พูดคุย:ยามา (สัตว์)

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาบทความ ยามา (สัตว์)

ยามา (สัตว์) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสัตววิทยาและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า สัตว์ รวมถึงโครงสร้างทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และดูแลสิ่งมีชีวิต ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ยามา (สัตว์) หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

เห็นเปลี่ยนชื่อไป ๆ มา ๆ สี่ห้ารอบแล้ว คุณ Potapt จะใช้ว่า ยามา เพราะยึดภาษาสเปน ส่วนคุณ พุทธามาตย์ จะใช้ว่า ลามา เพราะเป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นคำยืมภาษาสเปน อยากให้มาตกลงกันก่อนครับ --奥虎 ボンド 08:19, 29 พฤษภาคม 2556 (ICT)

ตอนนี้ผมเห็นด้วยกับคุณ Potapt ว่าใช้ ยามา ครับ เพราะเพิ่งเห็นอ้างอิงตรงจากทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน ก็ให้ระบุไว้ทั้ง 2 ศัพท์ในบทความ ส่วนชื่อบทความก็ยึดตามราชบัณฑิตฯ ครับ --พุทธามาตย์ (พูดคุย) 08:49, 29 พฤษภาคม 2556 (ICT)
1. เนื่องจากสัตว์ชนิดนี้มาจากอเมริกาใต้ ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่กระจายหรือมีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์แพร่หลายทั่วไปในโลก (แม้ในยุคปัจจุบัน) ดังนั้นก็ควรจะทับศัพท์ตามภาษาที่ใช้กันในท้องถิ่นนะครับ ทำนองเดียวกับตัว alpaca (อัลปากา) และ vicuña (บีกูญา) ในวิกิขณะนี้ก็ทับศัพท์ตามภาษาสเปน ไม่ได้ทับศัพท์ตามภาษาอังกฤษว่า "แอลแพกา", "วิคิวนา", "ไวคิวนา" หรือ "วิคูนยา"
2. พจนานุกรมการออกเสียงภาษาอังกฤษบางฉบับก็ให้คำอ่านที่จะทับศัพท์ได้เป็น "ยามา" เหมือนกัน ตามที่ผมใส่อ้างอิงไว้แล้ว
3. นอกจาก "ลามา" แล้ว ก็ยังมีคนเรียกว่า "ลามะ" และ "ลาม้า" ด้วย ผมเห็นว่า "ลามา" ไม่ได้เป็นที่นิยมมากกว่า "ลามะ" แบบขาดลอยโดยเฉพาะในภาษาพูด จึงไม่เอาหลักความนิยมมาใช้กับชื่อนี้ อีกอย่าง ถ้าเปลี่ยนไปใช้ ย สะกด จะเป็นการขจัดความสับสนไปในตัวว่า สัตว์ชนิดนี้ไม่เกี่ยวข้องกับลา ม้า ตัวล่อ หรือพระทิเบต
4. หนังสือเรียนสังคมศึกษาบางเล่มก็เรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า "ยามา" จึงไม่ใช่ว่าจะไม่มีใครใช้งานจริงเสียทีเดียว
5. คำภาษาต่างประเทศ เช่น déjà-vu, Renaissance, Michelangelo, tempura ฯลฯ รวมทั้งชื่อขุนนางและพระนามของกษัตริย์ยุโรปซึ่งมีอำนาจครอบครองหลายภูมิภาค หลายคำเป็นที่รู้จักกันทั่วไปและปรากฏอยู่ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษหลายฉบับ บางคำก็ผ่านการปรับอักขรวิธีเป็นแบบอังกฤษแล้ว แต่ในวิกิก็ไม่ได้ทับศัพท์ตามการออกเสียงในภาษาอังกฤษเสมอไป (ตามที่หลายคนถือกันว่าเป็นภาษาสากล)
--Potapt (พูดคุย) 03:48, 30 พฤษภาคม 2556 (ICT)