พูดคุย:ทรัพย์สิน

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทรัพยสิทธิ[แก้]

  1. สิทธิครอบครอง แบบเดิมดีอยู่แล้วหรือเปล่าครับ
  2. การเขียนว่าการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ต้องเป็นการครอบครองปรปักษ์ จะจำเพาะเกินไปหรือเปล่า เช่น กรณีชาวบ้านจับจองที่มือเปล่า ได้เอกสาร พ.บ.ท. 5 แล้วเปลี่ยนไปเป็น ส.ค. 1 ไปเรื่อยๆ จนได้ น.ส. 4 ซึ่งคือโฉนด อันทำให้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น ก็ไม่เกิดการครอบครองปรปักษ์แต่อย่างใด
  3. ทรัพยสิทธิ นิยามไม่ค่อยชัดเจนหรือเปล่าครับ มีโดยเบื้องต้นว่า มีลักษณะคงทนถาวร และไม่หมดสิ้นไป แต่ก็ดันยกเว้น ภาระจำยอม และ ภาระติดพันอีก ???
  4. กำลังคิดว่า สิทธิการเช่าถือเป็น ทรัพยสิทธิ์หรือไม่

ส่วนเรื่องสากลยังเป็นปัญหาที่ขอลืมไว้ก่อน ถ้ามีปัญหาเปลี่ยชื่อตัดต่อเอา --taweethaも 21:06, 26 กันยายน 2552 (ICT)

  1. ในกฎหมายของประเทศซีวิลลอว์ทุกประเทศหัวข้อหลักคือ "ครอบครอง" น่ะ ส่วนสิทธิครอบครองเป็นบทย่อยในนั้น
  2. มีคำ "เป็นต้น" ต่อท้ายนะ และนั้นเป็นเรื่องครอบครองน่ะ ครอบครองไม่มีกรรมสิทธิ์ มีแต่สิทธิที่เรียก "ครอบครอง" แต่สิทธิครอบครองนี้อาจเติบใหญ่เป็นกรรมสิทธิ์ได้
  3. ไว้ค่อยเขียนบทความหลักเรื่อง "ทรัพยสิทธิ" ก่อนก็ได้มั้ง
  4. ถ้าหมายถึงสิทธิการเช่าซื้อนะ เป็นทรัพยสิทธิ

—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๒.๐๙.๒๖, ๒๑:๑๒ นาฬิกา (ICT)

ติดใจข้อ 2 ข้อเดียวครับ ขอเติมให้หน่อยนึงแล้วกันครับ ส่วนข้ออื่นก็ช่วยกันต่อไปนะครับ จะสอบแล้วยังมาช่วยเขียนวิกิพีเดียกันขยันขันแข็ง ขอบคุณหลายๆ ครับ --taweethaも 21:19, 26 กันยายน 2552 (ICT)

เรื่องออกโฉนดที่ดินนั้น หลังจากที่ได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มาโดยครอบครองปรปักษ์แล้ว ต้องไปขอให้ศาลสั่งว่าได้กรรมสิทธิ์มาแล้ว เพื่อให้แก้ชื่อผู้มีกรรมสิทธิ์ในทะเบียน เช่น ในโฉนดที่ดิน หรือเอกสารอื่น ๆ เป็นชื่อตนแล้ว ถ้าไม่มีการแก้ทางทะเบียนจะไม่สมบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิและบางทีอาจเป็นโมฆะหรือเปล่า ต้องขอตรวจดูอีกที

แต่ครอบครองปรปักษ์ได้เฉพาะทรัพย์สินของเอกชนเท่านั้น ทรัพย์สินของแผ่นดินและที่ดินมือเปล่า (คืออะไรต้องคุยกันยาว ๕ ๆ ๆ แต่เอาคร่าว ๆ ว่า เช่น ที่ดินที่มีแต่หนังสือแสดงสิทธิครอบครอง แต่ไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์) ไม่ว่าครอบครองไว้นานเท่าไรก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ไป

—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๒.๐๙.๒๖, ๒๑:๒๓ นาฬิกา (ICT)

ขอโทษทีผมงงเอง... แก้ทีละหลายบทความเกี่ยวเนื่องกัน โชคดีอยู่ช่วยกันดู ผมยึดติดกับเรื่องที่ดินเป็นหลักเลยงง... ตั้งหลักใหม่นะครับ สิทธิครอบครอง (เช่น เอกสาร ส.ค.) ไปครอบครองปรปักษ์มาไม่ได้ เพราะเจ้าของเดิมไม่ได้มีกรรมสิทธิ์และคนไปครอบครองของเขาก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เช่นกัน --taweethaも 22:54, 26 กันยายน 2552 (ICT)

ทีนี้มาดูข้อนี้อีกที

ครอบครอง (อังกฤษ: possession) คือ การที่บุคคลที่เข้ายึดถือทรัพย์สิ่งหนึ่งเพื่อตนเอง ทำให้ได้ไปซึ่ง "สิทธิครอบครอง" (อังกฤษ: possessory right) ไม่ถึงกับเป็นกรรมสิทธิ์แต่อาจเติบใหญ่เป็นกรรมสิทธิ์ได้เป็นต้นว่า โดยครอบครองปรปักษ์ (อังกฤษ: adverse possession) [24]

มันแปลกๆ ตรงที่ว่า ข้ออื่นๆ เป็นคำนาม แต่ข้อนี้เป็นคำกริยา แล้ว "ไม่ถึงกับเป็นกรรมสิทธิ์แต่อาจเติบใหญ่เป็นกรรมสิทธิ์ โดยครอบครองปรปักษ์ " นั่นหมายความว่าการครอบครองปรปักษ์ทำให้สิทธิการครอบครองกลายเป็นกรรมสิทธิ์ได้เหรอครับ ? งงตรงนี้อีกจุดครับ --taweethaも 23:01, 26 กันยายน 2552 (ICT)

ขอโทษที วันนี้งงตัวเองหลายรอบ... บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครอง (ป.พ.พ. 1367) จากนั้นก็ใช้ ป.พ.พ. 1382

ที่งงเพราะผมไปตีความคำว่า "สิทธิการครอบครอง" แบบเอกสารสิทธิ์ที่ดิน เลยงง เพราะการไปนั่งครอบครองที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ลักษณะที่เป็นสิทธิการครอบครองนั้นยังไงก็ไม่มีวันได้กรรมสิทธิ์จนกว่าจะขอออกโฉนดกับสำนักงานที่ดิน --taweethaも 23:21, 26 กันยายน 2552 (ICT)

เห็นด้วยที่เอาครอบครองปรปักษ์ออกครับ มันก็จะได้ไม่งงตรงนี้ เรื่องยาวๆ อธิบายบรรทัดเดียวมันก็คงตายไปข้างหนึ่ง แล้วอีกอย่างคำว่าครอบครองปรปักษ์ไม่ได้อยู่ในกฎหมายโดยตรง เดี๋ยวมีปัญหาคำนิยามในรายละเอียด ว่าคำนี้หมายความถึงการครอบครองจนครบกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้วหรือเปล่า --taweethaも 14:40, 27 กันยายน 2552 (ICT)
  1. มันแปลกๆ ตรงที่ว่า ข้ออื่นๆ เป็นคำนาม แต่ข้อนี้เป็นคำกริยา
    • "ครอบครอง" นี้เป็นคำนามแล้ว มันเป็นภาษาโบราณน่ะ เป็นการร่างกฎหมายตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ แล้ว (ขณะที่ปัจจุบันจะเป็นคำนามต้องมี "การ" เช่น การมี "ความ" เป็นต้น) ทำนองเดียวกัน "ละเมิด" ที่เป็นคำนามแล้ว [เช่น การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิด, การใช้สิทธิที่รังแต่จะสร้างความเสียหายต่อผู้อื่นชื่อว่าทำละเมิด, จำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ฯลฯ)
  2. แล้ว "ไม่ถึงกับเป็นกรรมสิทธิ์แต่อาจเติบใหญ่เป็นกรรมสิทธิ์ โดยครอบครองปรปักษ์ " นั่นหมายความว่าการครอบครองปรปักษ์ทำให้สิทธิการครอบครองกลายเป็นกรรมสิทธิ์ได้เหรอครับ ? งงตรงนี้อีกจุดครับ
    • ครอบครอง คือ การที่บุคคลเข้ายึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน บุคคลนั้นได้สิทธิครอบครองในทรัพย์สินนั้น เช่น นาย ก เก็บปากกาใครไม่รู้วางลืมทิ้งไว้ได้ ก็เอาไปใช้ แม้ว่าการกระทำแบบนี้จะไม่ถูกต้อง แต่นาย ก ก็ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองในปากกานั้น ขณะที่กรรมสิทธิ์ในปากกานั้นยังเป็นของเจ้าของที่แท้จริงอยู่
    • พอนาย ก ครอบครองปากกนั้นโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เป็นเวลาติดต่อกัน ๕ ปี สิทธิครอบครองของนาย ก ก็จะกลายเป็นกรรมสิทธิ์ทันที และไม่ต้องร้องขอต่อศาลให้สั่งว่ากรรมสิทธิ์ตกแก่ตนแล้ว (เพราะปากกาเป็นสังหาริมทรัพย์, ขณะที่อสังหาฯ กฎหมายกำหนดให้ต้องร้องขอ) อย่างนี้ เรียกว่า นาย ก ครอบครองปากกานั้นโดยปรปักษ์ คือเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่แท้จริง

—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๒.๐๙.๒๗, ๑๕:๒๘ นาฬิกา (ICT)

ความจริงอสังหาฯ พอครอบครองปรปักษ์ครบเกณฑ์ตาม ปพพ. ๑๓๘๒ มันจะได้ "กรรมสิทธิ์อย่างสมบูรณ์" โดยไม่ต้องรอให้ศาลสั่งเลยนะ เพียงแต่ตราบใดไม่ขอศาลสั่งจะไปเปลี่ยนทางทะเบียนไม่ได้/ ยกสู้คนนอกที่-> เสียค่าตอบแทน+ไม่รู้ไรกะเขา+จดทะเบียนไปโดยไม่รู้อิโหน่อิเหน่ แล้วไม่ได้ ตาม ๑๒๙๙ วรรคสอง -- ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 22:34, 27 กันยายน 2552 (ICT)