พูดคุย:ปีเตอร์ ดรักเกอร์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เตรียมเรียบเรียงใหม่[แก้]

ชีวประวัติและปรัชญา[แก้]

ปีเตอร์ ดรักเกอร์ เป็นบุตรของทนายความซึ่งมีชื่อว่า อดอล์ฟ และมารดาชื่อ แคโรรีน ดรักเกอร์เกิดที่ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1909 ดรักเกอร์ย้ายไปหางานทำที่ฮัมบูร์กแล้วเริ่มฝึกทำงานที่บริษัทค้าฝ้าย แล้วเป็นนักเขียนข่าวให้กับหนังสือพิมพ์ Der Österreichische Volkswirt (ออสเตรีย อิโคโนมิสต์) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ต ผลงานของเขาสร้างความประทับใจต่อโจเซฟซึ่งเป็นเพื่อนของพ่อเขาเอง เกี่ยวกับเรื่องแนวคิดของผู้ประกอบการ[1] ดรักเกอร์ยังมีอิทธิพลต่อแนวคิดที่มีความแตกต่างไปจาก จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ผู้ซึ่งได้บรรยายที่เคมบริดจ์ เมื่อ ค.ศ. 1934 ว่า "ผมเพิ่งเข้าใจว่านักเรียนเศรษฐศาสตร์ของเคนส์ล้วนปราดเปรื่องในห้องเรียนซึ่งสนใจเกี่ยวกับความนิยมด้านสินค้า" ในขณะที่ดรักเกอร์เขียนเอาไว้ว่า "ผมสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้คน"[2]

ถัดจากนั้นเป็นเวลากว่า 70 ปี ดรักเกอร์ได้เขียนถึงโฟกัสทางการตลาดบนความมีอยู่ของมนุษย์ ซึ่งมีวิกฤตการต่อต้านที่นับจำนวนได้ หนังสือของเขาได้ใส่บทเรียนเกี่ยวกับทำอย่างไรองค์กรถึงจะสามารถสร้างคนที่ดีที่สุดขึ้นมาได้ และคนงานจะสามารถตระหนักถึงสภาพชุมชนได้อย่างไร และจะเป็นที่ยอมรับในการจัดตั้งสังคมสมัยใหม่โดยรอบได้อย่างไร[3]

ขณะที่เขายังหนุ่ม ก็ได้เขียนผลงานขึ้นมาสองชิ้น — โดยเล่มหนึ่งกล่าวถึงนักปรัชญาชาวเยอรมันซึ่งมีชื่อว่า เฟดเดอริช จูเลียส สตาห์ล กับเรื่อง "คำถามของชาวยิวในเยอรมัน" (The Jewish Question in Germany) — ซึ่งได้ถูกสั่งเผาและระงับการจัดพิมพ์โดยฝ่ายนาซี[4] ปี ค.ศ. 1993 ได้เดินทางออกจากเยอรมันไปยังอังกฤษ ในกรุงลอนดอน เขาได้ทำงานในบริษัทประกัน หลังจากนั้นเขาได้เป็นผู้นำนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญในธนาคารอย่างเป็นการส่วนตัว เขายังได้ติดต่อกับ ดอริส ชมิตซ์ ผู้ซึ่งเป็นคนรู้จักจากมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ตอีกครั้ง ทั้งคู่ได้แต่งงานกันใน ค.ศ.1934 (ทั้งนี้ รายชื่อในใบรับรองระบุชื่อของเขาว่า ปีเตอร์ จอร์จ ดรักเกอร์ [5]) และสองสามีภรรยาก็ได้ย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา โดยเขาได้มาเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ (ดรักเกอร์ไม่ยอมรับกับคำว่า "กูรู" ซึ่งคนทั่วไปยอมรับในตัวเขา โดยเขายังกล่าวย้ำอีกด้วยว่า "ผมพูดมาหลายปีแล้ว เราจะใช้คำว่า "กูรู" ก็คงเสมือนกับว่าเราเป็น "นักต้มตุ๋น" จนอาจต้องถูกพาดหัวข่าวที่ยาวมาก")[6]

ในปี ค.ศ. 1943 ดรักเกอร์โอนสัญชาติเป็นพลเมืองของอเมริกา เป็นผู้สอนที่วิทยาลัยเบนนิงตัน ช่วงปี ค.ศ. 1942 ถึง 1949 หลังจากนั้น เขาได้เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ช่วงปี ค.ศ. 1950 ถึง 1971 ดรักเกอร์เดินทางสู่แคลิฟอร์เนียในปี ค.ศ.1971 ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรเอ็มบีเอด้านการบริหาร สำหรับฝึกอาชีพที่ มหาวิทยาลัยแคลมอนต์ เกรดูเอท (หลังจากนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ โรงเรียนแคลมอนต์ เกรดูเอท) ช่วงปี ค.ศ. 1971 จนถึงช่วงที่เขาเสียชีวิต เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษด้านสังคมศาสตร์ กับ การจัดการ ที่มหาวิทยาลัยแคลมอนต์ เกรดูเอท และได้ตั้งชื่อมหาวิทยาลัยขึ้นมาว่า "ปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์ เกรดูเอทสคูล ออฟ เมเนจเมนท์" (หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนมาเป็นชื่อในที่รู้จักกันว่า "ปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์ แอนด์ มาซาโตชิ อิโต้ เกรดูเอทสคูล ออฟ เมเนจเมนท์") เพื่อเป็นการให้เกียรติ เมื่อปี ค.ศ.1987 เขาสอนในชั้นเรียนครั้งสุดท้ายเมื่อปีค.ศ. 2002 ในขณะที่มีอายุได้ 92 ปี

การทำงาน[แก้]

งานเขียนของปีเตอร์ ดรักเกอร์มีเป็นจำนวนมาก บางส่วนได้รับรางวัล และยังมีบทความที่อธิบายถึงบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (GM) ซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลกในสมัยนั้น ได้สร้างความประทับใจต่อผู้บริหาร โดนัลด์สัน บราวด์ จึงเชิญให้เขาร่วมวิเคราะห์การบริหารจัดการขององค์กรในเวลาต่อมา ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเกี่ยวกับ "การตรวจสอบบัญชีพรรค": การวิเคราะห์ทางสังคมศาสตร์สองปีของบริษัท ดรักเกอร์ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกระประชุมทุกครั้ง, สัมภาษณ์ลูกจ้าง และวิเคราะห์ถึงการผลิตตลอดจนมีส่วนในการสินใจผลิตเชิงปฏิบัติ

หนังสือเกี่ยวกับผลลัพธ์ คอนเซ็ปท์ ออฟ เดอะ คอร์ปอเรชั่น ก็ยังเป็นที่นิยมในองค์กรจีเอ็มนี้ด้วย ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างหลายส่วนและนำมาซึ่งหลายหัวข้อ, การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำงาน และหนังสือเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามทางจีเอ็มรู้สึกตื่นเต้นอย่างมากกับสินค้าตัวสุดท้าย ดรักเกอร์ให้นึกถึงยักษ์ผู้มีอำนาจที่ต้องการนโยบายบนตำแหน่งสร้างความสัมพันธ์ต่อลูกค้า, ความสัมพันธ์ของผู้กระจายหน้าที่, ความสัมพันธ์ต่อลูกจ้าง และอื่นๆ ภายในบริษัท ดรักเกอร์ได้เสนอแนะถึงสิ่งที่มากกว่าการพิจารณา ประธานจีเอ็มคนสำคัญ อัลเฟรด สโลน รู้สึกสับสนกับหนังสือ "จะเป็นการปฏิบัติอย่างง่ายๆถ้ามันไม่มีอยู่" โดยดรักเกอร์ได้เรียกในภายหลังว่า "ไม่เคยกล่าวถึงมันและไม่เคยมีการรับรองการได้กล่าวถึงในทัศนะของเขา"[7]

ดรักเกอร์ได้สอนคณะผู้บริหารว่าเป็น "ศิลปะแห่งเสรีนิยม" และเขาได้ทำให้รู้สึกว่าข้อมูลการจัดการของเขาเกิดจากการบูรณาการบทเรียนจากประวัติศาสตร์, สังคมวิทยา, จิตวิทยา, ปรัชญา, ศาสนาและวัฒนธรรม เข้าไว้ด้วยกัน[8] เขายังเชื่ออีกด้วยว่าความแข็งแกร่งนั้นมาจากทุกส่วนของสถาบัน อันประกอบด้วย ภาคเอกชน, มีความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งหมด "ความจริงคือ," ดรักเกอร์ได้เขียนไว้ในปี ค.ศ. 1973 การจัดการ: ถือเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก, มีความรับผิดชอบ, และต้องฝึกฝน, "ซึ่งในสังคมสมัยใหม่นั้นจะไม่มีกลุ่มผู้นำอื่นเว้นแต่ผู้จัดการ ถ้าผู้จัดการสถาบันหลักและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจ ไม่สามารถทำหน้าที่โดยรวมให้ดีได้ ก็จะไม่มีใครสามารถที่จะทำให้ดีได้อีกเลย"[9]

ดรักเกอร์สนใจในผลของการเติบโตของผู้คนซึ่งทำงานด้วยใจมากกว่าการทำงานด้วยมือ เขาได้ก่อให้เกิดความสนใจโดยชี้ประเด็นถึงลูกจ้างบางคนผู้ซึ่งรู้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ที่แน่นอนมากกว่าเจ้านายของพวกเขาหรือผู้ร่วมงาน และยังได้ร่วมมือกับองค์กรขนาดใหญ่อื่นๆด้วย ถ้าจะกล่าวให้เข้าใจอย่างง่ายๆก็คือเป็นการยกย่องถึงความก้าวหน้าของมนุษย์เรานั่นเอง ดรักเกอร์ได้วิเคราะห์และอธิบายถึงการทำอย่างไรจึงจะเกิดการเปลี่ยนความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการขับเคลื่อนองค์กรได้

งานเขียนของเขาได้เข้าถึงมากยิ่งขึ้นในโลกธุรกิจที่กำลังเติบโตในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ยี่สิบ โดยในเวลานั้น บริษัทขนาดใหญ่ได้พัฒนาประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมการผลิตขั้นพื้นฐานกับกระบวนการการจัดการของผลิตผลมวลชน ผู้บริหารหลายรายได้สอนให้คนงานของพวกเขาได้รู้ถึงการขับเคลื่อนในบริษัท และดรักเกอร์ได้นำมันมาอยู่บนความเชื่อของพวกเขาเหล่านั้น ด้วยเกรงว่าองค์กรจะล้าสมัย แต่เขาก็ยังแสดงความเห็นใจ เขาได้คาดว่าผู้อ่านของเขาคงจะเป็นผู้ฉลาด, มีเหตุผล, ทำงานหนักและเข้ากับคนได้ ถ้าองค์กรมีความพยายาม เขาเชื่อว่ามันคงเป็นเรื่องปกติเพราะเป็นแนวคิดที่อาจล้าสมัย, ทั้งความคิดแคบๆเกี่ยวกับปัญหา หรือความขัดแย้งภายใน

กระทั่งเขาได้เป็นผู้ให้คำปรึกษา ดรักเกอร์ได้ทำงานกับหลายๆบริษัท ซึ่งได้แก่ เจนเนอรอล อิเล็คทริก, โคคา-โคล่า, ซิตี้คอร์ป, ไอบีเอ็ม และอินเทล เขาได้ให้คำปรึกษาแก่ผู้นำธุรกิจที่เรารู้จักกันดี ตั้งแต่ แจ็ค เวลช์ จากจีอี, เอ.จี.แลฟลี่ย์ จาก พรอกเตอร์แอนด์แกมเบิล, แอนดี้ กรูฟ จากอินเทล, จอห์น เบกแมน จากเอ็ดเวิร์ด โจนส์, โชอิจิโร่ โทโยดะ ประธานผู้ทรงเกียรติแห่งโตโยต้า มอเตอร์ กับมาซาโตชิ อิโต้ ประธานผู้ทรงเกียรติแห่ง อิโต้-โยคาโด้ กรุ๊ป ซึ่งเป็นองค์กรขายตรงที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก[10] แม้ว่าเขาจะได้ช่วยสร้างคความสำเร็จให้กับผู้บริหารองค์กร เขาได้ทำให้เกิดความกลัวเมื่อ อันดับฟอร์จูน 500 ซีอีโอ ได้ทำให้ค่าเฉลี่ยคนงานเกิดภาวะลอยตัวซึ่งมีอัตราเกินกว่า 100 ช่วงเวลา เขาได้ให้เหตุผลในปี 1984 โดยพยายามระบุว่าการชดเชยควรจะลดอัตราลงให้เหลือไม่เกิน 20 ช่วงเวลา โดยการจัดลำดับและการทำแฟ้มบันทึก — โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่ลูกจ้างได้ถูกเลิกจ้างงานนับพันคน "มันคือสิ่งที่ไม่อาจยกโทษให้ทั้งทางศีลธรรมและทางสังคม," ดรักเกอร์ได้เขียนเอาไว้ "และเราจะชดใช้อย่างหนักสำหรับมัน"[4]

ดรักเกอร์ได้ให้คำปรึกษาสำหรับตัวแทนรัฐบาลหลายแห่งทั้งจากสหรัฐอเมริกา, แคนาดา และญี่ปุ่น เขาได้ทำงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและได้ช่วยให้องค์กรเหล่านั้นประสบผลสำเร็จ บ่อยครั้งที่ให้คำปรึกษาระดับอาชีพ ท่ามกลางหน่วยกลุ่มสังคม เขายังได้พิจารณาถึงองค์กรที่มีชื่อว่า Salvation Army, the Girl Scouts of the USA, C.A.R.E., กาชาดอเมริกัน, และ Navajo Nation (ซึ่งเป็นคณะกรรมการของชนเผ่าอินเดียนแดง) ด้วยเช่นกัน[11]

โดยแท้จริงแล้ว ดรักเกอร์ ได้คาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเติบโตของหน่วยสังคมในอเมริกา ซึ่งดำเนินต่อไป ด้วยการอาสาโดยไม่หวังผลกำไร ประชาชนต่างค้นหาถึงการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเขาเป็นต้นตำรับในการคิดโดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีการวางตำแหน่งในงานของพวกเขา แต่นั่นก็เป็นการยากที่จะหาแหล่งทดสอบจากสนามแข่งจริง "ความเป็นพลเมือง และการคิดว่าหน่วยสังคมจะไม่สามารถรักษาความผิดปกติที่มีอยู่ได้ทุกอาการ ทั้งงที่มีอยู่ในเบื้องหลังของนายทุน กับเบื้องหลังของการปกครอง แต่บางทีสิ่งที่ต้องมาก่อนการแก้ปัญหากลับผิดปกติไปด้วย" ดรักเกอร์เขียนเอาไว้ "มันได้ช่วยฟื้นฟูหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่ในตัวเมือง ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพลเมือง กับความภาคภูมิใจที่เป็นเครื่องหมายแห่งสังคม"[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. Beatty, Jack, The World According to Peter Drucker, p. 163, (1998)
  2. Drucker, Peter F., The Ecological Vision, p. 75-76, (1993)abcdefghijklmnopqr
  3. Drucker Institute - The Drucker Legacy
  4. 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bw2005
  5. The Drucker Institute Archives, Claremont, California. Box 39, Folder 11
  6. “Peter Drucker, the man who changed the world,” Business Review Weekly, 15 September 1997, p. 49
  7. Drucker, Peter F., Adventures of a Bystander, p. 288, (1979)
  8. Drucker Institute - About Peter Drucker - Additional Sources - Other Pieces About Drucker
  9. Drucker, Peter F., Management: Tasks, Responsibilities, Practices, p. 325, (1973)
  10. Drucker Institute
  11. Drucker, Peter F., Managing the Nonprofit Organization (1994)
  12. Drucker, Peter F., Post-Capitalist Society, p. 177, (1993)

--B20180 15:52, 4 มีนาคม 2554 (ICT)

Legacy[แก้]

--B20180 20:24, 7 มีนาคม 2554 (ICT)