พูดคุย:ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการวิกิไอที โดยพยายามที่จะปรับปรุงคุณภาพ รวบรวมเรื่องราวเนื้อหาสาระ ครอบคลุมเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เน็ตเวิร์ก ซอฟต์แวร์
ถ้าต้องการมีส่วนร่วมในโครงการ สามารถดูวิธีการที่หน้าโครงการวิกิไอที และสถานีย่อยเทคโนโลยีสารสนเทศ
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

คำอธิบายประกอบการแก้ไขเนื้อหา[แก้]

Proprietary software (โพรไพรเอทารี ซอฟต์แวร์) คือซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์เฉพาะของเจ้าของซอฟต์แวร์หรือผู้จัดทำ

software ชนิด อื่น ๆ เช่น opensource ก็ มัก จะ มี ลิขสิทธิ์ เฉพาะ ของ เจ้าของ software หรือ ผู้ จัดทำ เช่น กัน.

ซึ่งหมายถึงซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ทั่วไปซึ่งได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ หรือ อโดบีโฟโตชอป

คำว่า ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ทั่วไป นั้น เห็น ว่า ไม่ ชัดเจน ครับ, จึง จะ ตัด ออก. --Ans 15:59, 10 ธันวาคม 2005 (UTC)

Proprietary software (โพรไพรเอทารี ซอฟต์แวร์) คือซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ โดยเป็นซอพต์แวร์ที่สิทธิ์ในการใช้งานและทำซ้ำถูกจำกัดหรือสงวนสิทธิ์ไว้โดยเจ้าของ

proprietary software อาจไม่ได้เป็น software ลิขสิทธิ์ เสมอไป, แต่โดยมากแล้ว, มักจะเป็น software ลิขสิทธิ์. อาจมีกรณีที่ เป็น software ไม่มีลิขสิทธิ์, แต่อาจเรียกได้ว่าเป็น proprietary software ได้เช่นเดียวกัน, เช่น, software ที่ลิขสิทธิ์ expire ไปแล้ว, แต่ source code ยังคงถูกเก็บไว้เป็นความลับ หรือ อาจสูญหายไป, กรณีนี้ถือว่าเป็น proprietary software ด้วยวิธีทางหรือข้อจำกัดเทคนิค. ส่วนเรื่อง ที่เป็น software ลิขสิทธิ์ นั้น เป็นเพียงมุมมองทางด้าน กม., แต่ proprietary software ไม่ได้จำกัดเฉพาะ มุมมอง ทางด้าน กม. เสมอไป. --Ans 10:34, 21 มิถุนายน 2007 (UTC)

แต่ source code ยังคงถูกเก็บไว้เป็นความลับ หรือ อาจสูญหายไป

ถึงแม้ลิขสิทธิ์จะหมดอายุไปแล้ว, แต่ source code ก็ยังสามารถถูกเก็บไว้เป็นความลับได้, โดยอาศัย กม. ความลับทางการค้ามาคุ้มครอง. --Ans 06:28, 2 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ได้สร้างขึ้นเพื่อไว้เรียกเปรียบเทียบกับ ซอฟต์แวร์เสรี หรือซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์เปิดให้ผู้อื่นใช้งานและดัดแปลงข้อมูลได้

โดยหลักการพื้นฐานของผู้ที่สร้างคำว่า ซอฟต์แวร์เสรี ขึ้นมา, ไม่น่าจะหมายถึง ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ เสมอไป, เพียงแต่ด้วยระบบ กม. ปัจจุบัน จำเป็นต้องอาศัย ลิขสิทธิ์ มาเป็นเครื่องมือที่จะทำให้ ซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งๆ เป็น ซอฟต์แวร์เสรี. --Ans 11:06, 21 มิถุนายน 2007 (UTC)

เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น, สามารถอ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่ copyleft#ประวัติ --Ans 11:43, 21 มิถุนายน 2007 (UTC)

ขอบคุณสำหรับความเห็น คำแนะนำ และคำวิจารณ์ในบทความ เมื่อคุณเห็นว่าบทความไหนควรปรับปรุงอย่าลังเลที่จะแก้ไข วิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์ในลักษณะวิกิที่ทุกคนสามารถร่วมแก้ไขได้ โดยเลือกที่ แก้ไข ในส่วนบนของของแต่ละบทความ ซึ่งการแก้ไขนั้นไม่จำเป็นจะต้องล็อกอิน (แม้ว่าจะมีข้อดีหลายอย่างถ้าล็อกอินก็ตาม) ทางวิกิพีเดียสนับสนุนให้ทุกคนกล้าแก้ไขบทความ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนช่วยกันลงมือพัฒนาบทความให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มอย่างไร สามารถดูได้ที่การเริ่มต้นในวิกิพีเดีย และคำสั่งพื้นฐานในการใช้งาน และถ้าต้องการทดสอบสามารถลองได้ที่วิกิพีเดีย:กระบะทราย --Jutiphan | พูดคุย - 06:23, 5 กรกฎาคม 2007 (UTC)
- -a เอ, คำอธิบายของข้าพเจ้าข้างต้นนี้ เป็นการอธิบายขยายความในสิ่งที่ข้าพเจ้าได้แก้ไขไปเรียบร้อยแล้ว.
คือว่า ข้าพเจ้าได้แก้ไขเอาเนื้อหาเดิมกลับคืนมา, และเกรงว่าจะไม่เข้าใจว่าทำไมจึงต้องเขียนเนื้อหาเช่นนั้น, จึงได้มาอธิบายขยายความในนี้อีกทีหนึ่ง.
เพราะว่า เนื้อหาบทความนี้เคยถูกแก้ไขกลับไปกลับมา แล้วครั้งหนึ่ง, เกรงว่าถ้าไม่ได้อธิบายให้เข้าใจ, ก็อาจจะถูกแก้กลับไปเป็นแบบเดิมอีก. --Ans 12:34, 5 กรกฎาคม 2007 (UTC)
ขออธิบายคุณUser:Jutiphan เพิ่มเติม, ผมไม่ได้วิจารณ์อย่างเดียวโดยไม่แก้ไข. แต่ผมวิจารณ์พร้อมกับแก้ไขตามที่ผมวิจารณ์ไปด้วย, จริงๆ ในบทความนี้ผมแก้ไขไปก่อน แล้วค่อยมาอธิบายเพิ่มเติมในนี้ด้วยซ้ำ ว่าเหตุใดจึงแก้ไขเช่นนั้น. ไม่ทราบว่าตอนนั้นไม่ได้ดูเลยหรือครับว่าผมได้แก้บทความตามที่ผมได้วิจารณ์ไว้อย่างไร? --Ans (พูดคุย) 22:47, 31 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]
ในครานั้นบทความนี้เคยถูกแก้ไขโดยผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนไปเป็นนิยามที่ถูกต้องมากขึ้น แต่กลับถูกคุณ User:Manop ย้อนการแก้ไข กลับไปเป็นนิยามที่ไม่ถูกต้องดังเดิม, ผมจึงต้องการแก้ไขกลับให้ถูกต้องอีกครั้ง, แต่เกรงว่าหากไม่อธิบายก่อน การแก้ไขของผมก็จะถูกย้อนกลับอีก. แต่เมื่ออผมทำเช่นนั้น(คืออธิบายการแก้ไขอย่างละเอียด) กลับถูกคุณ User:Jutiphan และ คุณ Manop มา post (ในหน้านี้และหน้า พูดคุยของผม ตามลำดับ) ลักษณะคล้ายกับว่า ขอให้แก้ไขได้เลย, ไม่ต้องวิจารณ์มาก, โดยไม่ได้ดูเลยว่า ผมได้แก้ไขไปแล้วไว้อย่างไร. ก็งงว่าแล้วจะให้ทำไง, คนที่แก้ไขโดยไม่อธิบายเลย กลับถูกย้อนการแก้ไข, แต่พออธิบายมาก กลับถูกบอกว่า ให้แก้ไขได้เลย(โดยไม่ได้ดูเลยว่าเขาแก้ไขไปแล้วอย่างไรบ้าง) --Ans (พูดคุย) 23:08, 31 พฤษภาคม 2560 (+07)[ตอบกลับ]

ชื่อบทความ[แก้]

ในประเทศไทย บางทีจะใช้คำทับศัพท์ว่า "โพรไพรเอทารีซอฟต์แวร์" หรือใช้คำว่า "ซอฟต์แวร์เอกสิทธิ์เฉพาะ"

คิดหาคำแปลสั้นๆ ของ proprietary software มานานแล้ว วันนี้ขอเสนอ "ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์" ลองดู น่าจะสั้นดี แต่จะเข้าใจง่ายหรือเปล่า? --Samphan 17:11, 3 ตุลาคม 2007 (ICT)

ผมลองไปค้นที่ศัพท์บัญญัติ เจอมาตัวหนึ่งคือ proprietary right = สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่จะใช้แบบนั้นก็จะยาวเกินไป ผมจึงคิดว่า กรรมสิทธิ์ มีความหมายใกล้เคียงที่สุด ดังนั้นผมอยากให้ใช้ "ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์" แทนครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 10:10, 22 มีนาคม 2551 (ICT)

  • ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์
    • แม้คำนี้จะแปลตรงกับความหมายตามตัวอักษรของ proprietary ที่สุด แต่ความหมายตามตัวอักษรก็ไม่ได้มีความหมายตรงตามนิยามที่แท้จริงของ proprietary software. ในภาษาอังกฤษอาจจะอนุโลมใช้คำซึ่งความหมายไม่ตรงนิยามที่แท้จริงได้ เพราะ มีการใช้คำนี้ในภาษาอังกฤษกันแพร่หลายแล้ว, แต่ในภาษาไทยยังไม่ได้มีใช้คำว่า ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์กันแพร่หลายนัก, จึงขอเลือกใช้คำอื่นที่น่าจะมีความหมายตรงนิยามมากกว่า
  • ซอฟต์แวร์สงวนสิทธิ์
    • ความหมายไม่ตรง, เพราะ ซอฟต์แวร์เสรี ก็มีการสงวนสิทธิ์บางอย่าง เช่น สิทธิ์ในการฟ้องร้องผู้ที่ทำผิดเงื่อนไข
  • ซอฟต์แวร์สงวนลิขสิทธิ์
    • เหมือน ซอฟต์แวร์สงวนสิทธิ์
    • proprietary software อาจไม่มีลิขสิทธิ์ก็ได้, แต่ใช้วิธีอื่นในการจำกัดสิทธิ์ เช่น การไม่เปิดเผย source code
  • ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์
    • ขอเลือกใช้คำนี้ ที่ความหมายตรงสุด

--Ans (พูดคุย) 07:18, 29 สิงหาคม 2560 (ICT)