พูดคุย:พระลักษมณ์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระลักษมณ์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิวรรณศิลป์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับวรรณคดี วรรณกรรม โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย เรื่องสั้น นวนิยาย และอื่น ๆ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ พระลักษมณ์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ที่ถูกสะกดว่า พระลักษมณ์

ในรามเกียรติ์ของไทย สะกดว่า "พระลักษณ์" ถูกแล้ว แต่ในรามายณะของอินเดีย สะกด "ลกฺษมณ" ขณะที่ตัวละครอื่นๆ หลายตัวก็สะกดไม่ตรงกับรามายณะ เช่น พระศัตรุด (ของอินเดีย ศตฺรุฆฺน) ส่วนนางสีดานั้น บางครั้งก็สะกด "ษีดา" ขณะที่ของอินเดียใช้ "สีตา" --ธวัชชัย 01:22, 7 กรกฎาคม 2006 (UTC)

เรื่องชื่อ "พระลักษณ์" หรือ "พระลักษมณ์"[แก้]

เกี่ยวกับชื่อของน้องพระราม ที่สะกดว่า "พระลักษณ์" และ "พระลักษมณ์" นั้น ถ้ายึดแบบแผนของราชบัณฑิตยสถาน สะกดแบบ "พระลักษมณ์" จึงถูก ส่วนที่สะกดว่า พระลักษณ์ นั้นเป็นอักขรวิธีแบบเก่า ปรากฏในจารึกเรื่องรามเกียรติ์ที่ระเบียงพระวิหารคดวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และต้นฉบับสมุดไทยซึ่งยังมิได้ตรวจชำระ ซึ่งก็ไม่ผิดเพียงแต่เป็นอักขรวิธีแบบเก่า (ต้นฉบับโบราณโดยเฉพาะที่เป็นผูกใบลานสะกดว่า พระลักพระลาม ก็ยังมี) แต่ภายหลังกรมศิลปากรได้ตรวจชำระใหม่และปริวรรตอักขรวิธีเป็นภาษาไทยปัจจุบัน ดังปรากฏในคำนำฉบับพิมพ์ พ.ศ.2512 ว่า "ได้แก้ไขตัวสะกดการันต์ตามอักขรวิธีในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 และอาศัยชื่อตัวละครตามสมญาภิธานรามเกียรติ์ของเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป..." ในฉบับพิมพ์ครั้งหลัง ๆ จึงได้แก้เป็น "พระลักษมณ์"ทั้งหมด รวมถึงชื่อตัวละครอื่นๆ อีกด้วย ดังนั้นในบทคะครเรื่องรามเกียรติ์ฉบับพระราชนิพนธ์สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งจัดพิมพ์โดยองค์การค้าคุรุสภา พ.ศ.2510 และที่กรมศิลปากรอนุญาตให้ศิลปาบรรณาคารพิมพ์จำหน่าย พ.ศ. 2512 จึงสะกดว่า "พระลักษมณ์"

ทั้งนี้ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หน้า 1002 คำว่า "ลักษมณ์" อธิบายว่า "[ลัก] น. ชื่อน้ององค์หนึ่งของพระรามในเรื่องรามเกียรติ์." ส่วนคำว่า "ลักษณ์" หมายถึง จดหมาย. โดยทั้งสองคำเป็นคำพ้องเสียงอ่านว่า ลัก เช่นกัน และก็ถือว่าเป็นคำไทยไม่ใช่สันสกฤตแต่อย่างใด รามเกียรติ์ถือเป็นวรรณคดีไทยที่ได้โครงเรื่องมาจากต่างชาติเช่นเดียวกับอิเหนา แต่ก็ปรับแปลงให้เหมาะกับคนไทย ชื่อเฉพาะก็ไม่ได้ยืมจากต้นฉบับมาทั้งหมดเช่น ราวณะ นางไกเกยี นางเกาสัลยา ลักษมัณ เราไม่ได้ใช้อย่างนั้น อย่างไรก็ตาม ในหนังสือรามเกียรติ์หลายเล่มก็ยังมีการสะกดที่ไม่ตรงกันอยู่ คือสะกดว่าพระลักษณ์ก็มี ผมจึงมีความเห็นว่า ถ้าสะกดตามแบบราชบัณฑิตยสถานน่าจะดีกว่า เพราะที่พิมพ์เผยแพร่อยู่ในเวลานี้ก็ได้เปลี่ยนไปใช้แบบนั้นหลายฉบับ และการสะกด "ลักษมณ์" ก็ตรงกับชื่อเดิมในภาษาสันสกฤตมากกว่าด้วย

ขอแสดงความนับถือ. จากผู้ร่วมคิดและเขียนคนหนึ่ง

ขอบคุณครับ เอ้อ งั้นใช้ พระลักษมณ์ นะครับธวัชชัย 14:44, 8 กรกฎาคม 2006 (UTC)