ศาสนาพุทธในประเทศบรูไน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับ 3 ในประเทศบรูไน โดยเป็นรองจากศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์[1] จำนวนผู้นัยถือโดยประมาณการหลากหลาย แต่รายงานบางส่วนระบุไว้ที่ประมาณ 30,000 คน[1] และมีผู้นับถือศาสนาพุทธโดยประมาณที่ 7-8% ของประชากรทั้งหมด[1][2][3] รายงานจากข้อมูลทางการของบรูไนใน ค.ศ. 2016 มีประชากรที่นับถือศาสนาพุทธ 7% (29,495 คน)[3]

ประวัติ[แก้]

ศาสนาพุทธเริ่มเข้ามาในบรูไนตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ที่เรืองอำนาจจากฝั่งคาบสมุทรมลายูอย่างกว้างขวางในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงอ่อนกำลังลงไปแล้วเงียบหาย คงเหลือแต่อิทธิพลทางภาษา ไว้เท่านั้น ต่อมาจนถึงปัจจุบันก็มีคลื่นชาวจีนโพ้นทะเลอพยพมาสู่ดินแดนนี้เพื่อประกอบอาชีพ เช่นเดียวกันกับประเทศมุสลิมใกล้เคียง จนมีศาสนิกชนเป็นจำนวนมาก และก็มีชาวญี่ปุ่น ชาวไทย ฯลฯ แม้ปัจจุบัน ประเทศนี้จะมีชาวพุทธเพียงร้อยละ 13 เท่านั้น แต่ก็สร้างความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศบรูไนได้เป็นอย่างดี แต่ประเทศนี้เป็นประเทศมุสลิม การที่จะเผยแผ่พระศาสนา จึงเป็นไปได้ยาก เช่นเดียวกันกับมาเลเซีย และอินโดนีเซีย [4]

การนับถือพระพุทธศาสนาของประชาชนในประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ส่วนมากคล้าย ๆ กับประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย เพราะว่าเป็นชนกลุ่มน้อย รวมตัวกันช่วยกันส่งเสริมบริหารจัดการองค์กรเป็นกลุ่มเฉพาะของตน ส่วนมากจะได้รับการสนับสนุนการเผยแผ่ธรรมจากไต้หวัน หรือประเทศไทย (มีสาขาของวัดพระธรรมกายที่ไปดำเนินกิจกรรมร่วมกับชาวพุทธเดือนละ 1 ครั้ง) [5]

สถิติประชากร[แก้]

ประชากรชาวบรูไนที่นับถือศาสนาพุทธในอดีต
ปีประชากร±%
197118,373—    
198127,063+47.3%
199133,387+23.4%
200128,480−14.7%
201130,814+8.2%
201629,495−4.3%
ข้อมูล: Bruneian Department of Statistics [6]

มีประชากรชาวพุทธจำนวนมากที่มีเชื้อสายจีน ซึ่งมีจำนวนร้อยละ 10.2 ของประชากรทั้งประเทศ[7] และนับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 65[8] จำนวนร้อยละของผู้นับถือศาสนาพุทธลดลงตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990[8] ชาวพุทธประมาณหนึ่งในสามมีสิทธิพลเมือง ส่วนที่เหลือเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรหรือชั่วคราว[9] ศาสนาพุทธนิกายมหายานเป็นนิกายที่มีผู้นับถือมากที่สุด เพราะเป็นนิกายที่มีผู้นับถือในจีนและรัฐรอบ ๆ[10]

จำนวนในแต่ละเขต[9]
บรูไนมัวรา เบอไลต์ ตูตง เติมบูรง
19,134 8,814 1,415 132

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Religions in Brunei | PEW-GRF". www.globalreligiousfutures.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-22. สืบค้นเมื่อ 2020-06-06.
  2. CIA FactBook - Brunei
  3. 3.0 3.1 ""Population by Religion, Sex and Census Year"". www.deps.gov.bn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-01. สืบค้นเมื่อ 2021-03-20.
  4. กรมการศาสนา,ศาสนาในอาเซียน. [กรุงเทพ : กรมการศาสนา,2555] หน้า 30.
  5. ผศ.อนุภูมิ โซวเกษม,การบริหารจัดการองค์กรสงฆ์ในประชาคมอาเซียน, ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.2558. หน้า 46)
  6. (PDF) http://www.deps.gov.bn/DEPD%20Documents%20Library/DOS/KBPP/finalreport2016/KBPP_2016.pdf. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  7. "Report of the Mid-Year Population Estimates: 2020" (PDF). Department of Economic Planning and Statistics, Brunei Darussalam. 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-10. สืบค้นเมื่อ 2021-10-22.
  8. 8.0 8.1 "Chinese: Brunei Darussalam". Minority Rights Group International. May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2021-10-21.
  9. 9.0 9.1 "Population and Housing Census Update Final Report: 2016" (PDF). Department of Economic Planning and Development, Brunei Darussalam. December 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-10-22.
  10. Perkins, McKenzie (25 June 2019). "Religions of Brunei". Learn Religions. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-25. สืบค้นเมื่อ 2021-10-22.