พูดคุย:นาซีเยอรมนี

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นาซีเยอรมนี เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ นาซีเยอรมนี หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
นาซีเยอรมนี เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศเยอรมนี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศเยอรมนี ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ นาซีเยอรมนี หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
นาซีเยอรมนี เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิทวีปยุโรปและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับทวีปยุโรป ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ นาซีเยอรมนี หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

Google books[แก้]

--Horus | พูดคุย 20:06, 7 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)

แผนที่ในบทความ[แก้]

The shown card is wrong, compare to the English or German version of this article. Germany lost much of its territory after Wolrd War I, gained this and other territories again under the Nazis rule and lost even more again after World War II. The given Map shows the situation directly after World War I, although Germany and Austria already are united.

อ้างอิง[แก้]

อ้างอิง<30><31>หายไป รบกวนผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบด้วยครับ --Chale yan 17:49, 1 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)

  • ทำการลบออกแล้ว และไม่พบการอ้างอิงในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษครับ --Horus | พูดคุย 20:31, 1 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)

อ้างอิงที่ถูกนำออก[แก้]

นาซีเยอรมนีเป็นชื่อเรียกสามัญของประเทศเยอรมนี ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1933-1945 ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคนาซี

  1. Fritzsche, Peter. 1998. Germans into Nazis. Cambridge, Mass.: Harvard University Press.
  2. Kele, Max H. (1972). Nazis and Workers: National Socialist Appeals to German Labor, 1919–1933. Chapel Hill: The University of North Carolina Press.
  3. Payne, Stanley G. 1995. A History of Fascism, 1914–45. Madison, WI: University of Wisconsin Press.
  4. Eatwell, Roger. 1996. “On Defining the ‘Fascist Minimum,’ the Centrality of Ideology”, Journal of Political Ideologies 1 (3) :303–19. Eatwell, Roger. 1997. Fascism: A History. New York: Allen Lane.

--Horus | พูดคุย 20:34, 1 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)

โดยฮิตเลอร์มักพูดเสมอว่า "ผู้ทรยศ (อันหมายถึงชาวยิว พวกคอมมิวนิสต์ และพวกสังคมนิยมเป็นส่วนใหญ่) แทงข้างหลังกองทัพเยอรมัน เยอรมนีไม่ได้แพ้สงคราม แต่ถูกหักหลัง..." (สุปราณี มุขวิชิต, ประวัติศาสตร์ยุโรป (1815-ปัจจุบัน) เล่ม 1, สำนักพิมพ์โอเดียนสตาร์, หน้า 341) --Horus | พูดคุย 21:07, 1 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)

หลังจากพรรคนาซีได้ขึ้นมามีอำนาจแล้ว ฮิตเลอร์ได้ออกนโยบายกีดกันชาวยิวให้ออกจากเยอรมนี และปฏิบัติต่อชาวยิวดังพลเมืองชั้นสอง

  1. Richard Evans, The Coming of the Third Reich (New York: Penguin Books, 2003) , 441.

และขับไล่ชาวยิวออกจากหน่วยงานทุกแห่งในเยอรมนี

  1. Refugee Scholars:Conversations with Tess Simpson. Leeds. 1992. p. 31. {{cite book}}: |first= ไม่มี |last= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |Last= ถูกละเว้น แนะนำ (|last=) (help)

ซึ่งแผนการดังกล่าวนับได้ว่าเป็นศูนย์กลางของ "การปฏิวัติวัฒนธรรม" ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

  1. Richard Evans, The Coming of the Third Reich (New York: Penguin Books, 2003) , 441.

วันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 ฮิตเลอร์เข้ารับตำแหน่งมุขมนตรีเยอรมนี และปกครองประเทศในระบอบเผด็จการภายในสองเดือนนับจากวันที่เขารับตำแหน่ง หลังจากความพยายามของนายพล คูร์ท ฟอน ชไลเชอร์ ในการล้มล้างรัฐบาล (เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันว่า มัคเทอร์ไกรฟุง) ซึ่งเขาคาดว่าเมื่อทำสำเร็จแล้ว เขาจะสามารถควบคุมการกระทำของฮิตเลอร์ด้วยการเป็นรองมุขมนตรีแห่งเยอรมนี และควบคุมพรรคนาซีให้เป็นเสียงข้างน้อยในคณะรัฐมนตรี ฮินเดนเบิร์กตกอยู่ใต้แรงกดดันจากฮิตเลอร์ผ่านบุตรของเขา ออสคาร์ ฟอน ฮินเดนเบิร์ก และยังสมรู้ร่วมคิดกับมุขมนตรีแห่งเยอรมนีคนก่อนหน้า คือ ฟรานซ์ ฟอน พาเพน หัวหน้าพรรคศูนย์กลางคาทอลิก หลังจากที่เขาพยายามที่จะมีส่วนร่วมในความต้องการแบ่งปันผลประโยชน์ทางการเงิน และความมุ่งมั่นของเขาที่จะต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ และแม้ว่าพรรคนาซีจะเป็นพรรคที่ได้ครองเสียงข้างมากในสภาไรช์ตาร์กทั้งสองสภาจากผลการเลือกตั้งแห่งปี 1932 แต่พรรคนาซีก็ไม่ได้ครองเสียงข้างมากในรัฐสภา

  1. สุปราณี มุขวิชิต, ประวัติศาสตร์ยุโรป (1815-ปัจจุบัน) เล่ม 1, สำนักพิมพ์โอเดียนสตาร์, หน้า 348

--Horus | พูดคุย 20:45, 5 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)

ในยามค่ำคืนของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933 เกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สทัก และสภาคอมมิวนิสต์ของดัตช์ มารินัส แวน เดอ ลูเบ ถูกพบเห็นในอาคารรัฐสภาในตอนนั้นด้วย ทำให้เขาถูกจับกุมและถูกตั้งข้อหาลอบวางเพลิง เหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อพวกที่ต้องการล้มรัฐบาล พวกสังคมนิยมและพวกคอมมิวนิสต์จำนวนหลายพันคนทั่วประเทศ พวกคนเหล่านี้ได้รับโทษถึงตายหรืออาจถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกันดาเชา

  1. Roderick Stackelberg, Hitler's Germany: origins, interpretations, legacies. Routledge 1999, p. 103. ISBN 0-415-20114-4.
  2. Scheck, Raffael. Establishing a Dictatorship: The Stabilization of Nazi Power Colby College. Retrieved 2006, 07-12.

มวลชนซึ่งตื่นตระหนกกับเหตุการณ์เพลิงไหม้ครั้งนั้นทวีความวิตกกังวลขึ้น ด้วยเกรงว่าลัทธิคอมมิวนิสต์จะทำการปฏิวัติประเทศ พรรคนาซีจึงได้ประโยชน์อย่างมหาศาลจากเหตุการณ์นี้เพื่อกำจัดผู้ที่น่าสงสัยว่าจะก่อการกบฏ เหตุการณ์เพลิงไหม้ครั้งนั้นทำให้เกิดกฤษฎีกาว่าด้วยเพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สทัก ซึ่งเป็นการจำกัดการเรียกตัวผู้กระทำผิดมายังศาล และลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนเยอรมันทั่วไป

--Horus | พูดคุย 20:57, 5 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)

รัฐบาลใหม่ได้ปกครองประเทศในรูปแบบของเผด็จการเบ็ดเสร็จและการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ฮิตเลอร์ได้ออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อให้ตนเองมีอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

  1. Arendt, Hannah. The Origins of Totalitarianism. London; New York; San Diego:Harvest Book. Pp. 306
  2. Curtis, Michael. 1979 Totalitarianism. New Brunswick (USA) ; London: Transactions Publishers. Pp. 36
  3. Burch, Betty Brand. 1964 Dictatorship and Totalitarianism: Selected Readings. Pp. 58
  4. Bruhn, Jodi; Maier, Hans Hans Maier. 2004. Totalitarianism and Political Religions: Concepts for the Comparison of Dictatorships. Routledge: Oxon (U.K.) ; New York. Pp. 32.

--Horus | พูดคุย 21:07, 5 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)

ฮิตเลอร์จึงจำเป็นต้องเลี่ยงไปจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรคนาซีกับพรรคประชาชาติเยอรมันแทน ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งของประธานาธิบดี ภายใต้มาตราที่ 48 แห่งรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐไวมาร์ ค.ศ. 1919

  1. Hakim, Joy (1995). A History of Us: War, Peace and all that Jazz. New York: Oxford University Press. pp. 100–104. ISBN 0-19-509514-6.

--Horus | พูดคุย 21:13, 5 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)

สัญลักษณ์แห่งสาธารณรัฐไวมาร์ รวมไปถึงธงสีดำ-แดง-ทอง (ซึ่งเป็น ธงชาติเยอรมนี ในปัจจุบัน) ถูกยกเลิกโดยการปกครองรูปแบบใหม่ ซึ่งได้รับเอาการแสดงนัยทางศิลปะทางสมัยจักรวรรดิสมัยเก่าและสมัยใหม่เข้าด้วยกันจนกลายมาเป็นธรรมชาติของการปกครองของพรรคนาซี ผู้ซึ่งนิยมการปกครองแบบจักรวรรดินิยม จักรวรรดิเก่า สีดำ-ขาว-แดง เกือบจะสูญสิ้นไปในสมัยสาธารณรัฐไวมาร์ ซึ่งได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาในฐานะเป็นหนึ่งในสองของธงชาติเยอรมนีอย่างถูกต้องตามกฎหมายและเป็นทางการ ส่วนธงชาติอย่างเป็นทางการอีกแบบหนึ่ง คือ ธงสวัสดิกะ ประจำพรรคนาซี

  1. Santiago Dotor and Norman Martin. "German Hunting Society 1934–1945 (Third Reich, Germany)" Flags of the World. The flag of the Reichsbund Deutsche Jägerschaft

แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1935 ได้กลายมาเป็นธงชาติเดี่ยวเพียงผืนเดียวของเยอรมนี ส่วนเพลงชาติเยอรมันยังคงเป็นเพลง "ดอยท์ชลันด์ลีด" แต่ก็เป็นเพียงเฉพาะท่อนแรกของเพลงเท่านั้น ส่วนเนื้อหาที่เหลือจะเป็นเพลง "ฮอร์สท์เวสเซลลีด" รวมไปถึง การสดุดีฮิตเลอร์ --Horus | พูดคุย 21:40, 5 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)

"คืนแห่งมีดเล่มยาว"

  1. "...ผู้ที่ถูกสังหารไม่เพียงแต่เป็นนักการเมืองผู้มีชื่อเสียงของเยอรมนีเท่านั้น หากแต่ยังมีผู้ที่สนับสนุนพรรคนาซีอยู่ด้วย รวมทั้งนักการเมืองฝ่ายขวาจัดก็ถูกสังหารชีวิต..." แหล่งที่มา: ธนู แก้วโอภาส, เหตุการณ์สำคัญในศตวรรษที่ 20, ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2549, หน้า 127-129
  2. Evans (2005) , p. 39. "At least eighty-five people are known to have been summarily killed without any formal legal proceedings being taken against them. Göring alone had over a thousand people arrested."
  3. Kershaw, Hitler, (1999) , p. 517. "The names of eighty-five victims [exist], only fifty of them SA men. Some estimates, however, put the total number killed at between 150 and 200."
  4. Evans, Richard (2005). The Third Reich in Power. Penguin Group. p. 39. At least eighty-five people are known to have been summarily killed without any formal legal proceedings being taken against them. Göring alone had over a thousand people arrested.

เนื่องจากขนาดของกองทัพบกเยอรมันถูกจำกัดไว้ที่ 100,000 นาย จากผลของสนธิสัญญาแวร์ซาย และเนื่องจากผู้นำหน่วยเอสเอได้ยุบรวมเอากองทัพบกเข้ากับหน่วยเอสเอและได้ก่อ "การปฏิวัติครั้งที่สอง" ซึ่งมีแนวคิดไปทางสังคมนิยม เพื่อที่จะล้มล้างการปฏิวัติของพวกชาตินิยมที่ได้เกิดขึ้นเมื่อฮิตเลอร์ก้าวขึ้นสู่อำนาจ เนื่องจากสาเหตุหลายประการจากการฆาตกรรมของ เออร์เนส โรห์ม ผู้นำหน่วยเอสเอในคืนแห่งมีดเล่มยาว การถึงแก่อสัญกรรมของฮินเดนเบิร์ก การรวมกองทัพบกให้เข้ากับหน่วยเอสเอ รวมไปถึงคำมั่นสัญญาที่จะขยายขอบเขตของกองทัพบกออกไป ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพบกเยอรมันกับฮิตเลอร์เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ทหารเยอรมันได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะยอมเชื่อฟังคำสั่งของฮิตเลอร์ ต่อมา พรรคนาซีได้ยกเลิกความเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพวกชาตินิยมหัวอนุรักษ์อย่างเป็นทางการ และเริ่มต้นปลูกฝังแนวคิดและสัญลักษณ์ของพรรคนาซี หนังสือเรียนในสถานศึกษาได้รับการเปลี่ยนใหม่หรือได้รับการเขียนขึ้นมาใหม่ และครูบาอาจารย์ที่ไม่ยอมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาให้เป็นแบบนาซีจะถูกไล่ออกจากสถานศึกษา --Horus | พูดคุย 22:29, 5 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)