พูดคุย:คลื่นไหวสะเทือน

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คลื่นไหวสะเทือน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา ไอคอนไม้กวาด บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง คลื่นตัวกลางและคลื่นพื้นผิว

คลื่นไหวสะเทือน (อังกฤษ: seismic wave) เป็นคลื่นที่ถ่ายทอดพลังงานผ่านภายในโลก อาจเกิดจากแผ่นดินไหว, การระเบิด, หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดคลื่นความถี่ต่ำ คลื่นไหวสะเทือนอาจถูกตรวจรับได้ด้วย seismograph, geophone, hydrophone หรือ accelerometer ความเร็วของการกระจายของคลื่นมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นและความยืดหยุ่นของตัวกลาง เนื่องจากความหนาแน่นที่เพิ่มสูงขึ้นในชั้นหินระดับลึก ความเร็วของคลื่นในชั้นหินลึกจึงมีแนวโน้มที่จะสูงกว่าความเร็วของคลื่นบริเวณผิวโลก ความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนอาจแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2 ถึง 8 กิโลเมตรต่อวินาทีในชั้นเปลือกโลก และอาจสูงถึง 13 กิโลเมตรต่อวินาทีในชั้นแมนเทิลระดับลึก

แผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดคลื่นไหวสะเทือนในหลายชนิดที่มีความเร็วแตกต่างกัน นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้ผลต่างของระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคลื่นเหล่านี้เพื่อระบุพิกัดของศูนย์กลางแผ่นดินไหว ในขณะที่นักธรณีฟิสิกส์อาจใช้สมบัติของการสะท้อนและการหักเหของคลื่นไหวสะเทือนผ่านชั้นหินต่างๆ เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบโครงสร้างใต้ดิน เนื้อหา

   1 ประเภทของคลื่นไหวสะเทือน
       1.1 คลื่นตัวกลาง
           1.1.1 คลื่นปฐมภูมิ
           1.1.2 คลื่นทุติยภูมิ
       1.2 คลื่นพื้นผิว
           1.2.1 คลื่นเรลีย์
           1.2.2 คลื่นเลิฟ
   2 การเรียกชื่อคลื่น
   3 การใช้ประโยชน์จากคลื่นตัวกลางเพื่อระบุตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว
   4 อ้างอิง
   5 ดูเพิ่ม
   6 แหล่งข้อมูลอื่น

ประเภทของคลื่นไหวสะเทือน

คลื่นไหวสะเทือนสามารถแบ่งตามลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่นได้สองประเภทได้แก่คลื่นตัวกลาง และคลื่นพื้นผิว คลื่นตัวกลาง

คลื่นตัวกลาง (อังกฤษ: body wave) คือคลื่นที่เดินทางทะลุผ่านโลก เส้นทางการเคลื่อนที่ของคลื่นอาจหักเหให้เคลื่อนไปจากเส้นตรงเนื่องจากความแตกต่างของความหนาแน่นและความยืดหยุ่นของโครงสร้างภายในของโลก ในขณะเดียวกันคุณสมบัติเหล่านี้ของชั้นหินอาจเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิ องค์ประกอบ และสถานะ การหักเหของคลื่นไหวสะเทือนเป็นไปในลักษณะเดียวกับคลื่นแสง คลื่นปฐมภูมิ Yellow cartouche คลื่นเส้นตรง Red cartouche คลื่นจุด การเคลื่อนที่ของคลื่นปฐมภูมิในระนาบ 2 มิติ

คลื่นปฐมภูมิ (อังกฤษ: primary wave หรือ p wave) เป็นคลื่นตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับการบีบอัดและคลายตัวของวัสดุเนื่องจากความยืดหยุ่นเมื่อคลื่นเดินทางผ่านโดยไม่เกิดการหมุน ลักษณะของคลื่นประเภทนี้อาจเทียบได้กับคลื่นเสียงในอากาศ [1] ความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นปฐมภูมิสามารถคำนวณได้จากสมการ

V_P=\sqrt{\frac{K+\frac{4}{3}\mu}{\rho}}

เมื่อ K, μ, ρ แทน โมดูลัสของแรงบีบอัด, โมดูลัสของแรงเฉือน และความหนาแน่นของตัวกลางตามลำดับ คลื่นทุติยภูมิ Yellow cartouche คลื่นเส้นตรง Red cartouche คลื่นจุด การเคลื่อนที่ของคลื่นทุติยภูมิในระนาบ 2 มิติ

คลื่นทุติยภูมิ (อังกฤษ: secondary wave หรือ s wave) เป็นคลื่นตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับการเฉือนและการหมุนของเนื้อวัสดุเมื่อคลื่นเดินทางผ่านโดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางปริมาตร[1]

ความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นปฐมภูมิสามารถคำนวณได้จากสมการ

V_S=\sqrt{\frac{\mu}{\rho}}

เมื่อ μ, ρ แทน โมดูลัสของแรงเฉือน และความหนาแน่นของตัวกลางตามลำดับ

จากสมการความสัมพันธ์ของความยืดหยุ่นและความหนาแน่นของตัวกลางที่มีผลต่อความเร็วของคลื่นในตัวกลาง จะเห็นได้ว่าความเร็วของคลื่นแปรผกผันกับความหนาแน่นของตัวกลาง จากความหนาแน่นของชั้นหินที่เพิ่มขึ้นตามความลึกอาจชี้ว่าความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนลดลงในระดับความลึกที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี เนื่องจากค่า Bulk modulus และ Shear modulus เพิ่มขึ้นตามความลึกของชั้นหินด้วยเช่นกันปัจจัยของความยืดหยุ่นของตัวกลางส่งผลต่อความเร็วในสัดส่วนที่มากกว่าเมื่อเทียบกับการหักล้างจากความสัมพันธ์ของความหนาแน่น ทำให้ความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนเพิ่มมากขึ้นในระดับความลึกที่เพิ่มขึ้น คลื่นพื้นผิว

คลื่นพื้นผิว (อังกฤษ: surface wave) คือคลื่นที่เดินทางไปตามผิวโลกโดยไม่แพร่เข้าไปภายในของผิวโลกระดับลึก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในแผ่นดินไหวระดับตื้น คลื่นพื้นผิวนี้มีแอมพลิจูดสูงกว่าคลื่นในตัวกลางซึ่งหมายถึงระดับพลังงานที่สูงกว่า นั่นคือความเสียหายหลักจากแผ่นดินไหวเกิดจากคลื่นประเภทนี้ในขณะที่คลื่นในตัวกลางจะก่อผลกระทบในระดับที่น้อยกว่า เนื่องจากการเคลื่อนที่ของคลื่นพื้นผิวใน 2 มิติ ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานที่น้อยกว่าการเคลื่อนที่ของคลื่นในตัวกลางซึ่งเป็น 3 มิติ คลื่นพื้นผิวที่เป็นที่รู้จักมี 2 ประเภท คลื่นเรลีย์

คลื่นเรลีย์ (อังกฤษ: Rayleigh wave,LR) คือคลื่นที่อนุภาคในตัวกลางเกิดการสั่นในแนวดิ่ง พื้นผิวโลกเกิดการเคลื่อนไหวในเชิงวงรีโดยมีแกนหลักในแนวแกนดิ่ง แอมพลิจูดของคลื่นสลายในเชิงเอกซ์โพเนนเชียล คลื่นเลิฟ

คลื่นเลิฟ (อังกฤษ: Love wave,LQ) คือคลื่นที่อนุภาคในตัวกลางเกิดการสั่นในแนวระดับตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นและไม่ก่อให้เกิดการกระจัดในแนวดิ่ง ในลักษณะเดียวกับการเลื้อยของงูไปตามผิวดิน การเรียกชื่อคลื่น เส้นทางการเดินทางของคลื่นแผ่นดินไหว

เส้นทางการเดินทางของคลื่นจากจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวถึงจุดสังเกตการณ์มักจะถูกเขียนในรูปแบบของแผนภาพโดยใช้ลูกศรแสดงทิศทางการเดินทางของคลื่นดังตัวอย่างในภาพ เมื่อพิจารณาการสะท้อนของคลื่นเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางชนิดต่างๆ จะทำให้เส้นทางการเดินทางของคลื่นที่เป็นไปได้มีจำนวนนับไม่ถ้วน แต่ละรูปแบบที่เป็นไปได้สามารถเขียนแทนได้ด้วยกลุ่มของตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวอักษรพิมพ์เล็กใช้สื่อถึงเส้นเขตระหว่างสองตัวกลาง (เกิดการสะท้อนของคลื่น) ในขณะที่ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ใช้สื่อถึงตัวกลางที่คลื่นเดินทางผ่านเข้าไป[2][3] c คลื่นสะท้อนที่แก่นโลกชั้นนอก d คลื่นสะท้อนที่เกิดเนื่องจากความไม่ต่อเนื่องที่ความลึก d g คลื่นที่เดินทางผ่านเปลือกโลกเท่านั้น i คลื่นสะท้อนที่แก่นโลกชั้นใน I คลื่นปฐมภูมิที่เดินทางผ่านแก่นโลกชั้นใน h คลื่นสะท้อนเนื่องจากความไม่ต่อเนื่องภายในเปลือกโลกชั้นใน J คลื่นทุติยภูมิที่เดินทางผ่านแก่นโลกชั้นใน K คลื่นปฐมภูมิที่เดินทางผ่านแก่นโลกชั้นนอก L,LQ คลื่นเลิฟ n คลื่นที่เดินทางไปตามผิวสัมผัสระหว่างแก่นโลก (ชั้นนอก) และแมนเทิล P คลื่นปฐมภูมิที่เดินทางผ่านชั้นแมนเทิล p คลื่นปฐมภูมิที่เดินทางจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวแล้วสะท้อนกลับผิวโลก R,LR คลื่นเรลีย์ S คลื่นทุติยภูมิที่เดินทางผ่านชั้นแมนเทิล s คลื่นทุติยภูมิที่เดินทางจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวแล้วสะท้อนกลับที่ผิวโลก w คลื่นสะท้อนที่ก้นสมุทร

ตัวอย่าง

   คลื่น ScP คือคลื่นไหวสะเทือนที่เริ่มต้นเดินทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวในรูปของคลื่นทุติยภูมิ ผ่านชั้นแมนเทิล แล้วสะท้อนที่แก่นโลกชั้นนอก และเดินทางผ่านชั้นแมนเทิลกลับขึ้นมาสู่สถานีตรวจแผ่นดินไหวที่ผิวโลกในรูปของคลื่นปฐมภูมิ
   คลื่น sPKIKP คือคลื่นไหวสะเทือนที่เดินทางจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวในรูปของคลื่นทุติยภูมิขึ้นมาที่ผิวโลก ก่อนที่จะสะท้อนกลับลงไปในชั้นแมนเทิลในรูปของคลื่นปฐมภูมิ เดินทางผ่านแก่นโลกชั้นนอก แก่นโลกชั้นใน แล้วทะลุเข้าสู่แก่นโลกชั้นนอกอีกฝั่งหนึ่ง และเดินทางผ่านชั้นแมนเทิลอีกฝั่งหนึ่งในรูปของคลื่นปฐมภูมิ

การใช้ประโยชน์จากคลื่นตัวกลางเพื่อระบุตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว การเดินทางของคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิบนแผนภาพเดียวกัน

ในพื้นที่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว เราสามารถใช้ผลต่างของเวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิเพื่อหาระยะห่างของศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวกับพื้นที่นั้น ในกรณีของแผ่นดินไหวที่พลังงานถูกปลดปล่อยทั่วไปในระดับโลก เวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นปฐมภูมิซึ่งถูกบันทึกจากสถานีวัดการเกิดแผ่นดินไหวอย่างน้อยสี่สถานีสามารถนำมาใช้เพื่อคำนวณหาตำแหน่งของจุดศูนย์กลางรวมถึงเวลาของการเกิดแผ่นดินไหว

โดยปกติแล้ว นักวิทยาศาสตร์เลือกที่จะอ้างอิงจากข้อมูลของหลายสิบสถานีเพื่อความแม่นยำในการระบุจุดเหนือศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว เราเรียกความต่างระหว่างระยะเวลาที่ใช้หากแผ่นดินไหวเกิดที่จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว (บนผิวโลก) กับระยะเวลาที่ใช้จริงว่าเรสิดวล (residual) โดยปกติแล้วเรสิดวลจะมีค่าประมาณ 0.5 วินาทีหรือน้อยกว่านั้น โดยจะมีค่าเพียง 0.1-0.2 สำหรับแผ่นดินไหวในวงแคบ นั่นคือความแตกต่างของคลื่นแผ่นดินไหวไม่ว่าจะเกิด ณ ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว หรือเกิด ณ จุดเหนือศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวมีค่าไม่ต่างกันมากนัก โดยทั่วไปแล้วโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะถูกสร้างให้คำนวณโดยตั้งสมมุติฐานเริ่มต้นว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ระดับลึกที่ 33 กิโลเมตร แล้วจึงลดค่าเรสิดวล (เพิ่มความแม่นยำ) โดยการเปลี่ยนระดับความลึก แผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ระดับความลึกไม่เกิน 40 กิโลเมตร และมีบางกรณีที่เกิดที่ระดับความลึกที่ 700 กิโลเมตร

วิธีการที่รวดเร็วสำหรับใช้หาระยะห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวถึงสถานีสำรวจสำหรับกรณีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นไม่ไกลว่า 200 กิโลเมตรสามารถทำได้โดยใช้ผลต่างของระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุตยภูมิในหน่วยวินาทีแล้วคูณด้วย 8 กิโลเมตรต่อวินาที ระบบวัดคลื่นไหวสะเทือนสมัยใหม่ใช้เทคนิคที่ซับซ้อนกว่านี้

สำหรับแผ่นดินไหวที่ห่างจากสถานีวัดมากๆ คลื่นปฐมภูมิแรกที่วัดได้จะเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านชั้นแมนเทิล และในบางกรณีอาจเคลื่อนที่ไกลถึงชั้นแก่นโลกชั้นนอกก่อนที่จะเคลื่อนที่กลับขึ้นมาสู่สถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวที่ผิวโลก คลื่นไหวสะเทือนเหล่านี้สามารถเคลื่อนที่ในระดับลึกชั้นแมนเทิลได้เร็วกว่าการเคลื่อนที่ไปตามชั้นเปลือกโลก การเดินทางของคลื่นลึกภายในดาวเคราะห์ที่เร็วกว่าระดับตื้นเรียกว่าหลักของออยแกน (Huygens' Principle) ถึงแม้ความหนาแน่นที่เพิ่มสูงขึ้นในระดับลึกจะเป็นตัวชะลอความเร็วของคลื่น แต่เนื่องจากค่าความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นส่งผลเร่งความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นในสัดส่วนที่มากกว่า นั่นคือคลื่นเดินทางได้เร็วกว่าในชั้นโลกระดับลึกและหมายถึงระยะเวลาที่สั้นกว่า

ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นจะถูกคำนวณอย่างแม่นยำเพื่อระบุจุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว เนื่องจากคลื่นปฐมภูมิเดินทางด้วยความเร็วหลายกิโลเมตรต่อวินาที ความคลาดเคลื่อนในการจับเวลาเพียงครึ่งวินาทีอาจหมายถึงความคลาดเคลื่อนในระยะห่างหลายกิโลเมตร ในทางปฏิบัติจึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลคลื่นปฐมภูมิจากหลายสถานีเพื่อลดความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นนี้ และทำให้สามารถคำนวณจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวได้ใกล้เคียง 10-50 กิโลเมตรเมื่อใช้ข้อมูลจากสถานีวัดแผ่นดินไหวรอบโลก ระบบเครือข่ายสถานีแผ่นดินไหวที่มีจำนวนมากในแคลิฟอร์เนียสามารถคำนวณได้ใกล้เคียงระดับกิโลเมตร และอาจคำนวณได้แม่นยำมากขึ้นเมื่อคำนวณจาก cross-correlation ของไซส์โมแกรมโดยตรง --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 182.53.153.255 (พูดคุย | ตรวจ) 20:04, 3 พฤศจิกายน 2556 (ICT)