พูดคุย:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาบทความ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทความนี้อยู่ในโครงการวิกิต่อไปนี้:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ บทความเฉลิมพระเกียรติ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการได้โดยการช่วยกันพัฒนาบทความ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสถานศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสถานศึกษา อันประกอบด้วย โรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย รวมถึงสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของ สถานีย่อย:สถาบันอุดมศึกษาไทย มีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
ถ้าต้องการมีส่วนร่วมกับโครงการ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยเข้าไปที่ โครงการวิกิสถานศึกษา และ หน้าสถานีสถาบันอุดมศึกษาไทย
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

มหาวิทยาลัยทางด้านการเกษตรแห่งแรกของไทย[แก้]

จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยทางด้านการเกษตรแห่งแรกของไทย ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านเกษตรกรรมที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย เปิดสอนเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2477

ตรงนี้จะนับยังไงดีครับ ว่าใครเปิดก่อน ? ถ้านับปีที่เริ่มเปิดสอน แม่โจ้นั้นเปิดก่อน แต่เกษตรนั้นได้รับสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยก่อน -- 172.174.169.89 19:39, 3 กันยายน 2006 (UTC)

จุดเริ่มต้นของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นั้น เปิดสอนมาตั้งแต่ พ.ศ.2460 รวมทั้ง ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยก่อนด้วย ดังนั้น ม.เกษตรศาสตร์ จึงเป็นมหาวิทยาลัยทางด้านทางเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย--ScorpianPK 20:11, 3 กันยายน 2006 (UTC)

จาก http://www.mju.ac.th/new-history/index.htm คิดว่าทั้งสองมหาวิทยาลัย มีจุดกำเนิดเดียวกันครับ:

พ.ศ. ๒๔๖๐ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้นที่ บริเวณหอวังหรือบ้านสวนหสวงสระประทุมบริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติในปัจจุบัน เรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมหอวัง" จึงเป็นจุดเริ่มแรกของฐานความคิด และกิจกรรมของรัฐด้านให้การศึกษาแผนใหม่ทางการเกษตร
พ.ศ. ๒๔๗๗ กระทรวงธรรมการได้จัดตั้งเป็น โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ โดยรับนักเรียนจากผู้ที่สำเร็จมัธยมปีที่ 6 หลักสูตรกำหนดเวลาเรียน 2 ปี โดยมีพระช่วงเกษตรศิลปการ ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ด้วย
พ.ศ. ๒๔๗๙ กระทรวงธรรมการได้จัดตั้ง "โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือขึ้น" โดยใช้สถานที่ร่วมกับโรงเรียนฝึกหัดครู ประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ โรงเรียนวิสามัญเกษตรกรรมที่ตั้งขึ้นใหม่นี้มีหลักสูตรเวลาเรียน 4 ปี โดยรับจากผู้ที่สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 4 โรงเรียนสามัญ เมื่อเรียนจบแล้วกระทรวงธรรมการกำหนดให้มีวิทยฐานะเทียบเท่าชั้นมัธยมปี่ที่ 8

.... -- 172.174.169.89 19:59, 3 กันยายน 2006 (UTC)

จุดกำเนิดของ ม.เกษตรศาสตร์ คือ "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมหอวัง" ซึ่งเปิดสอน เมื่อปี พ.ศ.2460 ซึงเป็นจุดเริ่มของ ม.เกษตรศาสตร์ครับ แต่จุดกำเนิดแม่โจ้จริง ๆ นั้น เหมือนเป็นการขยายวิทยาเขตของ ""โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมหอวัง"" ขึ้นไปทางภาคเหนือ นั่นคือ "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ" ซึ่งเปิดทำการเรียนการสอนจริง ๆ คือ พ.ศ.2477 ครับ หรือถ้าไปดูหน้าประวัติของ ม.เกษตรศาสตร์ จริง ๆ นั้น มีประวัติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 ด้วยซ้ำครับ อีกทั้ง ในตัวบทความยังเขียนว่า "มหาวิทยาลัยทางด้านการเกษตรแห่งแรกของไทย " ซึ่งควรจะนับในปีที่สถาปนาเป็นมหาวิทยาลัย โดยม.เกษตรศาสตร์ สถาปนาเมื่อ พ.ศ.2486 และ ม.แม่โจ้ สถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อ พ.ศ.2525 --ScorpianPK 20:08, 3 กันยายน 2006 (UTC)
ควรจะมีพูดถึงประวัติศาสตร์ที่มีร่วมกันไว้หน่อย ทั้งในสองบทความดีมั๊ยครับ อย่างรูปในสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยทั้งสอง ก็เป็นรูปเดียวกัน -- 85.214.38.21 07:58, 4 กันยายน 2006 (UTC)
ดีครับ ช่วยกันเขียนได้เลยครับ --ScorpianPK 11:25, 4 กันยายน 2006 (UTC)
อ่าน ๆ แล้วยังสับสนอยู่หน่อย เนื่องจากย้ายไปย้ายมา จากที่ดู ความเป็นมาก่อนจัดตั้งมหาวิทยาลัย จากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
"โดยในปี พ.ศ. 2481 กระทรวงเกษตราธิการได้จัดตั้งสถานีเกษตรกลางขึ้นในท้องที่ อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร อันเป็นที่ตั้งวิทยาเขตหลักของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปัจจุบัน และได้ย้ายวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากแม่โจ้มาบางเขน"
รวม ๆ จากหน้านั้น จับความได้ประมาณว่า เริ่มเป็นโรงเรียนที่กรุงเทพ/ภาคกลาง (หลายแห่ง) และก็ขยายไปทุกภาค มีแห่งหนึ่งกลายเป็นวิทยาลัยที่ภาคเหนือ (แม่โจ้) แล้วก็ย้ายวิทยาลัยกลับมาภาคกลาง ก่อนจะกลายเป็นมหาวิทยาลัย (เกษตรศาสตร์)
-- 80.237.173.67 21:38, 4 กันยายน 2006 (UTC)
ลองอ่านประวัติของ 2 มหาวิทยาลัยไปคู่กันดูนะครับ เพราะ 2 มหาวิทยาลัยนี้มีประวัติความเป็นมาคู่กัน ถ้าอ่านจากหน้าของประวัติ ม.แม่โจ้ จะเข้าใจกว่า
  • พ.ศ. ๒๔๘๒ กระทรวงเกษตราธิการได้จัดตั้งวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้นที่เกษตรกลาง บางเขน กรุงเทพฯ และที่แม่โจ้ให้เตรียมเป็น "วิทยาลัยเกษตรศาสตร์" หลักสูตรเวลาเรียน 2 ปี โดยรับจากผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 สำเร็จจึงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขนได้เลย
  • พ.ศ. ๒๔๘๖ เปลี่ยนเป็น "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ทั้งนี้เพราะวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขน ได้รับการสถาปนาเป้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. ๒๔๙๑ กระทรวงเกษตราธิการได้โอนกิจการให้แก่กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและเปลี่ยนเป็น "โรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้"

คล้ายกับโอนการเรียนการสอนมาที่บางเขน และที่แม่โจ้ให้เป็นโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยหรือเปล่าครับ --ScorpianPK 05:24, 5 กันยายน 2006 (UTC)

ขออนุญาตแก้ไข[แก้]

  • แก้ที่อยู่ของ มหาวิทยาลัย ที่ จาก ถนนงามวงศ์วาน เป็น ถนนพหลโยธิน ตามที่มหาวิทยาลัยประกาศใช้นะครับ เหตุที่ใช้อย่างงี้เพราะ เราเอาหอประชุมใหญ่ เป็นที่ตั้ง และประตูเกษตรกลาง (ประตูใหญ่) เป็นที่มาของการขอเลขที่บ้าน (สถานที่ราชการ) นะครับ --ยุกตนันท์ 23:37, 22 มกราคม 2555 (ICT)

การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย[แก้]

คิดว่าส่วนนี้ไม่โอเคอย่างแรง ควรสรุปเป็นย่อหน้า และไม่ควรแยกพาดหัวย่อยเป็นตรี โท เอก --Horus | พูดคุย 02:31, 18 กุมภาพันธ์ 2559 (ICT)

ส่วนหนึ่งของบทความลอกมาทั้งดุ้น[แก้]

ส่วนหนึ่งของบทความ "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ซึ่งปรากฏข้อความว่า

ในระหว่าง พ.ศ. 2518 ได้มีการวิ่งเต้นขอให้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากบุคคลกลุ่มหนึ่ง โดยอ้างเหตุผลนานัปการทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคมของชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการแถลงข่าวโจมตีซึ่งกันและกัน ระหว่างฝ่ายที่อยากให้เปลี่ยนชื่อและไม่ประสงค์ให้เปลี่ยนชื่อ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้อนุญาตให้นิสิตหยุดเรียนครึ่งวันเพื่อจัดทำประชามติในเรื่องนี้ ภายหลังจึงมีการเห็นสมควรให้มีการใช้ชื่อ เกษตรศาสตร์ เป็นชื่อของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการระลึกและย้ำเตือนถึงศาสตร์อันเป็นรากฐานวัฒนธรรม ความรู้ และวิทยาการของแผ่นดินไทย

พบว่าข้อความนี้เป็นการคัดลอกมาจากแหล่งอ้างอิง (หอประวัติฯ) มาทั้งดุ้น อาจมีเนื้อหาไม่เป็นกลางด้วยการเลือกใช้คำที่ไม่เป็นกลาง (เช่น "วิ่งเต้น", "อ้าง"), ขออนุญาตเขียนโน้ตทิ้งไว้กันลืม เมื่อว่างจะมาเขียนใหม่ให้เป็นกลาง -- Sirakorn (คุย) 15:24, 1 ธันวาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

เสนอข้อควรปรับปรุง (ก่อนเสนอถอดถอน)[แก้]

  1. ส่วนประวัติ 1) เนื้อหาเท้าความไปมากเกินประวัติ ม เกษตร ถ้าต้องการเขียนเรื่องการพัฒนาเกษตรกรรมหรืออุดมศึกษาในไทยควรย้ายไปบทความอื่น 2) ควรขยายความประวัติศาสตร์บางตอน เช่น เหตุใดอดีตอธิการจึงต้องเขียนจดหมายถึงจอมพล ป. เป็นต้น หรือช่วง พ.ศ. 2520 - 2540 เนื้อหามีช่องโหว่
  2. ส่วนสัญลักษณ์ ถ้าไม่มีแหล่งอ้างอิงภายนอก ก็ควรลบออก เพราะเท่าที่ดูก็มีลักษณะหรือจุดประสงค์ไม่เป็นสารานุกรม ถ้าจะเขียนก็อาจจะใช้กล่องข้อมูลสั้น ๆ แบบ en:India#Government, "อาคารประจำมหาวิทยาลัย" อาจจะแยกออกมาเขียเป็น อาคาร ได้
  3. ส่วน "หน่วยงาน" ควรเขียนแบบมืออาชีพ อาจจะเรียงเป็นร้อยแก้ว ไม่ควรเขียนเป็นสดมภ์ซึ่งดูเจตนาโฆษณามากเกินควร ลองดู en:Michigan State University
  4. ส่วน การจัดอันดับ ควรปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอ โดยเฉพาะดูจากตัวอย่างดี ๆ จากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ พวกระเบียบวิธีวิจัยเป็นหัวข้อที่นอกเหนือประเด็นบทความ หรือพิจารณาย้ายส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องไปลงในอันดับมหาวิทยาลัยไทย
  5. ส่วน มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ ควรเรียบเรียงไม่ให้มีลักษณะส่งเสริม อาจสรุปการเปลี่ยนแปลงสั้น ๆ ไปอยู่ในประวัติ
  6. ส่วน การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อ ให้ดูตัวอย่างที่ดีจากบทความภาษาอังกฤษ สรุปคือ อย่าเขียนเกณฑ์การรับ ควรบอกจำนวนนักศึกษา มีการรับเข้าทางใดบ้าง (เช่น มีรับตรง แอดมิชชันกลาง ร้อยละเท่าใด) เป็นต้น
  7. ส่วน ชีวิตในมหาวิทยาลัย ควรขยายความ โดยเฉพาะองค์การนักศึกษาซึ่งมีประวัติน่าสนใจในประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวการเมือง หรือรับน้องมีโซตัสหรือไม่?
  8. ส่วน ศิษย์เก่า ควรเขียนเป็นร้อยแก้ว และทุกคนต้องมีแหล่งอ้างอิงบอกว่าจบจากที่นี่จริง

--Horus (พูดคุย) 17:58, 11 สิงหาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]