พูดคุย:ราชวงศ์หยวน

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนื้อหาที่ย้ายมา[แก้]

ย้ายเนื้อหามาจาก ประวัติศาสตร์จีน รอการปรับรวมกับเนื้อหาในหน้าหลักเดิม Markpeak 11:45, 26 เมษายน 2007 (UTC)

หยวนชื่อจู่หรือกุบไลข่านเป็นปฐมจักรพรรดิหลังจากสามารถตีราชวงศ์ซ่งได้ ยุคสมัยนี้ได้มีชาวต่างประเทศเดินทางมาค้าขายเช่น มาร์โคโปโล มีการพิมพ์ธนบัตรจีนขึ้นครั้งแรก มีการแบ่งชนชั้น 4 ชนชั้น 1.มองโกล 2.อิสลามหรือชาวต่างประเทศ 3.ชาวจีนทางภาคเหนือ 4.ชาวจีนทางภาคใต้ มีการส่งกองทัพรุกราน ชวา เวียดนาม ญี่ปุ่น แต่ไม่ประสบความสำเร็จ แต่สมัยนี้อาณาเขตมีขนาดใหญ่มากหลังจากกุบไลข่านสิ้นพระชนม์ ชนชั้นมองโกลได้กดขี่ชาวจีนอย่างรุนแรง จนเกิดกบฏ และสะสมกองกำลังทหารหรือกลุ่มต่อต้านขึ้น ช่วงปลายราชวงศ์หยวน จูหยวนจางได้ปราบปรามกลุ่มต่างๆและขับไล่ราชวงศ์หยวนออกไปจากแผ่นดินจีนได้สำเร็จ และจูหยวนจางสถาปนาราชวงศ์หมิง มีรายละเอียดดังนี้

ราชวงศ์หยวนอันเกรียงไกร[แก้]

ปี ค.ศ. 1257 เมิงเกอข่านของมองโกลกับน้องชาย คือ กุบไลข่าน ซึ่งเป็นหลานของเจงกีสข่าน นำกองทัพบุกตีอาณาจักรซ่ง ระหว่างการทำสงครามพี่ชายได้รับบาดเจ็บถึงแก่ชีวิต กุบไลข่านต้องถอนทัพกลับแล้วตั้งตนขึ้นเป็นข่านโดยไม่ได้ผ่านการคัดเลือกตามระบบจารีตของเผ่า จากนั้นเปลี่ยนชื่ออาณาจักรมองโกลเป็น ต้าหยวน ซึ่งหมายถึง การเริ่มต้นครั้งสำคัญ โดยสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิและย้ายเมืองหลวงไปที่ เยียนจิง (ปักกิ่งในปัจจุบัน) แล้วเปลี่ยนไปใช้ชื่อ ต้าตู กุบไลข่านเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หยวนทรงพระนามว่า พระเจ้าหยวนซื่อจู่

อาณาเขตแผ่นดินหยวนทั้งเอเชียและยุโรป[แก้]

ปี ค.ศ. 1279 พระเจ้าหยวนซื่อจู่ยกทัพตีทำลายราชวงศ์ซ่ง แผ่นดินจีนรวมเป็นหนึ่งอีกครั้ง สถาปนาราชวงศ์หยวนขึ้นบนแผ่นดินจีน อาณาเขตเริ่มจากทิศตะวันออกที่เกาหลี สิ้นสุดที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและมหาสมุทรอินเดีย ด้านเหนือจรดไซบีเรีย ถือเป็นมหาอาณาจักรแรกที่ครองพื้นที่ทั้งเอเชียและยุโรป

การแบ่งชนชั้นในแผ่นดินหยวน[แก้]

จักรพรรดิหยวนมีนโยบายปกครองเหี้ยมโหด เข้มงวด เพื่อควบคุมชนชาติพื้นเมืองในจีน โดยแบ่งเป็น 4 ชนชั้น คือ

ชนชั้นที่ 1 คือ ชาวมองโกลทั่วไป ฐานะทางสังคมสูงสุด ชนชั้นที่ 2 คือ ชาวเซ่อมู่ (หลากหลายพันธุ์) หมายถึง ชนเผ่าต่างๆของดินแดนทางตะวันตกและพวกซีเซี่ย ชนชั้นที่ 3 คือ ชาวฮั่น หมายถึง พวกที่เคยถูกอาณาจักรจินปกครองมาก่อน เช่น ชาวฮั่นทางเหนือ ชาวชี่ตาน ชาวหนี่เจิน ชนชั้นที่ 4 คือ ชาวใต้ หมายถึง ชาวฮั่นใต้แม่น้ำแยงซีเกียง และ ชนชาติอื่นๆ มีฐานะต่ำที่สุด

ผลที่เกิดจากการแบ่งชนชั้น คือ สิทธิในการรับราชการ โทษอาญาที่ชาวมองโกลทำร้ายชาวฮั่นจะเบาที่สุด กฎหมายห้ามการตอบโต้จากชนชั้นต่ำกว่าเมื่อชาวมองโกลทุบตีพวกเขา ห้ามชาวฮั่นเรียนหนังสือ การปกครองดูแลประเทศที่มิได้มาจากความเมตตาและความเท่าเทียมกัน เกิดความระแวงใจกันสร้างแรงกดดันแก่ชนชั้นต่างๆที่ถูกรังแกหรือเดียดฉันท์ เมื่อสะสมยาวนานจึงระเบิดออกทำลายล้างราชวงศ์หยวนลงในท้ายที่สุด

สาเหตุการล่มสลายของราชวงศ์หยวนอันแสนสั้น[แก้]

แม้จะมีอาณาเขตกว้างขวางทั้งเอเชียกับยุโรป แต่การปกครองของชาวมองโกลที่เข้มงวด โหดเหี้ยม มิได้มีพื้นฐานจากความเมตตาอันเป็นคุณธรรมของนักปกครองบ้านเมือง สร้างปัญหาสั่งสมยาวนานในทุกชนกลุ่มของอาณาจักรใหญ่ มันบ่อนทำลายความเข้มแข็งของผู้ปกครองชาวมองโกลซึ่งมีเวลาครองอำนาจเพียงประมาณ 99 กว่าปีเท่านั้นก็ถึงกาลล่มสลาย โดยสรุปสาเหตุหลักได้ดังนี้

  1. เดิมทีนั้นชาวมองโกลชำนาญการรบ มิใช่การปกครอง การบริหารบ้านเมืองจึงสับสน เลือกใช้มาตรการไม่เหมาะกับสถานการณ์ มีความหวาดระแวงสูง กดขี่ข่มเหงชาวบ้านมากเกินควร
    1. ขุนนางมองโกลขูดรีด ฉ้อราษฎร์ เก็บภาษีสูงตามอำเภอใจ เศรษฐกิจพังทลาย ความอดอยากของชาวบ้านเพิ่มทวี
      1. การแบ่งชนชั้นประชาชนลุกลามไปถึงพระในศาสนาของชาวฮั่นซึ่งตัวแทนศาสนาลัทธิลามะซึ่งราชวงศ์หยวนนับถือต่างใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงเสมอ จึงสร้างความแค้นสะสมแก่ชาวบ้าน
        1. ชาวมองโกลแสวงหาความสุขสบายบนแผ่นดินอุดมสมบูรณ์ของชาวฮั่น จึงละเลยฝึกฝนการทหาร ทำให้กองทหารด้อยคุณภาพลง

วาระสุดท้ายของอาณาจักรหยวน[แก้]

ปัญหาสั่งสมในกลุ่มชาวบ้านทั้งแผ่นดินอันเกิดจากการบริหารประเทศของราชวงศ์หยวน นำไปสู่การก่อจลาจลตามเมืองต่างๆตอนปลายราชวงศ์ติดต่อกันนับสิบกว่าปี กอปรกับราชวงศ์หยวนพึ่งพากำลังทหารชำนาญรบเป็นหลัก แต่ระยะหลังกองทัพด้อยคุณภาพมาก เมื่อเผชิญหน้ากับกองทัพชาวบ้านที่เข้มแข็งและเต็มไปด้วยความแค้น จึงพบความพ่ายแพ้ต่อเนื่อง ลางร้ายแห่งการสูญเสียอำนาจเริ่มปรากฏให้เห็นชัดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มต่อต้านของ จูหยวนจาง ซึ่งมีอำนาจอยู่แถบภาคกลางและตอนล่างของลุ่มน้ำแยงซีเกียงเป็นกองทัพที่เข้มแข็งและคนมีคุณภาพมากที่สุด

ปี ค.ศ. 1368 จูหยวนจาง ยกทัพขึ้นเหนือยึดเมืองหลวง ต้าตู ของราชวงศ์หยวนได้ พระเจ้าหยวนซุ่นตี้กับชนชั้นปกครองมองโกลหลบหนีออกนอกด่าน ราชวงศ์หยวนจึงสิ้นสุดลงนับแต่นั้นมา ความเกรียงไกรของกองทัพและอาณาเขตของนักรบมองโกลกลายเป็นตำนานที่ชาวโลกมิเคยลืมเลือนและยกย่องความสามารถของเหล่านักรบบนหลังม้าที่ครอบครองดินแดนเอเชียและยุโรปตั้งแต่ยุครุ่งเรืองของเจงกีสข่านเรื่อยมาถึงกุบไลข่าน แม้พวกเขาจะมีเวลาครองอำนาจเหนือดินแดนเหล่านั้นน้อยนิดก็ตาม ประวัติศาสตร์ของโลกได้จารึกแสนยานุภาพของนักรบเอเชียบนหลังม้าที่ครอบครองดินแดนเอเชียและยุโรปเป็นครั้งแรก มันคือปฐมบทแห่งการล่าอาณานิคมของโลกในยุคต่อมา