พูดคุย:ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการเมืองและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการเมือง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ย้ายจากหน้าบทความ[แก้]

เพราะไม่เกี่ยวกับนายปิยสวัสดิ์ เลย เป็นเรื่องโรงไฟฟ้าบ่อนอก เป็นส่วนใหญ่



เปิดโฉมหน้าแร้งทึ้งขุมทรัพย์แสนล้าน

ภายใต้นโยบายการจัดการด้านพลังงานของชาติ และการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอกและหินกรูด ตลอด 7 ปี 4 รัฐบาลที่ผ่านมา ใครคือผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์บนความผิดพลาด ความขัดแย้ง ฉ้อฉลและอัปยศ

ใครคือนักการเมืองชั่ว ข้าราชการเลว นักลงทุนหน้าเงิน นักวิชาการขายตัว ชาวบ้านหัวรุนแรง เอ็นจีโอจอมปลอม และแท้จริงแล้วพวกเขาเหล่านั้นเป็นดังที่ว่าหรือไม่ หาคำตอบได้ ณ บัดนี้

โฉมหน้าก๊วนเทคโนแครต

ทุกปัญหาล้วนเกิดจากน้ำมือมนุษย์ และมนุษย์พันธุ์พิเศษที่ผูกขาดองค์ความรู้ ผูกขาดการวางแผน วางยุทธศาสตร์ และผูกขาดการจัดการด้านพลังงานของชาติจนเป็นปัญหาของชาติที่สังคมไทยควรจะได้รับรู้ ก็คือ ก๊วนเทคโนแครต ผู้ซึ่งมีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจของรัฐบาลมาทุกยุค และกุมชะตาอนาคตกิจการพลังงานเอาไว้ในมือ สมาชิกสำคัญของก๊วนเทคโนแครต ก็คือ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์, เทียนไชย จงพีร์เพียร และ พรายพล คุ้มทรัพย์ พวกเขาซึ่งมีคำนำหน้าด้วยด็อกเตอร์ทั้งนั้น ไม่เพียงร่วมกำหนดนโยบายและวางแผนเท่านั้น เพราะพวกเขาถูกตั้งข้อกังขาว่าก้าวล่วงเข้าไปมีผลประโยชน์ร่วมไม่มากก็น้อย อีกด้วย

กรณีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นการผูกขาดองค์ความรู้ ผูกขาดการวางแผนของเขาทั้งสามคือ การแต่งตั้งคณะทำงาน คณะอนุกรรมการ และคณะกรรมการต่างๆ ที่มีส่วนวางแผนและตัดสินในกิจการพลังงานไฟฟ้า ดังเช่น

1) คณะทำงานยกร่างกฎหมายจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ สาขาพลังงาน (ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์) ซึ่งแต่งตั้งโดย สาวิตต์ โพธิวิหค สมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อยกร่างพ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน

2) คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินการในอนาคตของการไฟฟ้า (ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ แต่งตั้งโดยประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงาน เพื่อกำกับดูแลงานปฏิรูปกิจการไฟฟ้า

3) คณะทำงานเตรียมการด้านกฎหมายและการกำกับดูแล (ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์) แต่งตั้งโดยประธานคณะอนุกรรมการประสานงานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า (ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) เพื่อร่างกฎหมายลูกภายใต้ร่างพ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน

4) คณะทำงานศึกษาต้นทุนและหนี้ตกค้าง (ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์) แต่งตั้งโดยประธานคณะอนุกรรมการประสานงานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า (ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์) เพื่อคำนวณต้นทุนตกค้างฯ 5) คณะกรรมการกองทุนอนุรักษ์พลังงาน (ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์) 6) คณะอนุกรรมการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า (ดร.เทียนไชย จงพีร์เพียร เป็นประธาน) แต่งตั้งโดยประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงาน เพื่อทำ Load Forecast 7) คณะอนุกรรมการศึกษาการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU (ดร.เทียนไชย จงพีร์เพียร) แต่งตั้งโดย ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เพื่อประชาสัมพันธ์โครงสร้างค่าไฟใหม่และติดตั้งมิเตอร์ TOU 8) คณะทำงานพิจารณาร่างกฎตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า (ดร.เทียนไชย จงพีร์เพียร) แต่งตั้งโดยประธานคณะอนุกรรมการประสานงานการดำเนินงานในอนาคตของการไฟฟ้า จากกรณีตัวอย่างข้างต้นทำให้เห็นภาพของสามทหารเสือด้านพลังงาน คือ ปิยสวัสดิ์-พรายพล-เทียนไชย โยนลูกกันไปมาอย่างชัดเจน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ อาจจะเป็นด้วยเหตุผลที่ว่าเมืองไทยขาดแคลนนักวิชาการด้านพลังงาน ดังที่ ปิยสวัสดิ์ เคยอรรถาธิบายเมื่อคราวให้สัมภาษณ์ ผู้จัดการรายเดือน ฉบับที่ 206 เดือนพฤศจิกายน 2543 ที่ว่า เรื่องนโยบายพลังงานนี้ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัยไหน จริงๆ แล้วการกำหนดนโยบายในหลายๆ เรื่องไม่จำเป็นต้องเรียนเฉพาะในด้านนั้น สำคัญก็คือสามารถที่จะวิเคราะห์ได้และคนของ สพช.ก็ไม่ได้จบด้านพลังงานเลย และคนที่จบหลักสูตรด้านพลังงานโดยเฉพาแทบจะไม่มีในประเทศไทย ท่ามกลางบรรยากาศที่ดูเหมือนว่าเมืองไทยขาดแคลนผู้รู้ด้านพลังงานอย่างมากนั้น ดร.เทียนไชย และดร.พรายพล ก็ได้อาศัยคราบนักวิชาการที่มีโอกาสเข้าไปนั่งเป็นบอร์ดกำหนดนโยบายด้านพลังงานชุดต่างๆ เข้าประมูลงานโครงการศึกษาจาก สพช. โดยจัดตั้งบริษัทเบอร์ร่า จำกัด ขึ้นมา บริษัทเบอร์ร่า จำกัด ทะเบียนเลขที่ 1964/2535 ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2535 มีชื่อกรรมการ 2 คน คือ นายเทียนไชย จงพีร์เพียร และ นายพรายพล คุ้มทรัพย์ มีผลงานที่เข้าประมูลและได้งานจากสำนักงานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ที่มีดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นเลขาธิการ อาทิเช่น

โครงการศึกษาผลกระทบอัตราค่าไฟฟ้าต่อผู้ใช้ไฟ (2543) โดยทำร่วมกับบริษัททริบเปิ้ล เจ จำกัด

โครงการศึกษาการนำเข้าน้ำมันเถื่อนในประเทศไทย (ประมาณ 2542-2543) โครงการวิจัยภาระการใช้ไฟฟ้าในเขตการไฟฟ้านครหลวง (ทำให้กับ กฟผ.ในปี 2543) โครงการศึกษาอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOU (ปี 2538) และการศึกษาอัตราค่าไฟฟ้าแบบ TOD (ปี 2534) โครงการศึกษาและประชาสัมพันธ์อัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาของการใช้ (ปี 2544) ทำร่วมกับบริษัททริบเปิ้ล เจ จำกัด โครงการศึกษาลักษณะการใช้ไฟฟ้าเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้า (ปี 2544) โครงการศึกษาการวิจัยภาระไฟฟ้าของ กฟผ. (ปี 2544) พันธมิตรที่เข้ารับงานศึกษาโครงการร่วมกับบริษัทเบอร์ร่า คือ บริษัททริปเปิ้ล เจ นั้น อาจบอกได้ว่าเป็นบริษัทที่มีสายสัมพันธ์อย่างแนบแน่นเป็นพิเศษกับท่านเลขาธิการสพช.และเป็นบริษัทที่เข้ามารับทำงานประชาสัมพันธ์ให้โรงไฟฟ้าบ่อนอก

วงการบริษัทธุรกิจที่ปรึกษาต่างค่อนขอดและตั้งข้อกล่าวหาว่า บริษัทดังกล่าวมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับปิยสวัสดิ์ จึงทำให้ได้งานเป็นผู้รับงานประชาสัมพันธ์ในโครงการใหญ่ๆ ทั้งๆ ที่ เป็นบริษัทหน้าใหม่มากในแวดวงประชาสัมพันธ์ ชื่อบริษัทกับการได้งานจะผูกติดกับตำแหน่งของปิยะสวัสดิ์ เมื่อ ปิยสวัสดิ์ เป็นเลขา สพช. ก็จะได้งานใน สพช. ดังนั้นเมื่อ ปิยสวัสดิ์ ย้ายไปเป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ก็จะไปได้งานในกรมประชาสัมพันธ์

จริงเท็จอย่างไรมีแต่ดร.ปิยสวัสดิ์ และผู้จัดการบริษัททริปเปิ้ล เจ เท่านั้นที่รู้

สำหรับผู้จัดการบริษัท คือ นางสาวสวินยา นุ่มพันธุ์ หรือ แจง เป็นอดีตผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์คุณภาพแถวประชาชื่น

นักการเมืองร่วมสังฆกรรม

สำหรับกลุ่มนักการเมืองที่เข้าไปมีเอี่ยวและเกี่ยวข้องที่ต้องเผยให้เห็นหน้าค่าตากันก็คือ รัฐมนตรีที่ดูแลนโยบายและกำกับดูแลด้านพลังงานในช่วงสำคัญๆ อาทิเช่น สาวิตต์ โพธิวิหค

ในยุครัฐบาลชวน 1 สาวิตต์ นั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ มีการประกาศรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP และรับซื้อไฟฟ้าจาก IPP รอบแรก 3,800 เมกะวัตต์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2537 จากนั้น เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2538 มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้ซื้อไฟฟ้าเพิ่มจาก IPP อีก 10% รวมเป็น 4,180 เมกะวัตต์

กระทั่งถึงยุครัฐบาลชวน 2 สาวิตต์ ก็ยังนั่งกำกับดูแลให้มีการลงนามในสัญญาซื้อไฟฟ้าจาก IPP ทั้ง 7 ราย เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 40 และ 22 ธ.ค. 40 หลังจากที่มีบันทึกความเข้าใจระหว่างกฟผ.กับ IPP ทั้ง 7 ราย รวมถึงการปรับฐานอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้คำนวณสูตรปรับอัตราค่าไฟฟ้าที่ 27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนของต่างชาติมากขึ้นในยุคของรัฐมนตรี บุญพันธ์ แขวัฒนะ ขณะที่ความเคลื่อนไหวในพื้นที่ นักการเมืองและญาติมิตรต่างดาหน้าเข้ากว้านซื้อที่ดินเพื่อขายต่อให้กับนายทุนโรงไฟฟ้า ทั้งนี้โดยมีนายหน้าค้าที่ดินในพื้นที่เข้าไปมีเอี่ยวด้วย

เอกสารที่ชาวบ้านบ่อนอก มอบให้แก่ทีมงานของจาตุรนต์ ฉายแสง ที่เดินทางลงไปดูข้อเท็จจริงของปัญหาในพื้นที่เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 44 ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นถึงขบวนการค้าที่ดินซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผลประโยชน์ชุดแรกๆ ในโครงการบ่อนอก ดังนี้ การซื้อขายที่ดินครั้งแรก เริ่มประมาณ พ.ศ. 2532 - 2533 โดยกลุ่มนายหน้าเริ่มกว้านซื้อที่ดินรวบรวมขายให้แก่นายทุน พ.ศ. 2533 มีการซื้อขายที่ดินระหว่างกลุ่มนายหน้าที่รวบรวมที่ดินไว้กับนายทุนและโอนเงินจากนายทุนคนหนึ่งชื่อเสี่ยปรั้ง อมาตยกุล โดยชื่อผู้ซื้อที่ดินชื่อว่า นางวนิดา อมาตยกุล เป็นภรรยาของเสี่ยปรั้ง และนางวนิดา เป็นน้องสาวของพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ปลายปี พ.ศ. 2533 พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ได้มาทำการทอดกฐินที่วัดบ่อนอก ตำบลบ่อนอก (พื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบ่อนอก) โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ของกระทรวงเกษตรฯ เป็นพาหนะเดินทางและมาพร้อมกับ นายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง ส.ส.จังหวัดประจวบฯ ในขณะนั้น ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำเงินมาทอดกฐินในฐานะเจ้าภาพใหญ่ จำนวน 50,000 บาท และได้ปราศรัยกับชาวบ้านที่มาร่วมงานว่า "ตนเป็นเขยบ่อนอกแล้ว เพราะได้ซื้อที่ดินไว้ 700- 800 ไร่" ซึ่งนายหน้าค้าที่ดินครั้งนั้นมีหลายคน แต่ที่เป็นตัวหลักและรวบรวมได้มากกว่าใคร ๆ คือ

1. นายเจือ หินแก้ว กำนันตำบลบ่อนอก ในขณะนั้น 2. ลูกสาวนายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง ที่ดินแปลงนี้ ปัจจุบัน เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท กัลฟ์ อิเลคตริค จำกัด

การซื้อขายที่ดินครั้งที่สอง ปี พ.ศ. 2536 - 2537 มีการกว้านซื้อที่ดินอีก โดยระยะแรกอ้างว่าจะนำไปทำนากุ้งกุลาดำ แต่ในระยะหลังบอกว่าจะซื้อที่ดินไปสร้างรีสอร์ตและสนามกอล์ฟ การจัดฉากสร้างภาพว่าจะทำเช่นนั้นจริง ๆ คือติดตั้งป้ายทางลงชายหาดหลายป้ายในบริเวณที่มีการก้วานซื้อที่ดินและทำหมวกแก๊ป สกรีนคำว่า บ่อนอกกอล์ฟคลับ แจกให้แก่ชาวบ้าน จนเชื่อว่าจะมีรีสอร์ตและสนามกอล์ฟจริง ๆ การขายที่ดินมีเพิ่มขึ้นและโอนเงินกันในปี พ.ศ. 2537 โดยนายหน้าชุดนี้ได้ขายให้แก่บริษัท กัลฟ์ อิเลคตริค จำกัด จำนวนประมาณ 700 ไร่

นายหน้าชุดที่ 2 นี้ ประกอบด้วยคนหลายคน แต่ที่เป็นทีมงานหลัก ได้แก่

1. นายเจือ หินแก้ว กำนันตำบลบ่อนอก ในขณะนั้น

2. นายสงคราม สังข์ด้วง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 ตำบลบ่อนอก

3. นายอาจินต์ พวงใหญ่ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลบ่อนอก

4. นายสำราญ ฟุ้งเฟื่อง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลบ่อนอก

5. นายสุนทร ริดกว้าง ชาวบ้านบ่อนอก การซื้อขายที่ดินครั้งที่สาม ปี พ.ศ. 2539 - 2540 มีการซื้อขายที่ดินแปลงใหญ่ คือนากุ้งกุลาดำ (จุดตั้งโรงไฟฟ้าในปัจจุบันที่อ้างว่าเป็นนากุ้งร้าง) ประมาณ 200 ไร่ และซื้อขายที่ดินบริเวณบ้านยุบพริกหลายรายประมาณ 400 ไร่ รวมชุดที่ 3 ประมาณ 600 ไร่ และขายให้แก่บริษัท กัลฟ์ อิเลคตริค จำกัด นายหน้าขายที่ดินครั้งนี้ คือ นายพีระพล ประจวบเหมาะ ลูกชายนายสำเภา ประจวบเหมาะ สส.จังหวัดประจวบฯ (ขณะนั้น) ปัจจุบัน กลุ่มนักค้าที่ดินในพื้นที่บางราย ได้เข้ามาเป็นกรรมการกองทุนชดเชยผลกระทบจากโรงไฟฟ้า และมีส่วนช่วยสนับสนุนให้โรงไฟฟ้าเกิดขึ้น นอกจากนั้นแล้ว ยังมีกลุ่มของ รักษ์ ตันติสุนทร และบริษัทลานนาลิกไนต์ กลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นเครือข่ายของพรรคประชาธิปัตย์ที่สำคัญ รักษ์ ตันติสุนทร อดีตรมช.พาณิชย์ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทกัลฟ์ฯ และถอนหุ้นออกไปเหลือเพียง 1 หุ้น เมื่อลงสมัครส.ส. สมัยที่ประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ขณะที่บริษัทลานนาลิกไนต์ ซึ่งเป็นบริษัทในตระกูลของรักษ์ ก็มีรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้นตั้งแต่แรกโดยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมผลักดันโครงการมาตั้งแต่ต้น ผลประโยชน์หลักที่ได้นอกเหนือจากกำไรที่จะได้ในฐานะผู้ถือหุ้นแล้ว บริษัทลานนาลิกไนต์ จะเป็นผู้กำหนดแหล่งซื้อถ่านหิน ปัจจุบัน บริษัทลานนาลิกไนต์ได้ไปซื้อเหมืองถ่านหินอดาโรไว้ที่อินโดนีเซีย เพื่อรอส่งถ่านหินขายให้กับโครงการนี้ และจากการเปิดเผยผลประกอบการล่าสุดรายได้ของบริษัทลานนาลิกไนต์ไม่เข้าเป้า อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการเลื่อนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอก ซึ่งตามสัญญาIPP ที่ทำไว้ กฟผ.จะเป็นผู้จ่ายค่าถ่านหิน ส่วนบริษัทกัลฟ์เพาเวอร์เจนเนอเรชั่น จะเป็นผู้รับจ้างผลิตกระแสไฟฟ้า เวลานี้ รักษ์ ตันติสุนทร ได้ส่งลูกเขยคือ สารัชถ์ รัตนาวะดี มาเป็นตัวแทนและนั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ สารัชถ์ ได้ชื่อว่าเป็นคนหนุ่มที่มีสไตล์การทำงานเชิงรุกและแข็งกร้าวชนิดตาต่อตาฟันต่อฟัน ไม่ค่อยประนีประนอม เขาได้รับฉายาจากชาวบ้านฝ่ายค้านโครงการว่า หล่ออำมหิต

สำหรับญาติมิตรนามสกุลเดียวกับนักการเมืองที่เข้าเกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าบ่อนอก ยังมีชื่อของ จงจิตต์ หลีกภัย ในฐานะผู้ตรวสอบบัญชีประจำปี 2542 ของบริษัทกัลฟ์เพาเวอร์เจนเนอเรชั่น อีกด้วย

ผู้บริหาร กฟผ.ที่บ่อนอก ปรีชา จูงวัฒนา อดีตผู้ว่า กฟผ. และ ณรงค์ วงศ์ไพบูลย์ รองผู้ว่า กฟผ.ทั้งคู่มีรายชื่อเป็นกรรมการบริหารของบริษัทกัลฟ์เพาเวอร์เจเนอเรชั่น จนมีการตั้งข้อสังเกตว่า การได้เข้ามาเป็นกรรมการบริหารเป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทนหรือไม่ ทั้งนี้เพราะ ปรีชา และ ณรงค์ เป็นผู้บริหารของ กฟผ. ยุคเดียวกันกับที่มีการประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลโครงการผลิตไฟฟ้าแบบ IPP และเป็นช่วงเจรจาเงื่อนไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ.กับเอกชน ซึ่งโดยตำแหน่งแล้ว ผู้ว่าฯกฟผ. จะทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการประเมินและคัดเลือกข้อเสนอการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ศิววงศ์ จังคศิริ มีรายชื่อเป็นกรรมการบริษัทกัลฟ์เพาเวอร์เจเนอเรชั่น แล้วยื่นใบลาออกไปรับตำแหน่งประธานบอร์ด กฟผ. เมื่อเดือนเมษายน 2542 ในช่วงที่มีการอนุมัติให้จ่ายค่าชดเชยจากการเลื่อนโครงการให้กับโรงไฟฟ้าบ่อนอก จนครั้งสุดท้ายที่มีมติทิ้งทวนในการประชุมครั้งสุดท้ายของบอร์ดกฟผ.อนุมัติให้เลื่อนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอกพร้อมจ่ายค่าชดเชยอีกเช่นกัน

ศิววงศ์ ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับตระกูลตันติสุนทร และ อานันท์ ปันยารชุน ความสัมพันธ์ระหว่างกฟผ.กับโรงไฟฟ้าบ่อนอก เป็นไปด้วยดี เพราะเชื่อมด้วยความสัมพันธ์ของตระกูลตันติสุนทร ที่ซึ่งเป็นคู่ค้าเก่าของกฟผ.มาก่อนด้วย

โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก ไม่เพียงแต่จะมีอดีตผู้บริหารกฟผ.จะเข้าไปมีเอี่ยวโดยส่วนตัว บริษัทผลิตไฟฟ้าเอกโก้ (บริษัทลูกของกฟผ.) ก็เข้าร่วมวงไพบูลย์ด้วยตามธรรมชาติของธุรกิจพลังงานที่ผูกขาดกันอยู่ไม่กี่กลุ่มกี่ตระกูล เอ็กโก้ เป็นผู้ถือหุ้นที่เข้ามารายล่าสุด เป็นที่น่าเป็นห่วงว่า ปัจจุบันผู้บริหารกฟผ. เป็นผู้บริหารในบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกโก้ด้วย เช่น สิทธิพร รัตโนภาส อยู่ในฐานะสวมหมวก 2 ใบ คือเป็นทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างตามสัญญา

การสวมหมวกหลายใบจะมีผลต่อการตัดสินใจ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น จุดยืนของ สิทธิพร จะยึดประโยชน์ของข้างไหนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมองไปในอนาคตอาจต้องมีการเจรจาผลประโยชน์เกิดขึ้น เช่นยกเลิกโรงไฟฟ้า หรือการใช้ระบบตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องเข้าสู่ระบบตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า (Power Pool) การถือหุ้นไขว้กันลักษณะเช่นนี้ จะนำไปสู่ปัญหาการฮั้วราคาค่าไฟฟ้าได้ไม่ยากโดยเฉพาะหากเอ็กโก้ ถือหุ้นในโรงไฟฟ้าต่างๆ ได้เกิน 5,000 เมกะวัตต์ ตามเป้าหมายทางธุรกิจที่วางไว้ ก็จะเป็นแกนกลางในการฮั้วราคาได้ไม่ยาก นอกเหนือจากกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศแล้ว ยังมีทุนต่างชาติร่วมวงในโรงไฟฟ้าบ่อนอกด้วย คือ บริษัทเอดิสันอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นอีกรายของบริษัทกัลฟ์ฯ ความเคลื่อนไหวต่อสาธารณะที่เป็นข่าวมีเพียงครั้งเดียวคือ การที่ทูตอเมริกาเข้าพบรัฐบาลสมัยพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาล เพื่อเร่งให้มีการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอกโดยเร็ว อานันท์ ปันยารชุน ตำนานอมตะ หากพูดถึงโรงไฟฟ้าหินกรูดโดยไม่เอ่ยถึง อานันท์ ปันยารชุน แห่งสหยูเนี่ยน อดีตนายกรัฐมนตรี ดูเหมือนหน้าประวัติศาสตร์สำคัญได้ขาดหายไป นโยบายขยายธุรกิจมาในด้านพลังงานของสหยูเนี่ยน เกิดขึ้นหลังจาก อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกฯ รอบสอง ซึ่งในช่วงดำรงตำแหน่งนี้ ได้ริเริ่มการแปรรูปกฟผ. นโยบายที่สำคัญคือการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าแทนกฟผ. หลังจากนั้น บริษัทสหยูเนี่ยน ได้ร่วมเข้าประมูลและชนะประมูลโครงการIPP ซึ่งช่วงนั้น ว่ากันว่า ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง เกษม จาติกวณิช ผู้สถาปนาระบบอุปถัมภ์และเป็นเสาหลักกฟผ. กับ อานันท์ ปันยารชุน มีส่วนช่วยได้มาก หลังจากนั้น สหยูเนี่ยนได้ขายหุ้นโดยอาศัยเครือข่ายและภาพพจน์ที่ดีของ อานันท์ ในแวดวงต่างประเทศ และถอยห่างออกมาในภายหลัง สหยูเนี่ยน ขายหุ้นไป 90% ให้กับบริษัทข้ามชาติ เช่น ฟอร์ตุ้ม จากประเทศฟินแลนด์ (ปัจจุบันถอนหุ้นแล้ว) เซป้า จากอเมริกา (ปัจจุบันถอนหุ้นแล้ว) และบริษัทโตเมน จากญี่ปุ่น อานันท์ ประธานสภาที่ปรึกษาฯ ผู้ซึ่งพยายามทำความเข้าใจในปัญหาของชาวบ้านผู้ยากไร้ สามารถลอยตัวอยู่เหนือปัญหาความขัดแย้งที่บ้านกรูดได้อย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งความจริงอานันท์ ก็น่าจะทำได้ เพราะเวลานี้ ผู้ตัดสินใจหลักไม่ได้อยู่ที่สหยูเนี่ยน แต่อยู่ที่บริษัทโตเมน แห่งญี่ปุ่น สหยูเนี่ยน เพียงแต่อาศัยจังหวะหากินกับโครงการนี้ลักษณะเดียวกับนายหน้าเข้าประมูลงาน คือประมูลให้ได้สัญญาอยู่ในมือแล้วขายต่อทันทีเพื่อทำกำไร

บริษัทโตเมน เป็นหุ้นส่วนที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในโครงการโรงไฟฟ้าหินกรูด มีนายโคอิชิ ฮัตสุตะเป็นผู้ดูแลหลัก ผลประโยชน์ที่ได้จากโครงการคือ นอกจากจะได้แบ่งกำไรในฐานะผู้ถือหุ้นแล้วจะได้เป็นผู้กำหนดแหล่งที่จะซื้อถ่านหิน โตเมน ได้ไปซื้อกิจการและเป็นเจ้าของเหมืองถ่านหินที่ออสเตรเลีย รอไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เฉพาะค่าถ่านหินมูลค่าตลอด 25 ปี ไม่ต่ำกว่า 400,000 ล้านบาท จึงบอกได้ว่าโตเมนเป็นกลุ่มผลประโยชน์หลักของโครงการโรงไฟฟ้าหินกรูดในปัจจุบัน โตเมน มีความหวังกับโครงการนี้ค่อนข้างมาก ประกอบกับสถานะทางการเงินประสบวิกฤตอย่างหนักจนต้องขายกิจการในเครือทิ้งเหลือเพียงธุรกิจด้านสิ่งทอ พลังงานและโทรคมนาคม ปัจจุบันอยู่ในช่วงที่ยังไม่พ้นวิกฤตทางการเงิน

สไตล์การทำธุรกิจของผู้บริหารญี่ปุ่นจากโตเมน ต่างเชื่อมั่นกับการใช้กระดาษที่สามารถชำระหนี้ได้กฎหมาย เป็นใบเบิกทางในทุกๆ เรื่อง และไม่ปฏิเสธการใช้กำลัง แต่สำหรับพันธมิตรแล้ว โตเมน รับรองได้ถึงใจขนาดซื้อกิจการรีสอร์ทเบย์วิว ไว้เป็นที่รับแขกในระดับผู้บริหารและเครือข่ายพันธมิตร

หลังการถอนตัวของผู้ร่วมหุ้นจากฟินแลนด์ และ เซป้า จากอเมริกา แล้ว โตเมน สามารถชักชวน ชูบุ อิเล็กทริก เพาเวอร์ คอมปานี บริษัทผลิตไฟฟ้าใหญ่เป็นอันดับ 3 ของญี่ปุ่น เข้ามาร่วมลงทุนในโครงการ บรรดาหุ้นส่วนธุรกิจที่ร่วมนี้วาดฝันถึงผลกำไรอันงามในอนาคตโดยไม่สนเสียงค้าน นอกจากนั้นแล้ว ในการเคลื่อนไหวกดดันเชิงนโยบาย โตเมน จะใช้เจบิค และทูตญี่ปุ่น รวมทั้งเน้นงานสื่อกับนสพ.ญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยเน้นการป้ายสีให้ฝ่ายคัดค้านโครงการเป็นสมุนของมาเฟียค้ายาเสพติดและเป็นผู้สูญเสียประโยชน์ด้านการขายที่ดินเป็นเหตุผลหลักในการคัดค้านโครงการ

ส่วนระดับพื้นที่ ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นจะเน้นการสานสัมพันธ์ที่ดีนักการเมืองในพื้นที่ โดยเฉพาะ อุดมศักดิ์ ทั่งทอง ซึ่งเป็นนักการเมืองในท้องถิ่นที่สนับสนุนโครงการอย่างชัดเจนโดยร้อยรัดเชื่อมโยงกันด้วยผลประโยชน์ต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะงานร้อนและเครือข่ายในพื้นที่บารมีของ อุดมศักดิ์ สามารถช่วยโรงไฟฟ้าได้มาก นที สิทธิประศาสน์ VS สหายช่วง แห่งหินกรูด อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ผู้ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นหนังหน้าไฟและไม่กล่าวถึงไม่ได้ ก็คือ นที สิทธิประศาสน์ และ ธงชัย สุวรรณวิหค นที เขาเป็นลูกชายของดร.เอนก สิทธิประศาสน์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นที คือลูกไม้ที่หล่นไม่ไกลต้น เขาร่ำเรียนด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากนั้นบินไปต่อปริญญาโทที่อเมริกาก่อนกลับมารับราชการอยู่พักหนึ่งแล้วผันตัวเองมาอยู่ที่สหยูเนี่ยน และได้รับการส่งเสริมให้เติบใหญ่ขึ้นเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและประชาสัมพันธ์ เมื่อมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้น นที แห่งหินกรูด มีบุคลิกที่ดูนุ่มนวลเชือดนิ่มกว่าเมื่อเทียบกับ สารัชถ์ แห่งบ่อนอก ถึงแม้ โตเมน จากญี่ปุ่น จะใหญ่ แต่ยังต้องพึ่งพาอาศัย นที อยู่มาก โดยเฉพาะบทบาทในด้านการประสานกับหน่วยงานราชการต่างๆ เพราะนามสกุล สิทธิประศาสน์ ของเขาเป็นใบเบิกทางที่นายทุนญี่ปุ่นไม่มี

ส่วน ธงชัย สุวรรณวิหค หรือ สหายช่วง นั้นก็คือ ผู้ที่เป็นทัพหน้ารับศึกมวลชน ขณะที่อีกด้านหนึ่งเขาต้องทะเลาะกับผู้บริหาร เพื่อให้นายทุนต้องควักเงินจ่ายเพื่อแก้ไขปัญหามวลชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเวลานี้ ที่หินกรูดอย่างน้อยก็มีกองทุนพัฒนาชุมชน ที่ใช้งบประมาณ 30 ล้านบาท/ปี, กองทุนค้ำประกันอาชีพ 10 ล้านบาท งบสำหรับงานกิจกรรมสาธารณประโยชน์ และงบสำหรับสร้างปศุสัตว์ทะเลและปะการังเทียม

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าความพยายามของสหายช่วง เป็นเพียงความพยายามที่สูญเปล่าในสายตาของฝ่ายค้านโครงการ มิหนำซ้ำ ยังถูกกล่าวหาว่า อาศัยคราบของคนที่เคยทำงานกับมวลชนในนามคนเดือนตุลาฯ มารับใช้นายทุน พ่วงเข้าไปอีกต่างหาก

นักวิชาการกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ประเด็นร้อนอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหิน อาจดูไม่เหมาะที่ครูบาอาจารย์ นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาจะเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร และจะศึกษาด้วยจุดประสงค์ใด ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมเสี่ยงต่อชื่อเสียงและเสียมากกว่าได้

ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อชุมชน คือ เรื่องถกเถียงกันไม่จบ ต่างฝ่ายต่างโต้แย้งกันไปมา ส่วนหนึ่งเพราะเป็นปัญหาเชิงเทคนิค ขึ้นอยู่กับว่าจะมองมุมไหน จะหยิบประเด็นอะไรขึ้นมา

ประเด็นนักวิชาการและบริษัทที่ปรึษา ทีมข่าวพิเศษ ผู้จัดการรายวัน เคยตีแผ่ความจริงมาแล้ว ใน ซีรีส์ ชำแหละกระทรวงวิทย์ฯ ตอนเปิดหน้ากากบริษัทที่ปรึกษา คนบาปในคราบนักวิชาการ ที่เผยให้เห็นการทำอีไอเอ หรือรายงานผลการศึกษาโครงการฯ ตามสั่ง ว่าเขาทำกันอย่างไร ใครเป็นใครในวงการ

หากจะกล่าวสำหรับนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อมวลชนทั่วไป คือ ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาโครงการปศุสัตว์ทะเล มูลค่า 62 ล้านบาท ให้กับโครงการโรงไฟฟ้าหินกรูด และเข้าไปศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหลายเรื่อง เช่น สำรวจความอุดมสมบูรณ์บริเวณอ่าวหน้าโครงการโรงไฟฟ้าหินกรูด ตั้งแต่เดือนมีนาคม-สิงหาคม 2541, ทำรายงานการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงสร้างของกลุ่มปะการังบริเวณชายฝั่งทะเลหินกรูด ร่วมกับนายนิลนาจ ชัยธนาวิสุทธ์ และดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน เมื่อ 24 พค.42 ฯลฯ สิ่งที่ ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์ ยืนยันมาตลอดก็คือ เขาเป็นนักวิชาการและเป็นผู้ศึกษาหาข้อเท็จจริง เวลานี้ เขากำลังค้าความอยู่กับสื่อมวลชนที่กล่าวหาว่าเขาไปแสวงหารายได้จากโรงไฟฟ้า การตอบโต้จากพื้นที่ ศ.ดร.เปี่ยมศักดิ์ เพียงถูกชาวบ้านขับไล่ไม่ให้เรือวิจัยจุฬาภรณ์มาสำรวจทะเลบ้านกรูด แต่สำหรับทีมวิจัยของ นิลนาจ ชัยธนาวิสุทธ์ นักวิจัยผู้ขำนาญระดับ 8 สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาเจอเหตุการณ์รุนแรงกว่า เพราะเขาเจอ ปลาตีน เต็มหาดประจวบฯ เช่นเดียวกับผศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และกลุ่มนักศึกษา ที่อยู่ในทีมเดียวกัน ดูเหมือนความขัดแย้งที่คุกรุ่นในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จะไม่เหลือพื้นที่ความเป็นกลางไว้ให้ใครประกาศศักดิ์ศรีและความกล้าหาญที่เล่นกับของร้อนแล้วไม่ลวกมือได้ ผู้ที่แหย่เท้าเข้าไปไม่ว่าจะน้อยหรือมาก จะเท้าข้างซ้ายหรือขวา พึงสังวรระวังไว้ว่า อาจจะเกิดเรื่องตามมา ไม่มากก็น้อย และต้องเตรียมพร้อมที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์และพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

ชาวบ้าน-เอ็นจีโอบ่างช่างยุ? การเคลื่อนไหวของชาวบ้านที่เกิดขึ้นไม่ว่าที่ไหนมักจะมีสูตรสำเร็จในการกล่าวหาอยู่ 2-3 เรื่อง คือ มีนายทุนหนุนหลัง มีผลประโยชน์ มีคนนอกพื้นที่โดยเฉพาะพวกเอ็นจีโอมายุยง และนิยมความรุนแรงก้าวร้าว ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นข้อกล่าวที่ค่อนข้างล้าหลังเอาการ

ในเมื่อบ้านที่เคยอยู่อู่เคยนอนจะถูกคนจรหมอนหมิ่นมาเบียดขับและยึดครองจะมีใครยอมให้เรื่องทำนองนั้นเกิดขึ้น ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชาวบ้านที่ลุกขึ้นมาต่อกรกับรัฐและนายทุน มันไม่ไช่เพิ่งเกิดที่บ่อนอกหรือหินกรูด บทเรียนซ้ำซากทำนองนี้มีมากเกินกว่าที่จะปล่อยให้เกิดขึ้นอีกแม้สักครั้งเดียว แต่กลับไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นกระบวนการ มิหนำซ้ำฝ่ายรัฐฯ ยังนิยมใช้ความรุนแรงสยบปัญหาอีกด้วย

ผู้ที่กลายเป็น ฮีโร่ ในสายตาชาวบ้านที่ไม่รู้จะหันหน้าพึ่งใคร ก็มีเพียงบรรดาเอ็นจีโอที่ยื่นมือเข้ามาให้ความรู้ให้ข้อมูลและหาทางออกในปัญหาที่เกิดขึ้น

การทำงานต้องมีที่ปรึกษา นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สส./สว/ แม้แต่โรงไฟฟ้า ก็มีที่ปรึกษา ท่านเรียกที่ปรึกษาของท่านว่าผู้ยุยงหรือเปล่า ที่ปรึกษาของเราเข้ามาเกี่ยวข้องในการเปิดโอกาสให้เราได้นำเสนอข้อมูลในวงสัมมนาทางวิชาการมากกว่าที่จะเข้ามาบอกให้เราไปนั่งตากแดดให้ตำรวจตีหัว ที่ปรึกษาช่วยเหลือเราในงานวิจัย ที่ทำให้รู้ว่า พลังงานไฟฟ้ายังมีสำรองเหลือเฟือ มีพลังงานที่สะอาด ไม่มีมลพิษมากเหมือนถ่านหิน ทำให้รู้ว่า กฟผ. พยายามปิดโรงไฟฟ้าของตัวเองด้วยข้ออ้างต่าง ๆ นานา เพื่อทำให้ข้อมูลอัตราสำรองไฟฟ้าเหลือน้อยลง และแนะนำให้เราเก็บรวมรวมข้อมูล ค้นหาศักยภาพของชุมชนของเราและค้นหาเหตุผลที่จะมาลบล้างความชอบธรรมของโรงไฟฟ้าต่างหาก ไม่เคยแนะนำให้เราเอาเงินไปจ้างใครมาประท้วงหรือรับเงินของบริษัท นั่นคือเหตุผลที่ชาวบ้านบอกกล่าวต่อสังคม