุทธศาสนา และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ถ้าต้องการมีส่วนร่วมโครงการ สามารถเข้าร่วมได้ที่หน้าโครงการ
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ
วัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ วัดราชบุรณราชวรวิหาร หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

วัดราชบุรณะมีจิตรกรรมฝาผนังที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ถึงขรัวอินโข่งจะไม่ได้ฝากฝีมือไว้ที่วัด แต่เป็นช่างฝีมือในสมัย ร.๑ เป็นภาพชุดพระเวสสันดรทั้ง ๑๔ กัณฑ์ และมีกรอบกระจก พร้อมกับภาพชุดอื่นๆ ที่รอการวินิจฉัยจากนักปราชญ์ราชบัณฑิต ภาพชุดเหล่านี้ขอดูได้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ

 พระพุทธปรางค์สร้างในสมัย ร.๓ เป็นสุดยอดฝีมือของช่างตระกูลไทยจีน มีท้าวจตุรทิศ ที่รอการวินิจฉัยว่าเป็นภาพของเทพหรือเทวดาองค์ใด นอกจากที่ด้านทิศเหนือที่เป็นภาพของท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวกุเวรอย่างแน่นอน แต่อีก ๓ รูปปั้นนั้น ยังไม่สามารถตัดสินใจลงความเห็นได้ว่าเป็นรูปปั้นของใคร
 มีศาสนสถานญี่ปุ่น ที่สร้างขึ้นในสมัยช่วง ๒๔๗๕ เมื่อวิศวกรชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตลง จึงดำริให้มีศาสนสุสานญี่ปุ่น มีพระญี่ปุ่นอยู่ประจำหมุนเวียนจากวัดโคย่าซัง ญี่ปุ่น
 พระอุโบสถมีความสวยงามมากแห่งหนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ ฝีมือของช่างเอกแห่งยุค เช่น สง่า มยุระ เจ้าของพู่กันเป็นต้น หน้าบันพระอุโบสถมีท้าวสักกะ ทิศตะวันออก ทิศใต้เป็นพระวิษณุ ทิศตะวันตกเป็นท้าวมหาพรหม และทิศเหนือเป็นสันดุสิต

๑. ประวัติวัด

   เดิมวัดราชบุรณะ มีชื่อว่า วัดเลียบ ข้อนี้มีสันนิษฐานได้ ๒ ประการ ๑. เป็นชื่อของพ่อค้าชาวจีนคนหนึ่ง ที่สร้างวัดถวาย มีชื่อว่าจีนเลี๊ยบ ต่อมา คำว่า เลี๊ยบ กลายมาเป็นคำว่า เลียบ ในหนังสือแสดงแผนที่สมัยอยุธยา ยังปรากฏว่าคำว่า วัดจีนเลียบ เป็นหลักฐาน ต่อมาคำว่า จีน ก็หายไป เหลือแต่คำว่า วัดเลียบเฉย ๆ ทั้งนี้มีกรมไปรษณีย์โทรเลข โรงไฟฟ้าวัดเลียบ เป็นข้อยืนยันได้ ๒. แถวนี้เป็นย่านที่มีต้นไม้ประเภทไทรชนิดหนึ่งชื่อว่า ต้นเลียบ ขึ้นอยู่ดาษดื่นมาก ฉะนั้น จึงมีชื่อว่าวัดเลียบ ต่อมา เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๓๖ สมเด็จพระเจ้าสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ แล้วกราบทูลขอพระราชทานชื่อใหม่ว่า "วัดราชบุรณ" ด้วยเหตุผลที่ในเมืองหลวง ต้องมีวัดสำคัญคู่พระนคร ๓ วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบุรณะ และวัดราชประดิษฐ์ อนึ่งคำว่า วัดเลียบ หลายคนเข้าใจผิดว่า เป็นถูกระเบิดเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ คือวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ เลยกลายเป็นวัดที่ถูกทำลายเรียบวุธ เป็นความเข้าใจผิด

๒. สิ่งสำคัญในวัด

     ๒.๑ พระพุทธปรางค์ สร้างใน พ.ศ. ๒๓๙๓ ในปีพระพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ไม่ถูกทำลายในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นพระปรางค์ทรงรูปข้าวโพด ประกอบด้วยฐานไพที ๒ ชั้น สูงจากพื่นถึงยอดนภศูลประมาณ ๓๐ กว่าเมตร ประดับด้วยลวดลายกระเบื้องจากเมืองจีน ซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน เป็นท้าวจตุโลกบาล คือท้าวธตรฐ ตั้งอยู่ทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก ตั้งอยู่ทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ ตั้งอยู่ทิศตะวันตก และท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณ ตั้งอยู่ทิศเหนือ โดยแต่ละองค์ถือถืออาวุธแตกต่างกันไป
  ๒.๒ พระอุโบสถหลังเก่า ตั้งอยู่ตรงที่เดียวกับหลังใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งภายในประกอบด้วยภาพชุดพระเวสสันดร และภาพนิทานพื้นเมืองต่างๆ ฝีมือเป็นของครัวนาค ปัจจุบันต้องไปดูได้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
 ๒.๓ พระวิหารหลังเก่า เดิมตั้งอยู่ตรงที่เดียวกับโรงเรียนพระปริยัติธรรมหลังปัจจุบัน กล่าวกันว่า สุนทรภู่เมื่อบวชอยู่วัดราชบุรณะนั้น ได้อาศัยอยู่ในพระวิหาร
 ๒.๔ วัดญี่ปุ่น มีพระพุทธรูปอายุมากกว่า ๔๐๐ ปี นำมาจากประเทศญี่ปุ่น ตั้งประดิษฐานอยู่ในเก๋งหรือศาสนสุสาน มีพระชาวญี่ปุ่นจากโคย่าซังมาจำพรรษา โดยเข้ารับพิธีอุปสมบทใหม่เป็นพระแบบเถรวาทของไทย ทุก ๓ ปีจะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาอยู่จำพรรษา
 ๒.๕ ศาลาสมเด็จฯ ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ หรือหลังพระอุโบสถ หน้าบันประกอบด้วยเรื่องราวจากทศชาติ เช่น พระเวสสันดร พระมโหสถ พระสุวรรณสาม พุทธประวัติ พระมาลัย เป็นต้น
 ๒.๖ ศาลาเทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นศาลาเก็บอัฐของต้นราชสกุล เทพหัสดิน ซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่สมเด็จพระสัมพันธวงศ์ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ (ตัน)
๒.๗ ศาลา ๒๕๐๐ ปี ภายในเป็นที่ประดิษฐานของสมเด็จพระมหาราชครู

๓. บุคคลสำคัญ

 ๓.๑ สมเด็จพระสังฆราช (มี) องค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัย ร. ๒ เมื่อได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ได้ย้ายมาเป็นอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุฯ มีบทบาทสำคัญในการช่วยฟื้นฟูจัดงานวิสาขบูชา สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
 ๓.๒ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) องค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัย ร. ๓ พระองค์หลังจากได้รับการสถาปนาแล้ว เนื่องจากวัดมหาธาตุซ่อมแซมกุฏิเสนาสนะเป็นการใหญ่ เป็นเวลาถึง ๖ ปี ฉะนั้น พระองค์สิ้นพระชนม์ที่วัดราชบุรณะ ก่อนหนึ่งปี่พระพุทธปรางค์จะเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์
 ๓.๓ พระราชพฤฒาจารย์ (เชียง) เมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ พระเถระผู้ใหญ่ของวัดหนีไปอยู่ที่อื่น เพราะสภาพวัดถูกทำลายจนหมดสิ้น ทางราชการประกาศยุบเลิกวัด แต่ท่านได้ต่อสู้และฟื้นฟูให้วัดกลับมาได้จนถึงปัจจุบัน
๓.๔ สุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดเลียบนี้ เป็นเวลา ๓ ปี ก่อนจะย้ายนิวาสสถานไปอยู่วัดเทพธิดาราม มีหลักฐานปรากฏอยู่ในนิราศภูเขาทอง และนิราศสุพรรณ
๓.๕ ขรัวอินโข่ง จิตรกรคู่พระทัยของในหลวง ร.๔ ได้ฝากฝีมือไว้ที่จังหวัดเพชรบุรี วัดบวรนิเวศ ฯลฯ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.28.52.3 (พูดคุย | ตรวจ) 09:39, 1 กันยายน 2551 (ICT)