พูดคุย:การออกเสียงประชามติ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การออกเสียงประชามติ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการเมืองและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการเมือง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ การออกเสียงประชามติ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

== ผมว่าน่าจะเพิ่มความหมาย ของปนะชามติอีกประเด่นนะครับ ของคำว่า plebiscite

ผมลองเอามาจาก ราชบัญฑิตยสถานมาให้ดุครับ ==

http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1223

ประชามติ

ได้มีท่านผู้ฟังถามไปว่าคำว่า “ประชามติ” ซึ่งภาษาอังกฤษ มีใช้อยู่ ๒ คำ คือ plebiscite (เพฺลบ-บิส-ไซต์) กับ referendum (เรฟ-เฟอ-เรน-ดัม) นั้น มีความหมายต่างกันอย่างไร

คำ plebiscite พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ของราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ “ศัพท์บัญญัติ” และ “ความหมาย” ไว้ดังนี้

“การออกเสียงประชามติ การออกเสียงลงมติโดยตรงของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับส่วนรวม โดยเฉพาะปัญหาการแยกรัฐหรือแยกออกจากสังกัดทางการเมือง ประชาชนที่เกี่ยวข้องอาจจะได้รับสิทธิให้ออกเสียงลงมติว่าจะยังคงสังกัดอยู่กับรัฐเดิม แยกตัวเองออกเป็นรัฐอิสระใหม่ หรือเข้ารวมกับรัฐอื่น” ส่วนคำว่า Referendum นั้น ในพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ท่านมิได้บัญญัติศัพท์ไว้ คงใช้ทับศัพท์ดังนี้

“เรเฟอเรนดัม การให้ประชากรออกเสียงลงคะแนนในปัญหาเกี่ยวกับการร่างกฎหมาย และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว”

ส่วนในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้เก็บคำว่า “ประชามติ” ไว้เป็นลูกคำของคำว่า “ประชา” และใช้หมายถึงทั้งคำว่า plebiscite และ referendum ในภาษาอังกฤษ ดังนี้

“ประชามติ น. มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง. (อ. plebiscite); มติของประชาชนที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสำคัญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสำคัญในการบริหารประเทศ. (อ. referendum).”

ถ้าเราอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่เกี่ยวกับการเมือง เราจะพบข่าวที่บางประเทศได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ลง “ประชามติ” ในปัญหาบางอย่างที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติอยู่บ้างเป็นครั้งคราว เช่น ในการที่จะรวมประเทศเข้ากับประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือจะแยกตัวออกจากประเทศใดประเทศหนึ่ง เพื่อตั้งเป็นรัฐใหม่เป็นต้น หรือบางทีก็อาจออกเสียง “ประชามติ” ได้เฉพาะในที่ใดที่หนึ่งโดยไม่จำเป็นจะต้องทั้งประเทศก็ได้

ผู้เขียน : ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม

ที่มา : ภาษาไทยไขขาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แพร่พิทยา. ๒๕๒๘. หน้า ๓๒๘-๓๒๙.

ส้ม 17:47, 1 สิงหาคม 2007 (UTC)