พูดคุย:ราชกิจจานุเบกษา

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชกิจจานุเบกษา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ราชกิจจานุเบกษา หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

วันกำเนิดราชกิจจานุเบกษา[แก้]

ข้อมูลหลายแหล่งบอกว่าเป็นวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 แต่จากแหล่งอ้างอิงที่ใส่เข้าไปใหม่วันนี้ [1] ระบุถึงวันทางจันทรคติและสุริยคติครบถ้วน ผมตรวจสอบแล้วตรงกับวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1858 (ตรงกันทั้งวันและดิถี) แต่ขณะนั้นยังไม่ถึงสงกรานต์จึงยังอยู่ใน พ.ศ. 2400 (1858+542) ไม่ใช่ 2401 ซึ่งตรงกับแหล่งอ้างอิงใหม่ข้างต้นทุกประการ จึงขอแก้จากปี 2401 เป็น 2400 --Pi@k 14:56, 21 เมษายน 2007 (UTC)

ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ อ่ะครับ อธิบายอีกรอบได้อ่ะเปล่าครับ แบบว่างง ๆ มองไม่เห็นภาพ แบบว่าไม่มีพื้นทางด้านนี้ครับ ผมเปิดไปในเวปราชกิจจานุเบกษา เลือกตรงประวัติราชกิจจานุเบกษาดู เห็นเขาเขียนว่า " พระราชปรารภ ซึ่งปรากฏตามประกาศเรื่องออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับแรก (แปลงคำอ่านเป็นภาษาปัจจุบัน) ณ วันจันทร์ เดือนห้า ขึ้นค่ำ ๑ ปีมะเมีย ยังเป็นนพศก (พ.ศ. ๒๔๐๑)" อ่ะคับ ตกลง 2401 หรือ 2400 สับสน 6(-_- ) --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 15:20, 21 เมษายน 2007 (UTC)
ขอบคุณมากครับที่ทักท้วง ทำให้ผมฉุกคิดขึ้นมาว่ามีความเป็นไปได้สูงที่การเปลี่ยน พ.ศ. ในยุคก่อนไม่ได้เกิดในวันสงกรานต์อย่างที่เคยคิดไว้ในตอนแรก แต่เปลี่ยน พ.ศ. ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ดังนั้นวันกำเนิดราชกิจจานุเบกษาตรงกับปี 2401 ถูกต้องแล้ว น่าจะได้ข้อสรุปเสียทีว่า พุทธศักราชเปลี่ยนในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 :) --Pi@k 16:10, 21 เมษายน 2007 (UTC)

ดูจากรูปนะครับ น่าจะเข้าใจได้ง่าย

วันกำเนิดราชกิจจานุเบกษาเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 จ.ศ. 1219 ซึ่งพบว่าตรงกับวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1858 ถ้ายึดตามความเข้าใจในขณะนี้แสดงว่าวันนั้นเป็นวันแรกของ พ.ศ. 2401 โดยปกติเวลาคิดเราจะคิดง่าย ๆ ว่า จ.ศ. = พ.ศ. - 1181 แต่กรณีนี้จะเห็นว่าไม่ถูก เพราะยังอยู่ใน จ.ศ. 1219 ยังไม่เข้า 1220 เขาจึงระบุเอาไว้ว่า "ปีมะเมีย ยังเป็นนพศก" ซึ่งหมายถึงเข้าปี พ.ศ. 2401 แล้วแต่ยังเป็น จ.ศ. 1219 (นพ = 9) ถ้ายังงงอยู่ ถามมาอีกได้ครับ --Pi@k 18:07, 21 เมษายน 2007 (UTC)

อ้อเข้าใจแล้วครับ ขอบคุณมาก ๆ ครับที่ช่วยอธิบายให้อ่านครับผม ^_^ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 18:21, 21 เมษายน 2007 (UTC)

ตราแผ่นดินที่ใช้บนปกราชกิจจานุเบกษา[แก้]

สวัสดีครับคุณ Miwako Sato

เหตุผลที่ผมคิดว่าควรมีตราแผ่นดินรูปแบบที่เป็นการลงสีเฉพาะที่ปรากฎบนราชกิจจานุเบกษา เพราะผมเห็นว่าในบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับหนังสือข่าวสารรัฐบาลเช่น The London Gazette ได้มีการใส่โลโก้ตราคู่กับตัวอักษร ซึ่งเอาล่ะ ที่ผมใส่ไปมีแค่ตราครุฑก็จริง (เพราะในขณะนี้ยังไม่มีคนทำแบบตรา + ชื่อขึ้นมา) แต่ก็เป็นการเพิ่มตราเข้าไปที่ผมคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อการช่วยสื่อถึงราชกิจจานุเบกษาได้ดียิ่งขึ้นครับ ซึ่งผมมีข้อเสนอ 2 ทางต่อไปนี้

1. ใช้ตราแผ่นดินอย่างเดียวแต่ย่อขนาดลงไม่ให้กินพื้นที่มากเกินไป

2. สร้างโลโก้ขึ้นมาใหม่ที่มีตรา + ตัวหนังสือ โดยอิงการจัดรูปแบบและฟอนต์ตามที่ปรากฎบนหัวของเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา

คิดเห็นอย่างไรก็ขอให้บอกกล่าวกันมานะครับ ขอบคุณครับ KrebsLovesFiesh (คุย) 08:50, 26 พฤศจิกายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ลองตัดโลโก้บนปกมาใส่แล้ว ทีแรกจะใส่ครุฑไว้ข้าง ๆ เหมือน London Gazette แต่คิดว่าไม่น่าจะสวย เพราะครุฑคงออกมาเล็กกระจิ๋ว เลยเอาแต่โลโก้ คุณจะทำแบบอื่นมาใส่ก็ได้ค่ะ --Miwako Sato (คุย) 18:57, 26 พฤศจิกายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]