พูดคุย:กะเทย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาบทความ กะเทย

กะเทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ กะเทย หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
กะเทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิแอลจีบีทีศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ กะเทย หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

กระเทย หรือ กะเทย[แก้]

สะกดแบบไหน ? -- bact' 19:01, 13 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ลืมไป..บัณเฑาะก์ แปลว่ากะเทยครับ แปลอีกอย่างว่าคนที่ถูกตอน เพื่อนผมบอกว่ามันมีคำว่านุปุงกศลึงก์ หรือไงเนี่ย..ด้วย แต่ไม่รู้คำนี้มันเขียนยังไง --Shā Azunaburu | คุยกันได้ 19:11, 13 พฤษภาคม 2007 (UTC)

  • นปุงสกลิงค์ (นะปุงสะกะลิง) n.นปุงสกลึงค์ (นะปุงสะกะลึง) n.the neuter gender in grammar แปลว่าไม่มีเพศ (มั้ง?) --Shā Azunaburu | คุยกันได้ 04:21, 24 พฤษภาคม 2007 (UTC)
    • ถ้าไม่มีเพศ ก็ไม่เข้าข่ายกะเทยครับ การไม่มีเพศ ไม่ได้หมายความว่าถูกตอนแล้วจะไม่มีเพศ ตัวอย่างสิ่งที่ไม่มีเพศ เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ เป็นต้น พวกนี้สามารถขยายพันธุ์ได้โดยไม่อาศัยเพศ จึงไม่มีเพศ แต่พวกสิ่งของต่างๆ อาจจะมีเพศก็ได้ในบางภาษาเช่น ภาษาฝรั่งเศส สำหรับเรื่อง นปุงสกลิงค์ เกี่ยวกับการไม่มีเพศในภาษาในไวยากรณ์ครับ (ซึ่งตรงข้ามกับภาษาฝรั่งเศส) ไม่ใช่ตัวคนหรือสิ่งของเองที่ไม่มีเพศ --Octahedron80 04:27, 24 พฤษภาคม 2007 (UTC)

โอ้..เข้าใจแล้วครับ --Shā Azunaburu | คุยกันได้ 06:35, 24 พฤษภาคม 2007 (UTC)

กะเทย ทางชีววิทยา[แก้]

ผมมีข้อสงสัยครับ แล้วจะเอาคำอธิบายนี่ใส่ตรงไหนล่ะ?

กะเทยแท้ (true hermaphrodite หรือ ambisexual) หมายถึง ผู้ที่มีทั้ง รังไข่ (ovary) และลูกอัณฑะ (testes) อยู่ภายใน ร่างกาย ในเวลาเดียวกัน เป็นมา แต่กำเนิด ไม่ว่าผู้นั้น จะมี อวัยวะเพศ ภายนอก เป็นเพศเดียว หรือ สองเพศ

กะเทยเทียม (pseudohermaphrodite) หมายถึง ผู้ที่มี อวัยวะ สร้าง เซลล์สืบพันธุ์ อย่างสมบูรณ์ ของเพศใด เพศหนึ่ง เพียงเพศเดียว ในร่างกาย แต่อวัยวะเพศ ภายนอก กลับมี ลักษณะของ เพศตรงข้าม หรือทั้งสองเพศ ร่วมกัน

แบ่งกะเทยเทียมออกเป็น 2 แบบดังนี้ 1. กะเทยเทียมแบบหญิง (female pseudohermaphrodite) หมายถึง ผู้ที่มี รังไข่ปกติ อยู่ในร่างกาย แต่ อวัยวะเพศ ภายนอก มีลักษณะเหมือน เพศชาย เช่น ช่องคลอด ฝ่อเล็กจน แทบไม่เหลืออยู่ หรือไปเปิด เป็น ท่อปัสสวะ และ อวัยวะ clitoris มีขนาดใหญ่ เหมือนองคชาต 2. กะเทยเทียมแบบชาย (male pseudohermaphrodite) หมายถึง ผู้ที่มี ลูกอัณฑะ ตามปกติ และมี อวัยวะเพศ ภายในของ เพศหญิง ร่วมด้วย แต่อวัยวะเพศ ภายนอกชาย กลับมี ลักษณะฝ่อเล็ก หรือ เจริญเติบโต ไม่เต็มที่ [1] --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ B20180 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 16:39, 10 กันยายน 2560 (ICT)

ต้องแก้กำกวมมั้ง?--Shā Azunaburu | คุยกันได้ 04:50, 14 พฤษภาคม 2007 (UTC)

ความแตกต่างระหว่างเกย์ กะเทย และประเทือง โดย นพ.สุกมล วิภาวีพลกุล --Shā Azunaburu | คุยกันได้ 04:21, 24 พฤษภาคม 2007 (UTC)

คงต้องสร้างเป็นบทความใหม่นะครับ คือ กะเทย (ชีววิทยา) เพราะมันไม่เกี่ยวกับบทความนี้เลย --Octahedron80 05:15, 20 กรกฎาคม 2007 (UTC)

เนื้อหารอการตรวจแก้[แก้]

- โรสเปเปอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อตั้งอย่างเป็นทางการในราวปี พ.ศ.2519 มีสมาชิกทั้งหมดเป็นนักศึกษาสาวประเภท 2 จากคณะต่างๆ ใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยทำกิจกรรมรับงานแสดงคาบาเรต์โชว์ตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในมหาวิทยาลัยเช่นงานเปิดหอ งานสังสรรค์ตามคณะต่างๆ (บางครั้งเป็นไปในลักษณะงานการกุศล)และงานทั่วไปนอกมหาวิทยาลัย เช่นงานสังสรรค์ตามโรงแรมและบริษัทต่างๆ ในสมัยที่ยังเฟื่องฟู บางครั้งต้องแบ่งสมาชิกเป็น 2 กลุ่มเพื่อรับงาน 2 งานในวันเดียวกัน หรือถึงขั้นวิ่งรอก 3 งานใน 1 คืนก็มีบ้าง สำหรับยุคเสื่อม ก็คงเริ่มจากกรณีคดีฆาตกรรมของกะเทย คนหนึ่ง (นักศึกษษคณะหนึ่งใน มช.ทำให้คติที่มีต่อกลุ่มกะเทยของผู้บริหาร(และสังคม) ก็เริ่มเปลี่ยนไป จนเริ่มมีการระงับกิจกรรมของโรสเปเปอร์ จากที่เคยรับแสดงในงานสังสรรค์ของคณะต่างๆ ก็เริ่มถูกระงับและไม่ให้แสดง ประกอบกับภาวะเสรษฐกิจยุคฟองสบู่แตกทำให้งานภายนอกเริ่มที่จะลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ และปัจจัยภายในจากกลุ่มกะเทยรุ่นใหม่ที่เริ่มจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงตัวตนให้ออกเป็นรูปแบบของกะเทยชายให้มากขึ้น ทำให้กลุ่มโรสเปเปอร์เริ่มลดบทบาทลง จนกระทั่งเลือนหายไปในปี 2541 --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ B20180 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 16:39, 10 กันยายน 2560 (ICT)

- สำหรับเรื่องของการวีน หรือเรื่องของความรุนแรงที่กระทำเกินกว่าเหตุ ฯ ดังกล่าวข้างต้น ใคร่ขออธิบายขยายความว่า...... ด้วยสภาพธรรมชาติของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ชีวิตนักศึกษาค่อนข้างจะมีอิสระเสรี ห่างไกลจากครอบครัว มีความหลากหลายทางสังคม และการเปลี่ยนถ่ายด้านพัฒนาการ จากกะเทยเด็ก ก้าวย่างสู่วัยสาว(วัยรุ่น) ทำให้รุ่นพี่กะเทยมองว่า กะเทยเด็กที่เพิ่งเข้ามหาวิทยาลัย อาจจะไม่สามารถปรับตัวไปในทางที่เหมาะสมได้ และอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมา ด้วยความที่ นักศึกษษมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เราอยู่กันแบบพี่น้อง กะเทยเราก็มีรุ่นพี่รุ่นน้องเช่นเดียวกันดังนั้น เราจึงมีกฎ กติกา ข้อตกลงกันสำหรับน้องๆ ปี 1 แต่เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 2 เราเชื่อว่าวุฒิภาวะ ความเป็นผู้ใหญ่น่าจะมีมากขึ้น สามารถที่จะดำเนินชีวิตแบบกะเทย ในสังคมได้อย่างราบรื่น ความรุนแรงที่กล่าวถึงอาจจะเป็นเพียงคำร่ำลือ หรือการพูดคุยให้ได้อรรถรสมากขึ้นเท่านั้นเอง --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ B20180 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 16:39, 10 กันยายน 2560 (ICT)

- กลุ่มลิลลี่แอนด์โรส ไม่เคยได้ยิน ในช่วงปี 2535 - 2543 มีกลุ่มโรสเปเปอร์ (ที่อยู่หอสามชาย-สวยงามเป็นหญิง) และกลุ่มหอห้า (อยู่หอห้าชาย-มักจะเป็นกะเทยชาย เล่นกีฬา) ส่วนความนิยมพอจะอนุโลมตามนั้น --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ B20180 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 16:39, 10 กันยายน 2560 (ICT)

- แก้ไขโดย บอสโรสเปเปอร์ปี 39 (แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ B20180 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 16:39, 10 กันยายน 2560 (ICT)

เนื้อหาทั้งหมดด้านบนนี้รอการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบและภาษาเพื่อให้เป็นสารานุกรม และให้ตรงประเด็นเรื่อง "กะเทย" มากที่สุด และควรขยายขอบเขตให้ถึงระดับทั่วไปมากกว่าแค่มหาวิทยาลัยเดียว --Octahedron80 21:30, 19 ตุลาคม 2007 (ICT)

เห็นด้วยครับ ว่า 1. ขาดความสำคัญ ไม่เป็นสารานุกรม (ไม่เป็นที่กล่าวถึงในระดับประเทศ) 2. ขาดข้อมูลเกี่ยวกับกะเทยใน ม. อื่นๆ ไป ก็คืออาจไม่มีกลุ่มกะเทยที่มีบทบาทสูงในมหาลัยอื่น หรือไม่มีข้อมูล --ผู้อ่าน:Love Krittaya 18:23, 20 สิงหาคม 2551 (ICT)

เสนอว่าให้ตัดทิ้งไปเลยดีกว่าครับ ขาดความสำคัญดังที่กล่าวมา --ผู้อ่าน:Love Krittaya 18:41, 20 สิงหาคม 2551 (ICT)

ปล. ถ้าเป็นไร้สาระนุกรม จะเพิ่มเติมไปว่ามีกะเทยบางส่วน (ส่วนน้อยมากๆ) ที่มีลักษณะของพวกรักเพศเดียวกันด้วย คือ อยากมีรูปลักษณ์ภายนอกที่เป็นหญิง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังชอบหรือพิศวาสผู้หญิงอยู่ (หมายเหตุ มีจริงๆ ไม่ใช่มุข ทั้งนี้รวมถึง "กะเทย" ชาวต่างชาติด้วย) --ผู้อ่าน:Love Krittaya 18:27, 20 สิงหาคม 2551 (ICT) ยกเลิกความคิดนี้ เพราะบุคคลที่เกิดเป็นชาย ทำตนเป็นหญิง แต่มีการพิศวาสกับผู้หญิง ขัดกับนิยามของคำว่ากะเทย --ผู้อ่าน:Love Krittaya 18:41, 20 สิงหาคม 2551 (ICT)

วัฒนธรรมไทย[แก้]

น่าจะเขียนเรื่อง "กะเทยไทย" จะได้อยู่ในหมวดหมู่ วัฒนธรรมไทย?? --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 117.47.33.65 (พูดคุย | ตรวจ) 12:31, 19 กรกฎาคม 2551 (ICT)

จัดตามวิกิอังกฤษครับ เรื่องกะเทยปรากฏในหมวดหมู่วัฒนธรรมไทย ซึ่งผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทัศนคติของชาวต่างชาติที่มีต่อกะเทยนั้น เขาอาจจะมองว่าเป็นวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน (วัฒนธรรมไม่ได้หมายถึงสิ่งที่เป็นอดีตอย่างเดียวนี่นา) ไม่เหมาะสมก็เอาออกได้ครับ แต่ช่วยไปอธิบายที่วิกิอังกฤษด้วย --Octra Dagostino 23:35, 26 สิงหาคม 2551 (ICT)

ผมคิดว่ามุมมองของฝรั่ง กับคนไทย อาจไม่เหมือนกัน ไม่ทราบเหมือนกัน หมวดหมู่ วัฒนธรรมไทยของเรา ก็นึกถึงพวก ลอยกระทง การรดน้ำดำหัว อะไรจำพวกนี้ ดูหมวดหมู่นี้แล้วแล้วเห็น กะเทย โผล่มางงเหมือนกัน ถ้ามีกะเทย อาจจะมีพวก สก๊อย นี่เรียกวัฒนธรรมไทยด้วยรึเปล่า --Sry85 23:45, 26 สิงหาคม 2551 (ICT)

ความหมายทางการแพทย์[แก้]

ผมได้ใส่เนื้อความทางวิชาการพร้อมอ้างอิงเกี่ยวกับความหมายของ "กะเทย" หรือ Hermaphrodite ไว้ตรงส่วนย่อหน้าแรกคงไม่มีใครว่ากันนะครับ เพราะมันเป็นวิชาการแท้ๆ ในส่วนวิกิอังกฤษได้แยกกะเทยกับ Hermaphrodite ออกเป็นบทความต่างหาก ซึ่งผมไม่รู้ใครเป็นคนไปเขียนบทความเรื่อง Kathoey ไว้ ซึ่งในทางการแพทย์ที่ผมได้ไปศึกษามา กะเทยกับ Hermaphrodite เป็นตัวเดียวกัน ผิดแต่ของไทย แยกกะเทยออกเป็นสองกลุ่มเท่านั้น --Poonyo 10:17, 13 กันยายน 2553 (ICT)